ไวรัสRSV และ ไวรัสไข้หวัดธรรมดา ต่างกันอย่างไร

ไวรัส RSV เป็นไวรัสซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่กลัวมาก เนื่องจากไวรัส RSVยังไม่มีทั้งยารักษาและวัคซีนป้องกัน และไวรัส RSVมักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน 

ไวรัส RSV คืออะไร

Respiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานในวงการแพทย์ ซึ่ง RSV เป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก

ร่างกายได้รับไวรัส RSV ได้อย่างไร

ไวรัส RSV จะพบมากและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะหน้าฝน แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจ   

ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการอย่างไร

RSV ก่อโรคในทางเดินหายใจ แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่มคือ

  • ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ ทำให้มีอาการคล้ายหวัด มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คออักเสบ
  • ทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งมักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
  • ในบางรายมีอาการรุนแรง ไข้สูง หอบเหนื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัส RSV ตั้งแต่ 40 –90 % รวมไปถึงปอดบวม  

ไวรัส RSV ต่างจากหวัดธรรมดาอย่างไร

หวัดธรรมดาจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่อาการที่เกิดจากไวรัส RSV มีอาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมากจนเป็นโรคปอดบวม หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ บางรายไอมากจนอาเจียน ซึมลง ตัวเขียว กินข้าว กินน้ำ กินนมไม่ได้  

รักษา ไวรัส RSV อย่างไร

ระวังเรื่องการขาดนน้ำ เพราะจะยิ่งทำให้เสมหะเหนียวข้นและเชื้อลงปอด อาจต้องใช้ยาพ่นร่วมกับ oxygen เพื่อช่วยขยายหลอดลม รับประทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4 – 6 ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนเยอะๆ ร่างกายก็จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วัน จึงจะหาย  

วิธีป้องกัน ไวรัส RSV

การล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อยๆ เช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเด็กที่สงสัยว่าเป็นหวัด และใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเอาไว้

เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค

หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็ก เพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว ไม่พาบุตรหลานไปที่ชุมชมสถานที่ที่มีคนเยอะ

ถ้ามองเผิน ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าน้องเป็นหวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่สังเกตอาการให้ดีและปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นโรคร้ายที่อันตรายต่อชีวิตเด็ก ๆ ได้ค่ะ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีกได้ถ้าน้อง ๆ ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะกระตุ้นอาการหอบจนทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุดค่ะ

เครดิตข้อมูลจาก : รักลูกคลับ-Rakluke Club

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ภูมิแพ้ ทางเดินหายใจ

บทความน่ารู้

ห้ามกิน ฟาวิพิราเวียร์ คู่กับ ฟ้าทะลายโจร

เตือนผู้ป่วยโควิด‼ ห้ามกิน ฟาวิพิราเวียร์ คู่กับ ฟ้าทะลายโจร เสี่ยงเป็นพิษต่อตับคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี เผย ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ปัจจุบันเป็นยาหลักในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19 ตามแนวทางการดูแลรักษาโควิด 19 โดยกรมการแพทย์ เนื่องจากมีประ...

อ่านต่อ

โรคภูมิแพ้ เกิดจากความผิดพลาดของ ระบบภูมิคุ้มกัน

ความจริงแล้วโรคภูมิแพ้ เกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดของระบบภูมิคุ้มกัน ไม่ใช่เพราะร่างกายเราอ่อนแอ ต้องดูแลให้ตรงจุดเมื่อภูมิคุ้มกันตรวจเจอสารที่ก่อภูมิแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันจะปล่อยสารฮิสทามีน (histamine) ออกมาจัดการสารก่อภูมิแพ้ แต่ดันปล่อยออกมามากเกินไป ...

อ่านต่อ

ภูมิคุ้มกัน สำคัญมาก สำหรับโลกวันนี้

ภูมิคุ้มกัน สำคัญมาก สำหรับโลกวันนี้ หากเปรียบร่างกายเหมือนประเทศ ภูมิคุ้มกันในร่างกายก็เปรียบเสมือนทหารที่คอยกำจัดผู้รุกราน ซึ่งได้แก่เชื้อไวรัส แบคทีเรีย ที่เข้าสู่ร่างกายไม่ให้กระจายขยาย และกำจัดออกไป ซึ่งการที่จะเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมีหลายห...

อ่านต่อ

รู้ได้อย่างไรดื่มน้ำพอไหม

ประโยชน์ของการดื่มน้ำให้เพียงพอสำหรับร่างกายมีมากมาย สิ่งที่คุณจะรับรู้ได้อย่างชัดเจนด้วยตัวเองก็คือ เมื่อดื่มน้ำไม่เพียงพอ เราจะรู้สึก ปากแห้ง คอแห้ง ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม แต่เมื่อดื่มน้ำสะอาดเพียงพอสำหรับร่างกาย สมองจะสามารถคิด ประมวลผลได้เร็...

อ่านต่อ

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นโรคทางภูมิคุ้มกันเหมือนกัน แต่กลไกการเกิดต่างกัน ฉะนั้นโรคทั้งสองจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย  โรคทางภูมิแพ้เป็นโรคทางภูมิคุ้มกัน ที่ร่างกายของกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเร็วมากเกินกว่าปกติ จึงทำให้เกิด...

อ่านต่อ