อาการร้อนวูบวาบจากวัยทอง

<strong>อาการร้อนวูบวาบ</strong>จากวัยทอง #1

ในบรรดาอาการทั้งหมดที่เกิดกับผู้อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการร่วมที่เกิดขึ้นมากที่สุดและมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากที่สุดอย่างหนึ่ง มักเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกถึง 2 ปีของวัยใกล้หมดประจำเดือน และสามารถต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาถึง 10 ปีก็ได้

อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการ ของวัยทอง ที่มักเกิดขึ้นในช่วง 6เดือนแรก ถึง 2ปี ของวัยใกล้หมดประจำเดือน

อาการที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นอาการร้อนตามตัว ร้อนที่ใบหน้าซึ่งอาจมีเหงื่อออกที่หน้าร่วมด้วยได้ อาการนี้เกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน อาการดังกล่าวจะหายได้เองใน 4-5 ปี หลังจากเข้าวัยหมดประจำเดือน

ลดอาการร้อนวูบวาบจากวัยทอง

<strong>อาการร้อนวูบวาบ</strong>จากวัยทอง #2

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น ลดความอ้วน ออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เดินเร็ว หรือยกน้ำหนัก วันละ 15-20 นาที เพราะจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนเดอร์ฟิน
  • ลดความเครียด คลายเครียดด้วยการฝึกโยคะ ทำสมาธิ หรือวิธีการผ่อนคลายอื่น 
  • อยู่ที่ทีมีอากาศเย็น สวมใส่เสื้อผ้าที่คลายร้อน อาบน้ำเย็นบ่อยๆ กินน้ำเย็น รวมทั้งใช้ผ้าห่มชนิดบาง เพื่อช่วยลดอาการวูบบาบ
  • แช่น้ำอุ่น 20 นาทีทุกเช้า อาจป้องกันอาการร้อนวูบวาบได้ตลอดทั้งวัน
  • รับแสงแดดอ่อนๆตอนเช้า เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี สำหรับช่วยในการดูดซึมแคลเซียมอย่างเพียงพอ
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะนิโคตินจะยิ่งเร่งให้ร่างกายมีอาการร้อนวูบวาบได้ง่ายขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารก่อพิษ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกฮอล์ ไวน์ ช็อกโกแลต ชีส และเลี่ยงอาหารรสจัด เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการร้อนวูบวาบมากขึ้น
  • ยารักษาตามอาการหรือยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมน เช่นยานอนหลับ ยาคลายเครียด ต้านเศร้า แก้ใจสั่น แก้ปวดเมื่อย ยาบำรุงต่างๆ เป็นต้น
  • ฮอร์โมน สำหรับคนที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยฮอร์โมนเพศหญิง(เอสโทรเจน)ได้ผลดีมาก แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน5ปี เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

อาหารลดอาการร้อนวูบวาบ

<strong>อาการร้อนวูบวาบ</strong>จากวัยทอง #3

  • กินอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เทมเป้ แป้งถั่วเหลือง เพราะในถั่วเหลืองมี สารไอโซฟลาโวน (isoflavone) ซึ่งคล้ายเอสโตรเจน จะช่วยชดเชยการขาดเอสโตรเจน และยังช่วยปรับระดับเอสโตรเจนที่ขึ้นๆลงๆให้สมดุลกับโปรเจสเตอโรนด้วย
  • กินอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินซีและวิตามินอี ซึ่งจะช่วยให้กระดูกแข็งแรง และปรับระดับไขมันในเลือดให้สมดุล รวมทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน และช่องคลอดแห้งได้อีกด้วย
  • กินอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันจากพืช เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ถั่วแขก เมล็ดพืชต่างๆ เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน รวมทั้งธัญพืชจำพวกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์
  • กินปลาที่มีมันมาก จำพวกปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาซาบะ ปลาสวาย และพุงปลาช่อน สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อเพิ่มกรดไขมันจำเป็นให้ร่างกายนำไปสร้างความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง ช่องคลอด และเยื่อบุช่องคลอด
  • กินผลไม้รสเปรี้ยว จำพวกส้มต่างๆ แอ๊ปเปิ้ล เชอรี่ พลัม สับปะรด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ

พาวน้ำ ขวดเล็ก POW พาวเอสเซ้นส์ น้ำสมุนไพรพลูคาว

พาวน้ำขนาดใหม่  375 ml. พกพาสะดวกพาวน้ำ หรือ พาวซุยยากุเอสเซ้นส์ พาวขวดเล็ก พกพาสะดวก และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทดลองทาน อัดแน่นด้วยส่วนผสมสมุนไพรที่มีประโยชน์เหมือนเดิม ประกอบด้วยสมุนไพรทั้งหมด 11 ชนิด ได้แก่ พลูคาว ใบมะรุม ลูกยอ กระชายดำ ตังกุย เห...

ดูรายละเอียด

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

บทความน่ารู้

ฟื้นฟูร่างกายหลังวิ่ง

ยิ่งวิ่งเยอะร่างกายก็ยิ่งทำงานหนัก กล้ามเนื้อถูกใช้งานไปมากจนล้าได้ การฟื้นฟูร่างกายจึงเป็นเรื่องสำคัญมากหลังการวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการยืดกล้ามเนื้อ หรือ cool down ด้วยวิธีต่าง ๆ เรามีวิธีฟื้นฟูร่างกายหลังแบบง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้ดีข...

อ่านต่อ

วัคซีนต้านโควิด19 ถามตอบ ข้อสงสัย ไขข้อกังวล ก่อนฉีดวัคซีนโควิด19

แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขเริ่มเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนและนัดวัน-เวลา การฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังมีข้อสงสัยและความกังวลต่าง ๆ จากคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละ...

อ่านต่อ

covid19 วัคซีนคือความหวัง แต่ปัจจุบันคือการดูแลตัวเอง

มาสร้างภูมิป้องกันตัวเองไว้ก่อน เพราะภูมิคุ้มกันที่ดีคือสิ่งที่ทุกคนต้องการ ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น วัยทำงาน ที่ยังแข็งแรงแต่หักโหมใช้งานหนักจนอาจทำให้ภูมิต่ำลง หรือวัยกลางคนที่สุขภาพเริ่มถดถอยแต่ยังต้องทุ่มเททำงาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงวัยที่ต้องเผช...

อ่านต่อ

สมุนไพร ทางเลือกในการรักษาเบาหวาน

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการของโรคได้  ในการรักษาโรคเบาหวาน สิ่งสำคัญคือการคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการคุมอาหาร ออกกำลังการเป็นประจำ รู้จักเรียนรู้ผ่อนคลายความเครียด&n...

อ่านต่อ

หันมาป้องกันโรคเรื้อรัง Ncds อย่างจริงจังกันเถอะ

กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยพบโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ถึงเวลาแล้วไหมที่ต้องหันมาป้องกันโรคอย่างจริงจัง ในกลุ่ม Ncds นี้ยังคงเพิ่มจำนวนผู้ป่วยต่อเนื่องในทุกๆปี กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวา...

อ่านต่อ