ประโยชน์ กระชายขาว

ประโยชน์ กระชายขาว #1

กระชาย ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Kaempfer แต่ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. เป็นพืชล้มลุกที่เรามักนิยมนำเหง้ามาใช้ประกอบอาหาร แต่กระชายมีสรรพคุณตั้งแต่รากถึงใบ

กระชายขาวสกัด เป็นยาต้านไวรัส โควิด-19 ได้ดี 100%

การใช้กระชายในวัตถุประสงค์ต้านโควิด-19 นั้นยังคงเป็นการศึกษาในห้องทดลอง โดยเลือกใช้สารสกัดจากกระชายขาว ซึ่งถูกนำมาสกัดใช้ในลักษณะของยา แต่หากนำมาใช้กินกันในอาหารทั่วไป จะมีสรรพคุณดังนี้

  • ใบกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ ถอนพิษ แก้โลหิตเป็นพิษ
  • เหง้าและรากกระชาย แก้บิด ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยารักษาภายนอกทารักษาขี้กลาก
  • เหง้าใต้ดินกระชาย แก้ปวดท้อง แก้มวนท้อง บำรุงกำลัง รักษาริดสีดวง

ประโยชน์ของกระชาย

กระชายที่ใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร พ่อครัวแม่ครัวมักจะใช้กระชายดำ แต่กระชายส่วนใหญ่มีประโยชน์ได้ใกล้เคียงกัน ดังนี้

  • แก้ท้องร่วง - ใช้เหง้ากระชายดำ 1-2 หัว นำไปปิ้งไฟ แล้วนำมาตำหรือฝนผสมกับน้ำปูนใส คั้นมารับประทาน 1-2 ช้อนแกง
  • แก้ท้องอืด จุกเสียด ปวดมวนท้อง - ใช้ราก เหง้า ครึ่งกำมือ นำมาต้มเอาน้ำหรือใช้ปรุงอาหาร
  • แก้บิด - ใช้เหงาสด 2 เหง้าบดละเอียดผสมน้ำปูนใส คั้นแต่น้ำดื่ม
  • แก้ริดสีดวง - ใช้เหง้าสด 6-8 เหง้า ผสมเนื้อมะขามเปียก และเกลือแกง 3 ช้อนชา นำมาตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วติดต่อกัน 1 เดือน จนกว่าริดสีดวงทวารจะหาย
  • บำรุงหัวใจ - ใช้เหง้าและรากกระชายปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง นำผงแห้งมาชงน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา ดื่มให้หมดในครั้งเดียว
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ - ส่วนสรรพคุณกระชายเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ตามที่แบรนด์อาหารเสริมต่างๆ แนะนำให้กินเวลาเย็น เพื่อช่วยลดอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืนนั้น ยังต้องรอการศึกษาวิจัยต่อไป

นอกจากกระชายขาว และกระชายดำแล้ว ในตำราสมุนไพรไทยยังได้กล่าวถึงการใช้ กระชายเหลือง ในตำรับยาสำหรับผู้หญิง โดยใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน และแก้อาการตกขาวของผู้หญิงได้ ส่วนสรรพคุณของกระชายเหลืองอื่นๆ ก็มีฤทธิ์เช่นเดียวกับกระชายดำที่กล่าวมาข้างต้น

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ภูมิแพ้ ทางเดินหายใจ

บทความน่ารู้

ทำไม คนติดเชื้อโควิด ไม่ป่วยหมดทุกคน

ความสามารถในการติดเชื้อ ของไวรัสทั่วไป รวมถึงเจ้าโควิด19 เชื้อร้ายที่ไม่กระจอกขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยนี้ความแข็งแรงของเชื้อเมื่อไวรัสถูกทำให้อ่อนแอลง โครงสร้างชั้นไขมันถูกทำลาย หรือถูกลดความสามารถในการแบ่งตัว ทำให้การติดเชื้อไวรัสเป็นไปได้ยากขึ้น ลดการเ...

อ่านต่อ

คำชื่นชม จากลูกค้า พาว ขอบคุณมากครับ

ทุกๆ ก้าวของ พาว เราจะพบรอยยิ้มของเกษตรกรชาวไทย อยู่ร่วมทางไปกับเราเสมอ พบเสียงยินดีของกลุ่มอาจารย์นักวิจัย ที่เห็นผลงานได้นำออกไปช่วยผู้คนได้จริง ๆ พบคำชื่นชม จากลูกค้า ที่เห็นความตั้งใจ และจริงใจ ของเรา ในทุกๆ ผลิตภัณฑ์ และ การสื่อสารข้อมูลที่ม...

อ่านต่อ

ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (Innate Immunity) หรือภูมิคุ้มกันทั่วไป เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ โดยจะช่วยปิดผนึกช่องทางที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายปลอดภัยจากการติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันแบบเจาะจง (Adaptive ...

อ่านต่อ

นิวนอร์มอล อยู่ให้ได้ อยู่ให้เป็น

ในวันที่เราเริ่มต้นเดินทางออกจากบ้านมาทำงาน และ ทำกิจกรรมนอกบ้านได้ใกล้เคียงกับปกติ แต่พฤติกรรมเหล่านี้เป็นวิถีชีวิตใหม่ หรือที่เรียกกันว่า นิวนอร์มอล (New Normal) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ไม่เหมือนเดิม แม้ว่าเราจะกลับไปยังสถานที่เดิม ๆ เพราะทุกคนต้อง...

อ่านต่อ

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร จัดเป็นสมุนไพรท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย จีน ศรีลังกา ไทย และยังใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วทวีปเอเชีย โดยนิยมนำส่วนของใบและลำต้นใต้ดินมาทำเป็นยารักษาโรค โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ ในประเทศไทยได้บรรจุฟ้าทะลา...

อ่านต่อ