ประโยชน์ของกล้วยหอม

กล้วยหอมเป็นผลไม้ที่ปลูกได้ตลอดปีในกล้วยหอมประกอบไปด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิดคือ ซูโครส ฟรุกโตน และกูลโคส ซึ่งน้ำตาลเหล่านี้ร่างกายพร้อมนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที อีกทั้งมีเส้นใยอาหาร รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ต่างๆหลายชนิด  มีประโยชน์ต่อกล้ามเนื้อช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย สามารถควบคุมความดันโลหิตได้  เนื่องจากกล้วยมีโพแตสเซียมและธาตุเหล็กสูง จึงมีการแนะนำให้ผู้ป่วยโรคโลหิตจางบริโภคกล้วย

การบริโภคกล้วยเป็นประจำจะช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำตาลในเลือด หลังการบริโภคอาหารและรักษาสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ต่อการนำมารักษาคนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้กล้วยหอมยังได้รับความนิยมในกลุ่มคนออกกำลังกายและลดน้ำหนักเพื่อทดแทนอาหารหลัก

คุณค่าทางโภชนาการ

กล้วยหอมปริมาณ 100 กรัม น้ำหนักไม่รวมเปลือก (ประมาณกล้วยขนาดกลาง 1 ลูก) ประกอบไปด้วย

  • พลังงาน 132 กิโลแคลอรี  
  • น้ำ 66.3 กรัม 
  • โปรตีน 0.9 กรัม 
  • ไขมัน 0.2 กรัม 
  • คาร์โบไฮเดรต 31.7 กรัม 
  • ไฟเบอร์ 1.9 กรัม 
  • ซัลเฟต 0.9 กรัม 
  • แคลเซียม 26 มิลลิกรัม 
  • ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม 
  • เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม  
  • เบต้า-แคโรทีน 99 ไมโครกรัม 
  • วิตามินเอ 17 ไมโครกรัม  
  • วิตามินบี1 (ไทอะมีน) 0.04 มิลลิกรัม 
  • วิตามินบี2 (โรโปพลาวิน) 0.07 มิลลิกรัม 
  • ไนอะซีน 0.1 มิลลิกรัม 
  • วิตามินซี 27 มิลลิกรัม

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

1.ช่วยผ่อนคลายความเครียด เมื่อเข้าสู่ภาวะเครียด ย่อมทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวหรือบางครั้งเกิดอาการปวดหัวตุ้บๆ การรับประทานกล้วยหอมจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เพราะผลไม้ชนิดนี้อุดมไปด้วยสารโพแทสเซียมและวิตามินมากมาย ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยลดความดันเลือดให้สามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ร่างกายค่อยๆ ลดระดับความเครียดลงมานั่นเอง

2.ช่วยแก้อาการท้องผูก เมื่อมีอาการท้องผูก การรับประทานกล้วยหอมช่วยแก้อาการนี้ได้ เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้ซึ่งส่งผลดีต่อระบบขับถ่าย หากมีอาการท้องผูกบ่อยๆ แนะนำให้รับประทานกล้วยหอมวันละ 1 ลูกทุกวัน รับรองว่า อาการท้องผูกจะดีขึ้นได้ตามลำดับ

3.บำรุงสายตา กล้วยหอมอุดมไปด้วยวิตามินเอและสารเบต้าแคโรทีน สารทั้งสองชนิดนี้ล้วนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อดวงตาอย่างมาก นอกจากจะช่วยบำรุงสายตาแล้วยังมีส่วนช่วยบำรุงและกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทตาได้อีกด้วย

4.ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีมีส่วนช่วยในการต่อต้านสารอนุมูลอิสระทั้งสิ้น กล้วยหอมก็เป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระได้ดี วิตามินซีจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด ช่วยป้องกันโรคลักปิดลักเปิด ใครที่เป็นโรคนี้บ่อยๆ แนะนำให้รับประทานกล้วยหอมแทนผลไม้รสเปรี้ยวชนิดอื่นๆ 

5.แก้อาการนอนไม่หลับ ใครที่มีปัญหานอนไม่หลับบ่อยๆ อย่าเพิ่งตัดสินใจรับประทานยานอนหลับ เพราะการรับประทานกล้วยหอมเป็นตัวช่วยที่ดีและปลอดภัยกว่า เนื่องจากอุดมไปด้วยกรดอะมิโนและทริปโตเฟน สารอาหารเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนประกอบของการสร้างเซโรโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้ร่างกายหลับได้ง่ายขึ้น ควรรับประทานกล้วยหอมในช่วงมื้อเย็นจากนั้นจึงค่อยอาบน้ำและเข้านอน รับรองว่า จะช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายแน่นอน

6.ช่วยลดน้ำหนัก กล้วยหอมมีวิตามินบี1 และวิตามินบี2 ที่คอยเร่งการเผาผลาญน้ำตาลและไขมันในร่างกาย ที่สำคัญยังมีสารอาหารสำคัญอย่างคาร์โบไฮเดรตและไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้ ซึ่งกากใย (ไฟเบอร์) จะทำการดูดซับน้ำทำให้เกิดการพองตัว และช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น ลดโอกาสที่จะรับประทานของจุบจิบหรือของว่างระหว่างมื้อจึงลดลง 

7.มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร กากอาหารที่อุดมอยู่ในกล้วยหอมนั้น มีหน้าที่ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหารให้สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว ดังนั้นเมื่อรับประทานกล้วยหอมบ่อยๆ ก็จะเป็นการปรับระบบย่อยอาหารในร่างกายให้สามารถทำงานได้เป็นปกติยิ่งขึ้น สำหรับใครที่ระบบย่อยอาหารมีปัญหา หากรับประทานกล้วยหอมเป็นประจำก็ไม่จำเป็นต้องง้อยาช่วยย่อยใดๆ เลย

8.บำรุงหัวใจ วิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่มีอยู่ในกล้วยหอมล้วนส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจมากมาย และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีหน้าที่ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย สำหรับใครที่ไม่อยากเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ หรือต้องการบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ควรรับประทานกล้วยหอมเป็นประจำ

9.ป้องกันกระดูกเปราะ เนื่องจากในกล้วยหอมมีปริมาณของฟอสฟอรัสปริมาณสูง ทั้งนี้ฟอสฟอรัสเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก  ที่สำคัญแคลเซียมที่อยู่ในกล้วยหอมก็มีหน้าที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกระดูกตามส่วนต่างๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

โทษของกล้วยหอม

แม้จะมีประโยชน์เยอะทว่ากล้วยหอมเองก็มีข้อควรระวังในการรับประทานด้วยโดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคไต ควรรับประทานกล้วยหอมแต่น้อย หรือเลี่ยงไปเลยก็ได้ เพราะกล้วยหอมเป็นแหล่งของสารโพแทสเซียม อาจส่งผลกระทบต่ออาการของผู้ป่วยโรคไตได้

นอกจากนี้เราก็ไม่ควรกินกล้วยหอมมากเกินขนาด สักวันละ 1-2 ลูกก็เพียงพอ เพราะกล้วยหอมเป็นผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตค่อนข้างสูงหากกินกล้วยหอมร่วมกับอาหารประเภทแป้งเยอะ ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้องเอาได้

สักวันละ 1-2 ลูกก็เพียงพอ

สำหรับคนที่กำลังลดน้ำหนัก กล้วยหอมก็มีแคลอรีพอประมาณ ถ้ากินเกินวันละ 2 ลูกก็ให้พลังงานเกือบ 300 กิโลแคลอรี ฉะนั้นเลือกกินอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำรวมทั้งควบคุมอาหารไปพร้อม ๆ กัน

เนื่องจากกล้วยหอมสดที่ใช้บริโภคมีอายุเก็บเพียง5-7วัน จึงมีการแปรรูปกล้วยหอมสดโดยการอบแห้งให้อยู่ในรูปของกล้วยหอมผงและสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น รับประทานง่ายสามารถชงในน้ำเปล่าเป็นผงทดแทนอาหาร หรือผสมในเบเกอรี่เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติ

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริมผู้ออกกำลังกาย

เมื่ออกกำลังกายก็มักจะเหนื่อยและเผลอทำให้ทานอาหารมากขึ้นหลังจากออกกำลังกายแล้ว แต่ในความเป็นจริง เราไม่ได้ต้องการอาหารมากขึ้นเลย เราแค่ต้องรู้จักบริหาร โภชนาการ และ ช่วงเวลาในการรับประทานให้เหมาะสมแนวทางในการเลือกกินอาหารสำหรับออกกลังกาย ควรกินอาหารท...

อ่านต่อ

ทางเดินอาหาร

ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานเหล่าบรรดามนุษย์ออฟฟิศในสังคมเมืองที่ใช้ชีวิตเร่งรีบและมีภาวะเครียดสูง ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารและตับ มักสร้างความรำคาญและส่งผลอย่างมากต่อก...

อ่านต่อ

บำรุงสายตา

ดวงตาคงไม่ใช่เพียงแค่หน้าต่างของหัวใจเท่านั้น แต่มันคือทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ดังนั้น ดวงตาทั้งสองข้างจึงมีความสำคัญกับเรามาก และแน่นอนว่าคุณไม่ควรปล่อยปละละเลยในการบำรุงสายตา เพราะเมื่อแก่ตัว ดวงตาคู่สวยก็ถึงคราวต้องฝ้าฟาง หรือสุขภาพตาจะค่อยๆเสื่อมล...

อ่านต่อ

ควบคุมน้ำหนัก

การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะโรคอ้วน เป็นตัวการของโรคร้ายต่างๆ มากมาย ดังนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักให้ดีและอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติอยู่เสมอ โรคร้ายที่อาจจะมาพร้อมกับความอ้วนได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง มะเร็งเต้านม โรคหล...

อ่านต่อ

การนอนหลับ

โรคนอนไม่หลับ (Insomania) เป็นภาวะที่ควบรวมถึงอาการหลับยาก หลับสั้น ตื่นง่าย หรือตื่นเร็วเกินไปแล้วไม่หลับอีก โดยสาเหตุของโรคนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งโรคทางจิตเวช ภาวะทางจิตใจ โรคทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ โรคต่อมลูกหมากโต และสารอื่นๆ เช่น ...

อ่านต่อ

บำรุงกล้ามเนื้อ กระดูก ไขข้อ

โรคระบบข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติ หรือ อาการที่เกิดจากความบกพร่องของระบบข้อ กระดูก และระบบกล้ามเนื้อ ปัญหาความเสื่อมของกระดูก เพิ่มขึ้นตามวัยและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา แม้อาการของโรคข้อเสื่อมจะเป็นผลมาจากวัย...

อ่านต่อ