โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส หรือโรคพุ่มพวงไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยในประเทศไทย รวมถึงต่างประเทศ คนดังหลายคนป่วยเป็นโรคนี้ ทั้งนักร้องพุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่ทำให้คนไทยรู้จักกับโรคนี้ 

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส หรือโรคพุ่มพวง  เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายมีความผิดปกติ โดยภูมิคุ้มกันจะต่อต้านและทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ จนเกิดเป็นอาการอักเสบเรื้อรังในบริเวณนั้น

โรค<strong>แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง</strong> <strong>SLE</strong> ลูปัส #2

อาการของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

อาการจะเป็นๆหายๆและมีหลากหลายอาการขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดความผิดปกติจนมีอาการอักเสบในระยะแรก ไปจนถึงระยะเรื้อรังที่อาจเริ่มเกี่ยวพันกับอวัยวะส่วนอื่นๆ

1. ผื่นบริเวณใบหน้าช่วงตรงกลาง และโหนกแก้มทั้งสองข้างและมีการกระจายเป็นรูปผีเสื้อ และอาจมีอาการผมร่วงด้วย

2. ผื่นผิวหนังชนิดที่เรียกว่าผื่นดีสคอยด์ พบได้บ่อยบริเวณใบหน้า ใบหู ลำตัว และแขนขา

3. อาการแพ้แดด โดยมีผื่นผิวหนังแดงอย่างรุนแรงเมื่อโดนแดด

4. เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ มีแผลในปาก

5. ข้ออักเสบ ปวดกล้มเนื้อ อาจไม่มีอาการบวมแดง แต่ปวดได้ทุกส่วนที่มีข้อ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว

6. อาการทางไต ความดันโลหิตสูง ไตอักเสบโดยปริมาณโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่าปกติ

7. อาการชักหรืออาการทางระบบประสาทอื่นๆ มีอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ แขนขาอ่อนแรง ไม่มีสมาธิ เครียด นอนไม่หลับ ซึมเศร้า วิตกกังวล มีปัญหาในการจำ สับสน เห็นภาพหลอน โดยอาจเป็นผลข้างเคียงมาจากอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีกทีได้

8. อาการทางปอด เช่น เจ็บหน้าอก ไอ เยื่อหุ้มปอดหรือหัวใจหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

9. อาการซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ หรือเกล็ดเลือดต่ำ (ที่ไม่ได้เกิดจากยาหรือการติดเชื้อ)หลอดเลือดอักเสบ อาจจะพบเป็นจุดแดงๆ เล็กๆ ทั่วตัวคล้ายไข้เลือดออก

10. ตรวจพบแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดีในเลือด

11. ตรวจพบแอนติบอดีต่อดีเอ็นเอ หรือการตรวจพบแอนติฟอสโฟไลปิดแอนติบอดี

โรค<strong>แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง</strong> <strong>SLE</strong> ลูปัส #3

หากพบความผิดปกติ 4 ใน 11 ข้อ ควรได้รับการตรวจและรักษาที่ถูกต้อง เพราะโรคนี้มีอาการแสดงที่หลากหลายและมีความรุนแรงแตกต่างกัน การดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกันไปด้วย และแม้ว่าจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติ หากปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ