ติดโควิด อยู่บ้านรอเตียง จะทำยังงัยดี

<strong>ติดโควิด</strong> อยู่บ้าน<strong>รอเตียง</strong> จะทำยังงัยดี #1

หากท่านติดโควิด แล้วไม่มีอาการอะไร เป็นเหมือนไข้หวัดธรรมดา ก็ไม่น่าห่วงเท่าไหร่ แต่จะมีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งที่เชื้อลงปอด แล้วทำให้เกิดปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม อันนี้เริ่มน่าเป็นห่วง เพราะจะรบกวนการแลกเปลี่ยนก๊าซซึ่งเป็นหน้าที่หลักของปอด หากเป็นมากระดับหนึ่งจะทำให้ระดับออกซิเจนเลือดลดลง และจะลดลงมากยิ่งขึ้นหากการติดเชื้อลุกลาม ภาวะปอดบวมนี้จะทำให้ปอดขยายตัวยาก คือ หายใจเข้าได้น้อยลง เป็นมากรุนแรงขึ้น ยิ่งหายใจเข้าได้น้อย ระดับออกซิเจนในเลือดของท่านจะยิ่งต่ำลง แต่อวัยวะต่างๆในร่างกายของท่านยังต้องการพลังงานซึ่งต้องอาศัยออกซิเจนในปริมาณเท่าเดิม เมื่อปอดทำงานแย่ลง มันจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นหน้าที่ของท่านที่ต้องปฏิบัติตัว รอหมอ รอเตียง คือพยายามประคับประคองการทำงานของปอดให้สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่เลือดในระดับที่เพียงพอ และ ลดระดับการใช้พลังงานของร่างกายลง โดยให้ปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

ลดระดับการใช้พลังงานของร่างกายลง

เมื่อเราติดเชื้อ เราจะมีไข้ ไข้จะสูงจะต่ำอยู่ที่การตอบสนองของร่างกายเรา หากมีไข้ ต้องลดไข้ก่อน เพราะยิ่งไข้สูงระดับการใช้พลังงานของร่างกายจะสูงขึ้น ยิ่งต้องการออกซิเจนมากขึ้น ในขณะที่ปอดเรากำลังแย่เราจะไม่ไหวแล้วจะผ่านมันไปไม่ได้ วิธีการลดอุณหภูมิร่างกายทำได้โดย

  • ทานยาลดไข้ ตามขนาดที่เหมาะสมกับตนเอง
  • เช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภูมิห้องบ่อยๆ ทำวนไปจนไข้ลด
  • เช็ดสวนทางกับแนวขน เพราะเราต้องการเปิดรูขุมขนให้ระบายความร้อน
  • ผ้าขนหนูควรซับน้ำได้ดี ไม่ต้องหมาดมาก
  • สามารถวางผ้าชุบน้ำโป๊ะไว้บริเวณที่ร้อนมากๆ เช่น หน้าผาก ซอกคอ รักแร้ แผ่นหลัง ขาหนี วางโป๊ะไว้จนบริเวณนั้นอุณหภูมิลดลง หรือผ้าอุ่นจะต้องเปลี่ยนไปซุบผ้าใหม่ 
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น (หากท่านไม่ใช่ผู้ป่วยนที่มีโรคประจำตัวจนต้องจำกัดปริมาณน้ำ เช่นผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจบางประเภท ซึ่งผู้ป่วยมักจะทราบอยู่แล้ว) เพื่อคงระดับสมดุลน้ำในร่างกาย ถ้าน้ำมันเกินเราก็จะขับออกมาทางปัสสาวะเอง
  • ลดการทำกิจกรรมลง ทำแค่กิจวัตรประจำวันที่จำเป็นในช่วงมีไข้เท่านั้น เพื่อลดระดับความต้องการพลังงานของร่างกายให้มากที่สุด แต่ไม่ใช่นอนเฉยๆทั้งวันนะครับ 
  • กิจกรรมใดที่ทำให้หัวใจท่านเต้นเร็วขึ้นมากแสดงว่าใช้พลังงานมากขึ้น 
  • จับชีพจรที่เส้นเลือกบริเวณข้อมือจะพอทราบว่าเต้นกี่ครั้งต่อนาที ถ้าช่วงที่ไข้ขึ้น หัวใจท่านอาจจะเต้นเร็วขึ้นเช่นกัน

พาวน้ำ ขวดใหญ่ POW พาวเอสเซ้นส์ พาวน้ำพลูคาว

พาวซุยยากุเอสเซนส์ น้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้น พาวซุยยากุเอสเซนส์ หรือพาวน้ำ  ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรสกัด 11 ชนิด ประกอบด้วยพลูคาวเป็นส่วนประกอบหลัก และสมุนไพรอื่น 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม มะขามป้อม กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม ลูกยอ เจี...

ดูรายละเอียด

ไอ เจ็บคอ ไข้หวัด

บทความน่ารู้

covid19 วัคซีนคือความหวัง แต่ปัจจุบันคือการดูแลตัวเอง

มาสร้างภูมิป้องกันตัวเองไว้ก่อน เพราะภูมิคุ้มกันที่ดีคือสิ่งที่ทุกคนต้องการ ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น วัยทำงาน ที่ยังแข็งแรงแต่หักโหมใช้งานหนักจนอาจทำให้ภูมิต่ำลง หรือวัยกลางคนที่สุขภาพเริ่มถดถอยแต่ยังต้องทุ่มเททำงาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงวัยที่ต้องเผช...

อ่านต่อ

VHerb ดูแลสุขภาพคุณยังไง

หากภูมิต่ำ ด้วยการผสานพลัง 5 ยอดสมุนไพรสกัด ทั้งสารสกัดพลูคาว สารสกัดกระชาย สไปรูลิน่า เบต้ากลูแคนจากยีสต์ และสารสกัดมะขามป้อม จะช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว จึงเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ หากกลัวโรคร้ายอย่างมะเร็ง เพิ่มความมั่นใ...

อ่านต่อ

สมุนไพรพื้นบ้านของไทยช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

สมุนไพรพื้นบ้านของไทย ที่ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งป้องกันไวรัส ป้องกันแบคทีเรีย และอีกสารพัดคุณสมบัติเพื่อสุขภาพ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมฮาว์ธัยเนีย (Houttuynia) หรือพลูคาว จึงเป็นสมุนไพรมาแรงของยุคนี้ ที่ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย ต่างประเทศก็สนใจนำเป็นส่...

อ่านต่อ

ถาม ตอบ ป้องกัน ตัวเอง ก่อนป่วย

กระแสที่เกิดขึ้นตอนนี้ หลายคนตื่นตระหนกและหวาดกลัว ไปจนถึงหวั่นใจ กับคำถามมากมายว่า เชื้อโรคและไวรัสน่ากลัวแค่ไหน ภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันสำคัญแค่ไหน และจะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไร มาไขข้อข้องใจเรื่องไวรัสกับภูมิต้านทานในร่างกายของเรากับ นพ....

อ่านต่อ