ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

ใครที่เสี่ยงเป็นโรค<strong>แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง</strong> #1

ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง?

แม้ว่าโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง โรคพุ่มพวง เอสแอลอี หรือลูปัส จะไม่ได้พบกันบ่อยๆ แต่ก็พบได้เรื่อยๆ พบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ แม้ว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติอยู่หลายประการ ได้แก่

  • พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของเพศหญิงในช่วงตั้งครรภ์ หรือช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต
  • ความผิดปกติจากพันธุกรรม (ชนิดที่ถ่ายทอดได้) การถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจส่งต่อลักษณะบางอย่างที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคได้ 
  • ติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือไวรัสบางชนิด
  • มีอาการแพ้กับสิ่งต่างๆ เช่น แสงแดด สำหรับคนที่มีผิวไวต่อแดด การสัมผัสแสงแดดอาจทำให้เกิดรอยโรค เป็นเหตุให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมาการวินิจฉัยโรคพุ่มพวง
  • สูบบุหรี่ และยาสูบต่าง ๆ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาป้องกันการชัก ยาคุมกำเนิด ยาลดน้ำหนักบางชนิด  ยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มควบคุมความดันโลหิต
  • เครียด ทำงานหนัก ออกกำลังกายมากเกินไป

ใครที่เสี่ยงเป็นโรค<strong>แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง</strong> #2

การป้องกันโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเองไม่มีวิธีป้องกันได้ 100% แต่ก็มีวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ด้วยการดูแลรักษาร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป ไม่สูบบุหรี่ ไม่ตากแดดที่ร้อนจ้าหรือเป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงสารเคมีเป็นพิษในชีวิตประจำวัน รักษาสุขอนามัยของตัวเองให้สะอาด ลดโอกาสในการติดเชื้อ และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนทานยาอะไรเป็นประจำ

สินค้าอื่นๆ

บทความน่ารู้

โรคฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง

โรคฝีดาษลิง หรือไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เป็น double-stranded DNA virus เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ใน genus Orthopoxvirus ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษอาการโรคฝีดาษลิง ต่างจากโรคฝีดาษทั่วไป โดยมีอาการที่สังเ...

อ่านต่อ

ความแตกต่างของยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพร

ในการดูแลสุขภาพ การรักษาและป้องกันโรค นอกจากจะพึ่งพาการแพทย์แผนปัจจุบันการใช้ยาแผนปัจจุบัน  การใช้สมุนไพร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้ในการรักษาแต่ว่าการใช้สมุนไพร กับ ยาแผนปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างไร เรามาลองดูกันค่ะยาแผ...

อ่านต่อ

การดูแลผิวพรรณเมื่อเข้าสู่ภาวะวัยทอง

เมื่ออายุย่างเข้าเลข 4 หรือวัย 40+  ภาวะเข้าสู่วัยทอง ผิวพรรณ เป็นอีกสิ่งที่เห็นความแตกต่างได้ชัดเจน ทั้งริ้วรอยเพิ่มขึ้น ความเต่งตึงของผิวลดลง  ฝ้า กระ จุดต่างดำเห็นได้ชัด มีภาวะผิวแห้ง คัน  เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนตก  คอลลาเจนและอิลาสตินในชั้นผิว...

อ่านต่อ

เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS คืออะไร

ความหมายการรับรองแบบมีส่วนร่วมParticipatory Organic Guarantee System (PGS) คือ การรับประกันคุณภาพผลผลิตอินทรีย์โดยชุมชน ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมวิถีชีวิตวัฒนธรรม และ การเกษตของท้องถิ่นโดยมีเป้าหมายการผลิตเพื่อจําหน่ายในชุมชน หรือ จําหน่ายตรงเน้นกระ...

อ่านต่อ

ฉีดเมื่อไหร่ก็หอม โล่ง สดชื่น

พาวเม้าท์สเปรย์ สเปรย์สำหรับฉีดในช่องปาก ยับยั้งและลดการสะสมเชื้อแบคทีเรียได้ถึง 99% *อ้างอิง โครงการการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สเปรย์ระงับกลิ่นปากผสมสารสกัดสมุนไพร ได้รับการสนับสนุนจัดหาผู้เชียวชาญโดย  ITAP สวทช* (เลขที่อนุมัติ 20...

อ่านต่อ