สมุนไพร ต้านเบาหวาน

นอกจากการรักษาโรคเบาหวานตามวิธีทางการแพทย์และธรรมชาติบำบัดแล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่ง คือ การรับประทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณป้องกัน และรักษาอาการของโรคเบาหวานให้ทุเลาลงได้ บทความนี้ จะกล่าวถึงสมุนไพรแก้เบาหวาน 5 ชนิด

มะระขี้นก

มะระขี้นก เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารซาแลนติน (Charatin) มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการผลิตอินซูลิน (Insulin) ของตับอ่อน จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ มะระขี้นกยังเปี่ยมด้วยคุณประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น มีวิตามินเอ ไนอะซิน (Niacin) และมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก ชะลอความเสื่อมของไต เรียกได้ว่า เป็นสมุนไพรที่มากไปด้วยประโยชน์อย่างแท้จริง แนะนำวิธีรับประทานมะระขี้นก นำผลมะระขี้นกสด 100 กรัม มาผ่าครึ่ง ขูดไส้ในและเมล็ดออก หั่นเนื้อผลเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในเครื่องปั่นแยกกาก จะได้น้ำมะระประมาณ 40 มิลลิลิตร ดื่มหลังอาหารเช้าหรือเย็น

อบเชย

อบเชย สมุนไพรที่สามารถช่วยเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนอินซูลิน ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างดีเยี่ยม แถมยังรับประทานง่าย เพียงแค่นำอบเชยมาโรยลงบนอาหาร ก็สามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการของโรคเบาหวานลงได้แล้ว ที่สำคัญอบเชยยังสามารถรักษาได้ทั้งเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เพียงแต่ต้องหมั่นรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

ตำลึง

สมุนไพรหาง่ายที่มักจะพบตามข้างรั้วบ้าน หรือขึ้นเป็นเถาพันต้นไม้อื่นๆ ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติอร่อย รับประทานง่ายแล้ว ตำลึงยังมีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย แนะนำสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรรับประทานตำลึงวันละ 50 กรัม และเมื่อรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน จะพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง อีกทั้งยังอาจกลับมาอยู่ในระดับปกติได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังได้รับวิตามินเอที่มีอยู่สูงมาก วิตามินซีที่สูงกว่ามะนาว วิตามินบี 3 ช่วยบำรุงผิวหนัง มีธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือด และลดอาการท้องผูก เพราะมีใยอาหารจำนวนมาก

แนะนำวิธีรับประทานตำลึง นำยอดตำลึง 1 กำมือ ปรุงรสด้วยเกลือหรือน้ำปลาเล็กน้อย ห่อใบตอง นำไปเผาให้สุก รับประทานพร้อมกับมื้ออาหาร

ชาเขียว

หลายคนอาจจะมองว่าชาเขียวไม่มีประโยชน์ในด้านการรักษาเบาหวาน แต่ความเป็นจริงแล้ว ชาเขียวก็สามารถดื่มเพื่อบรรเทาโรคเบาหวานได้ดีเช่นกัน โดยชาเขียวนั้นจะช่วยลดคอเลสเตอรอล และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ค่อยๆ ลดลงจนปกติ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการทำงานของอินซูลินได้ดี แต่ทั้งนี้ ควรเลือกดื่มเฉพาะชาเขียวแท้ที่ไม่มีความหวานสูง หรือไม่ใส่น้ำตาลเลยจะดีที่สุด

กระเทียม

กระเทียมมีสารอัลซิลิน (Allicin) มีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต และมีฤทธิ์ในการต่อต้านเบาหวานได้เป็นอย่างดี โดยผลจากการศึกษาพบว่า สารเอทานอล (Ethanol) ในกระเทียมมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหลั่งอินซูลินได้ด้วยเช่นกัน แต่แนะนำว่า ควรรับประทานกระเทียมแบบสดๆ เพราะอุดมไปด้วยคุณประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการรักษาเบาหวานได้สูงกว่าการรับประทานแบบสุก

แอปเปิ้ลเขียว

แอปเปิ้ลเขียวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หากการทานสมุนไพรเป็นเรื่องยาก แอปเปิ้ลเขียว ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกของผลไม้ที่ใช้ควบคุมโรคเบาหวานได้ การรับประทานแอปเปิ้ลเขียวแบบสดๆ ทุกวัน จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่เร็วจนเกินไป เพราะว่าน้ำตาลในแอปเปิ้ล จะเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายแบบช้าๆ รวมไปถึงเส้นใยในผลแอปเปิ้ลมีคุณสมบัติพองตัวได้ดี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่าย จึงทำให้รู้สึกอิ่มนานกว่าการทานขนมหวานทั่วไป

นอกจากสมุนไพรและผลไม้ดังกล่าวแล้ว ยังมีพืชอื่นๆ อีกหลายชนิดที่สามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการของโรคเบาหวานได้ เช่น ขมิ้น บอระเพ็ด ตดหมูตดหมา กระเจี๊ยบเขียว มะเขือพวง ช้าพลู และว่านหางจระเข้ เป็นต้น

สมุนไพรเป็นเพียงส่วนเสริมช่วยแก้โรคเบาหวาน แต่หากผู้ป่วยยังรับประทานอาหาร หรือใช้ชีวิตไม่เหมาะสม เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ สมุนไพรแก้เบาหวานก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ 

เมื่อคุณป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี เช่น ตรวจเช็กระดับน้ำตาลในเลือด กำหนดเป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาล ระดับไขมัน รวมไปถึงแนวทางในการออกกำลังกาย และอาหารที่เหมาะสมสำหรับบุคคล

เมื่อผู้ป่วยโรคเบาหวานปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ การรับประทานสมุนไพรจะช่วยส่งเสริมให้กระบวนการทำงานในร่างกายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่หากผู้ป่วยยังรับประทานอาหาร หรือใช้ชีวิตไม่เหมาะสม เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ สมุนไพรแก้เบาหวานก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติของตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ ฟัน เหงือก ตา ไต หัวใจ สมอง และ หลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต  อาการของเบื้องต้นที่สามารถสังเ...

อ่านต่อ

ควบคุมน้ำหนัก

การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะโรคอ้วน เป็นตัวการของโรคร้ายต่างๆ มากมาย ดังนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักให้ดีและอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติอยู่เสมอ โรคร้ายที่อาจจะมาพร้อมกับความอ้วนได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง มะเร็งเต้านม โรคหล...

อ่านต่อ

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอกระบวนการเกิดออกซิเดชั่น(กระบวนการรวมตัวกับออกซิเจน) หน้าที่ของสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ลดความเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โร...

อ่านต่อ