ข้าวกล้อง ข้าวขาว

หลาย ๆ คนหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่แคลลอรี่น้อย ๆ บางคนถึงขั้นบอกว่าเลิกกินข้าวเลยดีกว่าเพราะข้าวเป็นแป้ง น่าจะทำให้อ้วนได้ ดังนั้นในบทความนี้จะขอพูดถึงแหล่งคาร์โบไฮเดรตทางเลือกอย่างเช่น ข้าวกล้อง ว่ามีความแตกต่างจากข้าวขาวหรือข้าวที่ผ่านการขัดสีมาแล้วอย่างไร

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #1

ข้าวกล้อง เป็นข้าวที่เอาเปลือกออกแต่ในส่วนของจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) ยังอยู่ ซึ่งเป็นส่วนที่มีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน บี 1, บี 2, ธาตุเหล็ก, ใยอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจะมาดูกันว่า กินข้าวกล้องแตกต่างจากการกินข้าวขาวอย่างไร ดีต่อร่างกายอย่างไร โดยจะพิจารณาความสำคัญของค่า ๆ หนึ่ง คือ ค่า #GlycemicIndex (#GI) หรือดัชนีน้ำตาล โดยอาหารชนิดใดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะหมายถึง เมื่อบริโภคอาหารชนิดนั้นเข้าไป จะถูกย่อยและกลายสภาพเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดอย่างรวดเร็ว เพราะประกอบด้วย น้ำตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือด อีกทั้งยังทำให้อินซูลินจากตับอ่อนหลั่งออกมาอย่างรวดเร็วด้วย เมื่อน้ำตาลถูกอินซูลินพาเข้าไปในเซลล์อย่างรวดเร็วแล้ว อินซูลินที่หลั่งออกมามากและค้างอยู่ในกระแสเลือดก็กลับเกิดภาวะโหยน้ำตาล จึงทำให้ไม่สามารถเลิกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ๆ ได้ ซึ่งหากรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงเป็นประจำก็จะส่งผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเป็น #โรคเบาหวาน #โรคอ้วน #โรคหลอดเลือดสมอง #โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการสะสมไขมันที่มากขึ้น และนั่นจะทำให้คุณอ้วนขึ้น

แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลไม่สูง แต่ก็ควรทานแต่พอดี และ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

จะเห็นว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงมีผลต่อร่างกายเราอย่างมากถ้าบริโภคในปริมาณที่ไม่พอดี คราวนี้เราลองมาดูค่า GI ของข้าวชนิดต่าง ๆ และแหล่งคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ กัน ตัวอย่างเช่น น้ำตาลกลูโคส (ค่า GI =100), ข้าวขาวหอมมะลิ (ค่า GI = 100), ข้าวเหนียว (ค่า GI = 98), ข้าวกล้อง (ค่า GI =50), ขนมปังโฮลวีท (ค่า GI =53), วุ้นเส้น (ค่า GI =39)

คราวนี้เราลองมาดูรายงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษที่ชื่อว่า The British Medical Journal ในหัวข้อ การบริโภคข้าวขาวและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (White rice consumption and risk of type 2 diabetes meta-analysis and systematic review ) จะพบว่าการบริโภคข้าวที่ผ่านการขัดสีหรือข้าวขาว มีความเสี่ยงต่อโรค #เบาหวานชนิดที่2 โดยเฉพาะในชาวเอเชียที่มีการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งจากงานวิจัยทำให้เราต้องตระหนักแล้วว่าการเลือกรับประทานข้าวของเรา ในแต่ละมื้อเราควรเลือกให้ดีว่าคาร์โบไฮเดรทที่เรารับประทานไปนั้นเป็นชนิดใด แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลที่ไม่สูงมากแต่ก็ควรรับประทานแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #2

POW พาว จริน พอสไฟเบอร์

POW S JARIN POS FIBER จริน พอสไฟเบอร์ ไฟเบอร์ผสมเบอร์รี่รวม 7 ชนิด น้ำแอบเปิ้ลไซเดอร์ ผงบีทรูทเข้มข้น ผงกระบองเพชรลูกแพร์ และผงพลูคาว ไฟเบอร์ลดโซเดียม ลดบวม ดูแลรูปร่าง ประกอบด้วยโพรไบโอติกส์ พรีไบโอติกส์ และนวัตกรรมอนาคตโพสไบโอติกส์ ไม่มีน้ำตาล และไ...

ดูรายละเอียด

ทางเดินอาหาร

บทความน่ารู้

เห็ดหลินจือ และสรรพคุณ

เห็ดหลินจือ เป็นยาจีน (Chinese traditional medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่ส...

อ่านต่อ

ประโยชน์ของไฟเบอร์

ไฟเบอร์ หรือ ใยอาหาร เป็นที่ทราบกันดีว่าร่างกายจะได้รับไฟเบอร์จากการทานอาหารประเภทพืชผักผลไม้ และหลายคนจะทราบว่าไฟเบอร์มีประโยชน์ต่อการขับถ่าย กระตุ้นการทำงานของลำไส้ในการขับของเสียออกมา   อย่างไรก็ตามนอกจากไฟเบอร์จะมีประโยชน์ต่อการขับถ่าย...

อ่านต่อ

พาว ความภูมิใจของอาจารย์นักวิจัยไทย

กว่า 15 ปี ของความพยายาม และความหวังอันยิ่งใหญ่ของเกษตรกรไทย สู่ตลาดสากล ผลงานภายใต้โครงการวิจัย จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จํานวน 4 ฉบับ พลูคาวสกัดเข้มข้น จากงานวิจัย เป็นเอกสิทธิ์ 1 เดียวในประเทศไทย ทั้งใน กระบวนการผลิตในรูปแบบเครื่องดื่ม ผงบรรจุซอง...

อ่านต่อ

ความสุขที่ได้เห็นคนที่เรารักมีสุขภาพแข็งแรง

ความสุขที่ได้เห็นพ่อ-แม่ มีสุขภาพที่ดี มีรอยยิ้ม ใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข ได้ทำกิจกรรมที่ท่านชอบ และได้ออกไปเที่ยวกับเราในที่ต่างได้ แค่นี้ก็มีความสุขแล้วสมุนไพร ไร้สารพิษ อร่อย ทำให้อยากกินโดยไม่เบื่อดื่มพาววันละช็อต เพื่อสุขภาพ สอบถามข้อมูล...

อ่านต่อ

พาว การรับประทาน วิธีการเก็บรักษา

การรับประทานพาวมีลูกค้าหลายๆ ทานที่ซื้อพาวไป ได้สอบถามวิธีการรับประทานพาวมาหลายข้อความ วิธีทานพาว วิธีดื่มพาว มีข้อควรระวังอะไรบ้าง มีคำตอบดังนี้ครับ ควรเริ่มดื่มพาว วันละ 15ml. (ประมาณเกือบครึ่งแก้วตวง) หลังอาหาร มื้อใดก็ได้ ในกรณีมียาประจำที่ต้องท...

อ่านต่อ