เบาหวาน ในช่วงโควิด 19
แนะวิธีดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ในช่วงระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่เชื้อไวรัส โควิด-19 ยังไม่หมดไป ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่นโรคเบาหวาน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน วันนี้จึงมีวิธีการดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวานมาฝากกัน
ตั้งใจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น เตรียมตัวให้พร้อมหากรู้สึกไม่สบาย หากมีอาการไข้สูง ไอ จาม หรือหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
แม้ผู้เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน แต่ว่าถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน เช่นเดียวกับผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน เนื่องจากผู้เป็นเบาหวาน หากควบคุมน้ำตาลไม่ดี จะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนปกติ และเชื้อไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้เป็นเบาหวานมีอาการที่รุนแรงจากตัวโรคหรือผลการรักษาที่แย่กว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานประมาณ 2 เท่า นอกจากนี้พบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้เป็นเบาหวานสูงถึงร้อยละ 7.3 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมที่พบเพียงร้อยละ 2.3
ด้วยเหตุนี้ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงมีคำแนะนำในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานดังต่อไปนี้
- ตั้งใจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น
- เตรียมตัวให้พร้อมหากรู้สึกไม่สบาย หากมีอาการไข้สูง ไอ จาม หรือหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- การติดเชื้อทุกชนิดสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้ร่างกายขาดน้ำ จึงควรดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
- สำรองอาหาร โดยเฉพาะประเภทน้ำตาลให้เพียงพอสำหรับการแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำได้ทันท่วงที
- เช็กดูว่ายารักษาเบาหวานมีเพียงพอหรือไม่ หากคุณต้องถูกกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์
- หากอยู่บ้านคนเดียว หาคนที่สามารถไว้วางใจและมั่นใจว่าจะช่วยเหลือได้ รวมถึงติดต่อผู้เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหากจำเป็น
ทั้งนี้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ด้วยการล้างมืออย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ทำความสะอาดวัตถุหรือบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ เวลาไอหรือจามควรนำต้นแขนหรือข้อพับแขนมาปิดบริเวณปากและจมูก รวมถึงหลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงต่อโรค คอยแนะนำหรือพูดคุยกับคนในครอบครัวถึงการป้องกันและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ
หากรู้สึกว่าตัวเองมีอาการป่วย หรือสงสัยว่าป่วย ให้แจ้ง (1) กรมควบคุมโรค โทร 1422 หรือ (2) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669
Credit : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ
POW พาวแคปซูล พาวเฮอร์เบิลแคปซูล
พาวแคปซูล สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานแบบน้ำ ไม่ชอบกลิ่นและรสชาติของสมุนไพร ต้องเดินทางบ่อยพกพาวชนิดน้ำไปทานไม่สะดวก พาวแคปซูล จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพสมุนไพรในพาวเฮอร์เบิลแคปซูล มี 12 ชนิด ประกอบไปด้วย พลูคาว เบต้ากูลแค...
ดูรายละเอียดไอ เจ็บคอ ไข้หวัด
ห้ามกิน ฟาวิพิราเวียร์ คู่กับ ฟ้าทะลายโจร
เตือนผู้ป่วยโควิด‼ ห้ามกิน ฟาวิพิราเวียร์ คู่กับ ฟ้าทะลายโจร เสี่ยงเป็นพิษต่อตับคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี เผย ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ปัจจุบันเป็นยาหลักในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19 ตามแนวทางการดูแลรักษาโควิด 19 โดยกรมการแพทย์ เนื่องจากมีประ...
อ่านต่อLong Covid คืออะไร
Long Covid อาการที่ยังหลงเหลือ แม้หายป่วยโควิดแล้ว ทำความรู้จักกับอาการ Long Covid ที่เป็นอาการหลงเหลืออยู่ของเชื้อโควิด-19 แม้หายป่วยจากการติดเชื้อแล้ว ซึ่งจะพบหลังจากหายป่วยในช่วง 1-3 เดือนแรก และวิธีดูแลตัวเองเพื่อให้หายจากอาการนายแพทย์สมศักดิ์ อร...
อ่านต่อสมุนไพรไทย ภูมิใจ พาว
สมุนไพรไทยในผลิตภัณฑ์ พาวเดอร์ล่า พาวในรูปแบบผง ที่พาว ภูมิใจนำเสนอ พลูคาว มีสารฟลาโวนอยด์ อัลคาลอยด์ และสารเควอซิทิน เสมือนเกราะป้องกันการทำลายเซลล์ในร่างกาย มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบกระชายขาว มีสารแพนดูราทิน ที่สามารถลดจำนวนเซลล์ที...
อ่านต่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้พ่อเรา ด้วย v herb
ไวรัสระบาดขนาดนี้ พ่อเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยง อะไรจะดีไปกว่าเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้พ่อเราแข็งแรงไว้ก่อน เพราะพ่อเป็นมากกว่านั้น ทั้งเพื่อนเล่น ครู คนขับรถ ช่างซ่อมของ พ่อครัว ฯลฯ กว่าจะโตมาจนวันนี้ พ่อต้องอดทน ทุ่มเท เสียสละแค่ไหน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่...
อ่านต่อสินค้าของพาวมีอะไรบ้าง
สินค้าภายใต้แบรนด์พาว มีอะไรบ้าง?? และแแต่ละตัวมีดีอย่างไร?? เรามีคำตอบ พาวซุยยากุเอสเซ้นส์ พาวน้ำ พี่ใหญ่ของแบรนด์พาว น้ำสมุนไพรสกัดเข้มข้น โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก พร้อมสมุนไพรอื่นอีก 10 ชนิด รวมสมุนไพร 11 ชนิดใน 1 ขวด นวั...
อ่านต่อ