ฟ้าทะลายโจร ช่วยผู้ป่วย COVID19 อาการดีขึ้น

<strong>ฟ้าทะลายโจร</strong> ช่วยผู้ป่วย COVID19 อาการดีขึ้น #1

เผยผลวิจัยฟ้าทะลายโจรกับผู้ป่วย COVID-19 ที่ระดับความรุนแรงน้อย ที่ได้รับการตรวจยืนยันการติดเชื้อภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีอาการ ทุกรายมีอาการดีขึ้น ตั้งแต่วันที่ 3 ของการได้รับสารสกัด เตรียมต่อยอดวิจัยในผู้ป่วยระยะที่ 2

วันนี้ (9 ธ.ค.2563) พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกล่าวว่า  กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ดำเนินการศึกษานำร่องผลของยาสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาดสูงต่อผู้ป่วยโรค COVID-19 หลังจากการวิจัยในหลอดทดลองพบมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ และยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์จากการติดเขื้อ COVID-19 จึงไม่แนะนำให้กินเพื่อการป้องกันโรค โดยที่ยังไม่มีอาการ

ผลการศึกษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่กินสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ป่วยทุกคนมีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 ของการได้รับสารสกัด

ขณะนี้ได้ขยายผลต่อยอดงานวิจัยในคน โดยร่วมโรงพยาบาลสมุทรปราการ ซึ่งดูแลผู้ป่วยจากนอกประ เทศในสถานที่ที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ผลการศึกษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่กินสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ป่วยทุกคนมีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 ของการได้รับสารสกัดเช่น หากแยกรายละเอียดอาการ จะพบว่าอาการไอ เจ็บคอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ มีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียง ค่าการทำงานของตับและไต อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนผลลัพท์ด้าน Pro-inflammatory cytokines และสารชีวโมเลกุลอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

เตรียมต่อยอดวิจัยระยะที่ 2 เพื่อยืนยันสารสำคัญ

พญ.อัมพร กล่าวว่า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกในผู้ป่วย COVID-19 ซึ่งได้รับการตรวจยืนยันการติดเชื้อภายใน 72 ชั่วโมง หลังเริ่มเกิดอาการแสดง การศึกษานี้เป็นการศึกษาผลเบื้องต้นถึงความปลอดภัยและขนาดที่เหมาะสมในการใช้ยา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีต่างๆ ในเลือด เอนไซม์ที่เกี่ยวกับการป้องกันการอักเสบและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงเตรียมขยายการวิจัยต่อในคนระยะที่ 2 ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เพื่อยืนยันปริมาณสารสำคัญต่างๆ ที่จะพบในร่างกายเมื่อใช้สารสกัดขนาดสูงให้เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ

ไอ เจ็บคอ ไข้หวัด

อาการ เจ็บคอ ตัวร้อน ไอ จาม เป็นอาการของ "โรคหวัด" หรือ "ไข้หวัด" เป็นโรคเกิดจากเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนต้นส่งผลกระทบต่อจมูกและคอ อาการที่สำคัญของโรคมีทั้ง ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตัวร้อนมีไข้ โดยสาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจาก เชื้อหวัดซึ่งเป็นเชื้อไวรัส, ร...

อ่านต่อ

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอกระบวนการเกิดออกซิเดชั่น(กระบวนการรวมตัวกับออกซิเจน) หน้าที่ของสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ลดความเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โร...

อ่านต่อ

ภูมิแพ้ ทางเดินหายใจ

โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เกิดจากปฏิกิริยาของร่างการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง  โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถส่งต่อทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น และสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่ที่สังเกตุได้ชัดคือ เด็ก...

อ่านต่อ

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ