เบาหวาน ในช่วงโควิด 19
แนะวิธีดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ในช่วงระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่เชื้อไวรัส โควิด-19 ยังไม่หมดไป ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่นโรคเบาหวาน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน วันนี้จึงมีวิธีการดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวานมาฝากกัน
ตั้งใจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น เตรียมตัวให้พร้อมหากรู้สึกไม่สบาย หากมีอาการไข้สูง ไอ จาม หรือหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
แม้ผู้เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน แต่ว่าถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน เช่นเดียวกับผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน เนื่องจากผู้เป็นเบาหวาน หากควบคุมน้ำตาลไม่ดี จะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนปกติ และเชื้อไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้เป็นเบาหวานมีอาการที่รุนแรงจากตัวโรคหรือผลการรักษาที่แย่กว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานประมาณ 2 เท่า นอกจากนี้พบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้เป็นเบาหวานสูงถึงร้อยละ 7.3 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมที่พบเพียงร้อยละ 2.3
ด้วยเหตุนี้ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงมีคำแนะนำในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานดังต่อไปนี้
- ตั้งใจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น
- เตรียมตัวให้พร้อมหากรู้สึกไม่สบาย หากมีอาการไข้สูง ไอ จาม หรือหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- การติดเชื้อทุกชนิดสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้ร่างกายขาดน้ำ จึงควรดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
- สำรองอาหาร โดยเฉพาะประเภทน้ำตาลให้เพียงพอสำหรับการแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำได้ทันท่วงที
- เช็กดูว่ายารักษาเบาหวานมีเพียงพอหรือไม่ หากคุณต้องถูกกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์
- หากอยู่บ้านคนเดียว หาคนที่สามารถไว้วางใจและมั่นใจว่าจะช่วยเหลือได้ รวมถึงติดต่อผู้เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหากจำเป็น
ทั้งนี้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ด้วยการล้างมืออย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ทำความสะอาดวัตถุหรือบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ เวลาไอหรือจามควรนำต้นแขนหรือข้อพับแขนมาปิดบริเวณปากและจมูก รวมถึงหลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงต่อโรค คอยแนะนำหรือพูดคุยกับคนในครอบครัวถึงการป้องกันและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ
หากรู้สึกว่าตัวเองมีอาการป่วย หรือสงสัยว่าป่วย ให้แจ้ง (1) กรมควบคุมโรค โทร 1422 หรือ (2) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669
Credit : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ
POW Zukar Q พาวซูการ์คิว
กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคห...
ดูรายละเอียดภูมิแพ้ ทางเดินหายใจ
ภาวะลองโควิด
สถาบันการแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ที่มีภาวะลองโควิดทานผลิตภัณฑ์ที่มีโพรไบโอติกส์ ที่มีอยู่ในโยเกิร์ต กิมจิ ผักดอง เป็นต้น ซึ่งปริมาณที่มีอยู่นั้น ยังไม่เพียงพอ จึงแนะนำให้ทานผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ 10 ล้าน Cfu ขึ้นไปโพรไบโอติกส์...
อ่านต่อสูงวัยทำยังให้ไงไม่ให้อ่อนแอ
ยิ่งสูงวัยร่างกายยิ่งอ่อนแอ ภูมิต้านทานก็เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ หากไม่ดูแลให้ดีอาจจะถูกเล่นงานจากสารพัดโรคร้าย ต้องรีบฟื้นฟูเสริมภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น เพราะยิ่งภูมิแข็งแกร่ง ร่างกายก็จะแข็งแรงตามไปด้วยเพราะการที่คนเราจะป่วยหรือติดโรคมีอยู่ 2 ปัจจัย คือปริ...
อ่านต่อคุณรู้จักภูมิแพ้ ดีแค่ไหน
ภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคหรืออาการ ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งเป็นระบบกลไกที่มีหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก เช่น เชื้อโรคต่าง ๆ สารเคมี ฝุ่น พืช ละอองเกสร ขนสัตว์ เป็นต้น มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้มากกว่าปกติ หรือไวเกิ...
อ่านต่อทำไมตัดสินใจเลือกพาว
ปัญหาสุขภาพมาแบบไม่เลือกอายุ ถึงแม้อายเพียง 37 ปี ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง กรดไหลย้อน ชอบทานหวาน สุขภาพไม่ค่อยดีตั้งแต่อายุยังน้อย ทุกอาการรุมเร้า ส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวัน พากังวล...
อ่านต่อคาวตอง สมุนไพรเสริมภูมิ สู้ไวรัส
สมุนไพรมาแรงที่ต่างประเทศตามหา อย่าง ฮาว์ธัยเนีย (Houttuynia) หรือ พลูคาว เทรนด์สุขภาพของยุคนี้ อยู่ที่ไทยนี่เอง!! เสริมภูมิสู้ไวรัส ท่ามกลางกระแสความหวาดหวั่นเรื่องไวรัส การดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยสมุนไพรไทยเป็นหนึ่งในเทรนด์ล่ามาแรง โดย...
อ่านต่อ