รับประทานฟ้าทะลายโจรอย่างไร ให้ดีต่อสุขภาพ

รับประทาน<strong>ฟ้าทะลายโจร</strong>อย่างไร ให้ดีต่อสุขภาพ #2

ฟ้าทะลายโจร กินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

1.ฟ้าทะลายโจร เป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์สำคัญ 4 อย่าง คือ

กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส ต้านการอักเสบ และ ลดไข้ จากการวิจัยพบว่า สารสกัดสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ในฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโควิด 19 และยับยั้งการแบ่งตัวของโคโรนาไวรัส 2019 ได้

แต่ไม่พบสรรพคุณในการป้องกันการติดเชื้อโควิด ดังนั้น ไม่ควรกินยาฟ้าทะลายโจรเพื่อหวังผลป้องกันโรคโควิด-19 โดยที่ยังไม่มีอาการ

2.สามารถกินฟ้าทะลายโจรเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันไม่ให้เป็นหวัดง่าย และช่วยรักษาอาการป่วยไข้ธรรมดาทั่วไปได้ โดยเมื่อมีอาการคล้ายหวัด ได้แก่ ไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศีรษะ ควรกินยาฟ้าทะลายโจรทันที ยิ่งกินเร็วยิ่งดี โดยฟ้าทะลายโจรจะช่วยย่นระยะเวลาการป่วยให้น้อยลง เช่น จากที่จะมีอาการหวัด 3-4 วัน ก็อาจเหลือเพียง 1-2 วัน อย่าปล่อยให้เกิดอาการมากแล้วจึงจะรับประทาน แบบนั้นจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร

3.การใช้ยาฟ้าทะลายโจรมี 2 รูปแบบ คือ

  • ยาจากผงฟ้าทะลายโจร ให้รับประทานครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน ได้ปริมาณผงยา 6 พันมิลลิกรัมต่อวัน
  • ยาจากสารสกัดฟ้าทะลายโจร มีแบบบรรจุ 10 มิลลิกรัมต่อแคปซูล และ 20 มิลลิกรัมต่อแคปซูล เพราะฉะนั้นจะต้องกินครั้งละ 2 แคปซูลสำหรับ 10 มิลลิกรัม หรือ 1 แคปซูล สำหรับ 20 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน จะได้ปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ประมาณ 60 มิลลิกรัมต่อวัน

4.แนะนำให้กินฟ้าทะลายโจรแก้หวัดติดต่อกันได้ 3 วัน แต่หากอาการไม่ดีขึ้นเลย ควรหยุดกินฟ้าทะลายโจรและพบแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการหวัดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ใช่เชื้อไวรัส ซึ่งต้องใช้ยาคนละตัวในการรักษา

5.ไม่ควรกินฟ้าทะลายโจรโดยไม่จำเป็น เพราะอาจเป็นภาระให้ตับกับไตได้ เว้นแต่ว่า เป็นคนในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กอายุ 4 ขวบขึ้นไปที่มีภาวะภูมิแพ้ ผู้สูงอายุที่ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ และผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่มีคนแออัด สามารถกินฟ้าทะลายโจรขนาดต่ำ วันละ 1 เม็ด วันเว้นวัน นาน 3 เดือน ในช่วงที่มีการระบาดได้ เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง

6.ผลข้างเคียงจากฟ้าทะลายโจรที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ ปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว วิงเวียนศีรษะ หรือใจสั่น ในผู้ป่วยบางราย หรือสำหรับคนที่รับประทานติดต่อกันนานเกินไป อาจมีอาการแขน-ขาชา อ่อนแรง หรือรู้สึกหนาวเย็นภายในได้ เพราะฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรรสขมจัด มีฤทธิ์เย็น

ทั้งนี้ ห้ามใช้ยาฟ้าทะลายโจรในผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้ป่วยที่เจ็บคอจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากกินแล้วมีอาการคัน ผื่นขึ้นตามตัว เป็นลมพิษ หน้าบวม ริมฝีปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ให้หยุดใช้ฟ้าทะลายโจรทันที


Credit : กรมการแพทย์แผนไทย

POW พาวแคปซูล พาวเฮอร์เบิลแคปซูล

พาวแคปซูล สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานแบบน้ำ ไม่ชอบกลิ่นและรสชาติของสมุนไพร ต้องเดินทางบ่อยพกพาวชนิดน้ำไปทานไม่สะดวก พาวแคปซูล จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพสมุนไพรในพาวเฮอร์เบิลแคปซูล มี 12 ชนิด ประกอบไปด้วย พลูคาว  เบต้ากูลแค...

ดูรายละเอียด

ไอ เจ็บคอ ไข้หวัด

บทความน่ารู้

ไอเอาอยู่

ไอ เอา อยู่  พาวเมาท์เสปรย์ มีส่วนผสมของโพรพอลิส (Propolis) และสารสกัดพลูคาว ซึ่งสารสกัดพลูคาว หรือผักคาวตอง สามารถฉีดก่อนใส่แมส หรือหลังใส่แมส หรือระหว่างวัน แม้กระทั่งหลังรับประทานอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง พาวเมาท์สเปรย์สามารถช่วยทำให้กลิ่นปากและลมหาย...

อ่านต่อ

V herb คืออะไร

V herb  คือการผสมผสานส่วนผสมสารสกัด 5 ชนิด ได้แก่ พลูคาว สไปรูลิน่า กระชายขาว เบต้ากูลแคนจากยีสต์ และมะขามป้อม กลไกการทำงานของสมุนไพรแต่ละชนิดคือ สไปรูลิน่าเปิดเปลือกเยื่อหุ้มของไวรัสประเภทมีหนาม เพื่อให้สารสกัดพลูคาวและสารสกัดกระชายทำหน้าที่ต้...

อ่านต่อ

ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (Innate Immunity) หรือภูมิคุ้มกันทั่วไป เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ โดยจะช่วยปิดผนึกช่องทางที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายปลอดภัยจากการติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันแบบเจาะจง (Adaptive ...

อ่านต่อ

น้ําพลูคาว ยี่ห้อไหนดี

เนื่องจากประโยชน์ของใบพลูคาวมีมากมาย และด้วยกลิ่นและรสชาติของใบสดที่มีกลิ่นคาว ขื่น เผ็ดร้อน ทำหลายท่านมีความลำบากในการที่จะรับประทานสด  จึงได้มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นำใบพลูคาวมาสกัดในรูปแบบของน้ำสมุนไพร และในแบบแคปซูล เพื่อความสะดวกในการรับประทาน แ...

อ่านต่อ

ไวรัสRSV และ ไวรัสไข้หวัดธรรมดา ต่างกันอย่างไร

ไวรัส RSV เป็นไวรัสซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่กลัวมาก เนื่องจากไวรัส RSVยังไม่มีทั้งยารักษาและวัคซีนป้องกัน และไวรัส RSVมักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน ไวรัส RSV คืออะไรRespiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานในวงการแพทย์ ซึ่ง RSV...

อ่านต่อ