การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

<strong>การป้องกัน</strong><strong>เบาหวานขึ้นตา</strong> #1

การป้องกันทำได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ภาวะเบาหวานขึ้นตา และป้องกันอาการที่อาจรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งปฏิบัติได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. จัดการกับเบาหวานด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น
  2. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม หวาน และมีไขมันสูง
  3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
  4. ควบคุมน้ำหนักโดยให้มีค่าดัชนีมวลร่างกาย (BMI) อยู่ที่ระหว่าง 18.5-24.9
  5. ลดละเลิกการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
  6. รับประทานยารักษาเบาหวานตามกำหนดที่แพทย์สั่ง
  7. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยอาจต้องตรวจและบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดวันละหลายครั้งเพราะค่าอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดโดยเฉพาะเวลาป่วยหรือเครียด หรือสามารถตรวจสอบเองที่บ้านโดยค่าระดับน้ำตาลในเลือดตอนอดอาหารแบบคุมเข้มมากจะอยู่ที่ 70-110 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์(mg%) และไปคลินิกหรือสถานพยาบาลเพื่อหาค่าเฉลี่ยของช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นค่าที่จำเป็นสำหรับการควบคุมเบาหวาน โดยที่ค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) ของผู้ป่วยเบาหวานควรอยู่ที่ประมาณ 6.5 เปอร์เซ็นต์
  8. ควบคุมระดับความดันโลหิต สามารถตรวจได้ที่คลินิก สถานพยาบาล หรือซื้อเครื่องมาตรวจเองที่บ้านก็ได้เช่นกัน โดยที่ระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) หรือผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นตา ควรมีระดับความดันโลหิตต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท
  9. ควบคุมระดับไขมันในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานควรมีระดับไขมันในเลือดไม่เกินกว่าค่าปกติซึ่งสามารถตรวจได้ที่คลินิกหรือสถานพยาบาลทั่วไป
  10. สังเกตความเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น และควรไปพบแพทย์โดยด่วนหากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็นอย่างฉับพลัน เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ

POW พาวโปรตีน พาวเดลี่ POW Daily

พาวเดลี่ POW Daily โปรตีนจากพืช Multi Plant Protein 5 ชนิด พาวโปรตีน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุง เสริมพลังงานให้เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกาย ใน 1 วัน  เด็กที่ไม่ทานผัก หรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ทานอาหารยาก ทานได้น้อย เบื่ออาหาร  หรือผู้ที่ออกกำลัง...

ดูรายละเอียด

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

บทความน่ารู้

ความเชื่อผิดๆ โรคเบาหวาน

ความเชื่อ: รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงทำให้เป็นเบาหวานความจริง: โรคเบาหวานมี 2 ชนิดคือ เบาหวานประเภทที่ 1 (Diabetes Type1) เกิดจากสาเหตุพันธุกรรมและยังไม่ทราบปัจจัยแน่ชัดทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ เบาหวานประเภทที่ 2 (Diabetes Type2) เกิดจ...

อ่านต่อ

ไขปมผู้ป่วย เบาหวาน ติดเชื้อโควิด ทำไมเสี่ยงตายสูง

ไขปมผู้ป่วย "เบาหวาน" ติดเชื้อโควิด ทำไมเสี่ยงตายสูง?ซึ่งหากติดเชื้อโควิด19ส่งผลกระทบต่อการควบคุมเบาหวานได้แย่ลง เนื่องจากเอนไซม์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเบาหวานคุมไม่ได้ น้ำตาลก็สูงขึ้น น้ำตาลที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานแย่ลง ทำให้ ไวรั...

อ่านต่อ

วิธีปลูกกระชายขาวแบบง่ายๆ

วิธีปลูกกระชายขาวแบบง่ายๆ สมุนไพรพื้นบ้านที่มีฤทธิ์ต้าน COVID-19 หลังจากการศึกษาและงานวิจัยจากหลายแหล่ง รวมไปถึงโครงการวิจัยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และศูนย์ความเป็นเลิศด้าน...

อ่านต่อ

ติดตามผลหลังทานซูการ์คิว 1 เดือน

ตลอดหลายปี ที่ผ่านมา พาว ได้จับมือทำงานวิจัยร่วมกับสถาบันต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น มช. , นาโนเทค หรือ สวทช. เพื่อพัฒนา ยกระดับสมุนไพรไทย ให้อยู่ในจุดที่สูงสุด พาวซูการ์คิว พาวได้วิจัยกับ ม.พะเยา มาเป็นเวลาร่วม 2ปี โดยทดสอบจริงกับอาสาสมัครเป็นเวลา 12 ...

อ่านต่อ

อะไรคือตัวกำหนด อายุขัยของสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตบนโลก ในความเป็นจริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันตั้งแต่นับพันล้านปีก่อน ตั้งแต่โมเลกุล RNA/DNA กำเนิดขึ้นมา เริ่มมีการแบ่งตัวกลายเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และพัฒนาต่อมาเรื่อยๆกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างซับซ้อนในปัจจุบัน อย่างไรก...

อ่านต่อ