แนวโน้ม จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน

แนวโน้ม จำนวนผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #1

คนไทยป่วยเบาหวาน 5 ล้านคน ค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมากขึ้น แนวโน้มเพิ่มจำนวน-รุนแรงขึ้น ควบคุมระดับน้ำตาลเพียง 40% ตายจากเบาหวาน-ภาวะแทรกซ้อน 21.96% สูญเสียค่าใช้จ่ายรักษาเบาหวานและ3โรคร่วม ปีละถึง 3 แสนล้านบาท

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการเป็นประธานเปิดการเสวนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างเครือข่ายและชมรมเบาหวานของประเทศไทย จัดโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยว่า ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นเบาหวานประมาณ 5 ล้านคนและมีแนวโน้มเป็นเบาหวานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจากปีพ.ศ. 2534 คนไทยเป็นเบาหวาน 2.3% และปี2557 เพิ่มขึ้นเป็น 8.9 % ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่ากังวล

แนวโนัมผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนผู้ป่วยและความรุนแรง จากภาวะแทรกซ้อนจนทำให้ต้องสูญเสียอวัยวะและเสียชีวิต

จากการสำรวจสุขภาพประชาชนในประเทศไทยพบว่าประชากรเสียชีวิตจากโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนถึง 21.96% และยังควบคุมระดับน้ำตาลได้น้อยมากประมาณ 40 % ในขณะที่สามารถควบคุมทั้ง 3 อย่าง คือ ระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันโลหิตได้ประมาณ 12 %เท่านั้น ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง47,596 ล้านบาทต่อปี และหากมี 3 โรคร่วมด้วย ได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 3 แสนล้านบาทต่อปี

แนวโนัมผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนผู้ป่วยและความรุนแรง จากภาวะแทรกซ้อนจนทำให้ต้องสูญเสียอวัยวะและเสียชีวิต ซึ่งแผนยุทธศาสตร์แผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุขในระยะ 5 ปีแรก ตั้งแต่พ.ศ. 2560 -2564 มีแผนงานเพื่อให้มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง 5% ต่อปี รวมถึงผู้ป่วยความดันรายใหม่ลดลง 2.5% ต่อปีด้วยเช่นกัน ในฐานะกรมการแพทย์มีเป้าหมายการทำงานที่จะมุ่งพัฒนางานเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพอย่างเสมอภาคภายในพ.ศ. 2564 ภายใต้ภารกิจการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สมคุณค่า เสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการและบริการทางการแพทย์ในทุกภาคส่วน"นพ.ณรงค์กล่าว

นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการรพ.ราชวิถี กล่าวว่า ประเทศไทยต้องการลดอัตราการเกิดเบาหวาน ซึ่งขณะนี้คือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขระดับประเทศโดยต้องทำความเข้าใจว่าเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินซูลินหรือร่วมกันทั้งสองอย่างส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลที่ได้รับมาจากอาหารเป็นพลังงานจนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงค่าปกติคือประมาณ 80-130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร(มก./ดล.) แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานในระยะเวลานานๆ จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าปกติ เพราะโรคเบาหวานจะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตันในส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะที่พบบ่อย คือ หัวใจ สมองไต ตา และเท้า ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต ไตวายเรื้อรังตาบอดและโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอันตรายถึงชีวิตนอกจากนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ดัชนีมวลกายไม่ควรเกิน 23 ออกกำลังกายสม่ำเสมอและปฏิบัติตนตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความรุนแรงของโลกและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน นพ.สมเกียรติกล่าว

แนวโน้ม จำนวนผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #2

Credit : กรุงเทพธุรกิจ / กระทรวงสาธารณสุข

ชาขาว ชาขาวเข็มเงิน ห้วยน้ำกืน เวียงป่าเป้า เชียงราย

Baihao Yinzhen ไป๋หาวหยินเจิน ชาขาวเข็มเงิน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Silver Needle ด้วยลักษณะเหมือนเข็ม มีขนสีขาวประกายเงินปกคลุม จึงเรียกว่าเข็มเงิน ชาขาวเข็มเงิน ตราบ้านชาไทย ปลูกบนยอดเขาสูงไม่น้อยกว่า 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากไร่ชาบ้านห้วยน้ำก...

ดูรายละเอียด

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

บทความน่ารู้

จะลุกก็โอย จะนั่งก็โอย

คุณรู้หรือไม่ว่า อาการเหล่านี้คือสัญญาณเตือนว่าข้อเข่าต้องการความช่วยเหลือ?ต้องบอกว่า ‘เข่า’ เป็นอวัยวะสำคัญในการรับน้ำหนักตัวและเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อใดที่เข่าเริ่มมีความเจ็บปวดเข้ามาเตือนนั่นอาจเป็นสัญญาณของ “โรคข้อเข่าเสื่อม” ซึ่งเกิดจากกระดูก...

อ่านต่อ

สรรพคุณของพลูคาว คาวตอง

ผักพื้นบ้านอย่าง พลูคาว หรือคาวตอง เป็นผักที่มีสรรพคุณทางยา โดยหมอยาตั้งแต่สมัยโบราณก็ให้กินพลูคาว-คาวตองเป็นประจำทุกวัน เสริมสร้างให้ร่างายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย สามารถใช้ประโยชน์ได้ จาก ราก ทั้งต้น  และ ใบ โดยในตำรับยาไทยโบราณ พลูคาว หรือคาวต...

อ่านต่อ

ปรับสมดุลร่ากาย ด้วย โพรไบโอติก

ถ้าตรวจสุขภาพเมื่อไหร่ ค่าไขมันในเลือดออกมาทีไรเป็นอันต้องกุมขมับทุกที ค่าเลือดที่พุ่งแรงแซงค่าอื่นก็คงไม่พ้น  คอเลสเตอรอล ค่ายิ่งสูงร่างกายยิ่งพัง ระวังจะตามมาด้วยโรคอีกนับสิบ แต่ละวันคุณเติมไขมันตัวร้ายเข้าสู่ร่างกายไปเท่าไหร่ ทั้งการกินอาหาร...

อ่านต่อ

กระชายขาว ต้านโควิด19

งานวิจัยของม.มหิดล และ TCELS กับความสำเร็จในการพัฒนาสารสกัดกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับโรคโควิด-19 คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ในการวิจัยและพัฒนาให้สำเร็จสารทั้งสองตัวนี้ในกระชายขาว สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสต้นโควิด-19 ได้ โดยสารทั้งส...

อ่านต่อ

ทำไมต้องเสริมโพรไบโอติกส์ ให้ร่างกาย

โพรไบโอติกส์ Probiotics จัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ normal flora ในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย  จุล...

อ่านต่อ