โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #1

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน ประมาทไม่ได้ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไม่ได้มีเพียง ตา ไต และปลายเท้าเท่านั้น เรื่องหลอดเลือดหัวใจก็นิ่งนอนใจไม่ได้ เป็นที่เข้าใจกันมาโดยตลอดว่าโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นมักจะเกิดใน ผู้สูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันเรากลับพบโรคนี้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง ส่งผลให้โรคหลอดเลือดหัวใจกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้คนทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ทั้งนี้สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง คือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่ป่วยมานาน และมีการควบคุมโรคได้ไม่ดีพอ

ประมาทไม่ได้ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไม่ได้มีเพียง ตา ไต และปลายเท้าเท่านั้น เรื่องหลอดเลือดหัวใจก็นิ่งนอนใจไม่ได้

นพ.วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อ เบาหวาน และ Metabolism สนทนากับ Better Health ถึงความสำคัญของการป้องกันโรคหัวใจในฐานะที่เป็นโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานซึ่งนับวันจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยมากขึ้นทุกที

เบาหวานเสี่ยงหัวใจสูง

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #2

โรคเบาหวาน หมายความถึงภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงจนเป็นเหตุให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติไป และสร้างความเสียหายแก่ผนังหลอดเลือด

ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานาน และไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมได้ มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนปกติที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึงร้อยละ 50-80

ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่า แต่มีความรุนแรงกว่า เพราะการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดความผิดปกติและเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเพราะการอักเสบ หลอดเลือดตีบแคบลง หรือการที่หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น ประกอบกับการที่ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีก เช่น ความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินและการไม่ออกกำลังกาย ด้วยเหตุที่สภาพของหลอดเลือดเกิดความผิดปกตินี้เอง ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานจึงส่งผลกระทบร้ายแรงอย่างเงียบ ๆ ไปทั่วร่างกาย อาทิ เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต ปลายประสาทเสื่อม เกิดแผลโดยไม่รู้ตัว รวมทั้งภาวะที่หลอดเลือดอ่อนแอ แตกง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวาน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #3
ปัจจุบัน เราพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเทียบเท่ากับผู้ป่วยโรคหัวใจที่เคยผ่านภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดครั้งแรกไปแล้ว สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานนั้นก็มีความร้ายแรง ต้องอาศัยการดูแลอย่างต่อเนื่อง รู้จริง และเป็นระบบ รีบปรับตัวก่อนจะสาย
อย่างไรก็ตาม นพ. วราภณให้ความมั่นใจว่า อนาคตของผู้ป่วยเบาหวานไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยโรคหัวใจเสมอไป

แม้จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติหลายเท่า รวมทั้งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรตั้งแต่ 2-4 เท่า แต่หากผู้ป่วยเบาหวานดูแลตัวเองดี ๆ ด้วยการควบคุมปริมาณและชนิดของอาหาร ใช้ยาเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรค รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจ หรือมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน นพ. วราภณบอกวิธีง่าย ๆ ในการสังเกตตัวเองหรือคนในครอบครัว ดังนี้

  • คนในครอบครัว (บิดา มารดา พี่น้อง) เป็นโรคหัวใจก่อนวัยอันควร (ชาย อายุน้อยกว่า 55 ปี หญิง อายุน้อยกว่า 65 ปี)
  • เป็นโรคเบาหวานมานาน คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีมาตลอด 5 ปี
  • มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และภาวะอ้วนร่วมด้วย
  • อึดอัด เหนื่อย หายใจไม่ทัน หายใจไม่อิ่ม แต่อาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกที่ชัดเจน
  • สูบบุหรี่
  • มีภาวะเครียดเรื้อรัง

ตั้งใจดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย ระมัดระวังเรื่องอาหารไม่เครียด รักษาสุขภาพจิตใจให้ดี และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เช่นกัน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #4

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

พาวน้ำ ขวดเล็ก POW พาวเอสเซ้นส์ น้ำสมุนไพรพลูคาว

พาวน้ำขนาดใหม่  375 ml. พกพาสะดวกพาวน้ำ หรือ พาวซุยยากุเอสเซ้นส์ พาวขวดเล็ก พกพาสะดวก และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทดลองทาน อัดแน่นด้วยส่วนผสมสมุนไพรที่มีประโยชน์เหมือนเดิม ประกอบด้วยสมุนไพรทั้งหมด 11 ชนิด ได้แก่ พลูคาว ใบมะรุม ลูกยอ กระชายดำ ตังกุย เห...

ดูรายละเอียด

ความดันโลหิต คอเรสเตอรอล

บทความน่ารู้

แช่บ่อน้ำร้อน ดีต่อนักวิ่ง

การแช่บ่อน้ำร้อน หรือ ออนเซ็น เมื่อฝ่าด่านความรู้สึกประหนึ่งอยู่ในหม้อต้มไข่ไปได้ ความสบายอย่างหาที่สุดมิได้ก็จะเกิดขึ้นตามมา ความจริงแล้วน้ำอุ่น หรือน้ำอุ่นที่ค่อนไปทางร้อนนี้มีประโยชน์ต่อนักวิ่งหลายประการมากทีเดียวหากเป็นไปได้ การแช่ออนเซ็น หรือบ่อ...

อ่านต่อ

คุมอาหาร แต่ไม่ออกกำลังกาย

มันเป็นอย่างไร จะได้ผลมากน้อยเพียงใด หากเราเป็นคนไม่ชอบออกกำลังกาย ข้อดีของการออกกำลังกาย ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อผู้ออกกำลังกาย ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ระบบภูมิคุ้มกัน ความแข็งรองของข้อต่อ กล้ามเนื้อ ระบบประสาทต่างๆ เรียกได้ว่า ออกกำลังกายคร...

อ่านต่อ

ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ชนิดของไขมันในเลือด ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์&n...

อ่านต่อ

กระเทียม สกัดเย็น สกัดร้อน แตกต่างกันอย่างไร

กระเทียมสกัดในท้องตลาดนั้น หลายท่านจะสังเกตเห็นว่ามีอยู่ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือสกัดเย็น และสกัดร้อน ซึ่งทั้งสองแบบต่างก็มาจากกระเทียมเช่นเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันที่กระบวนการสกัด และผลผลิตสุดท้ายสกัดเย็น – ผลผลิตที่ได้จะอยู่ในรูปน้ำมันใส สกัดร้อน – ผลผ...

อ่านต่อ

ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น แนะนำให้ทาน เพื่อลดน้ำตาลในเลือด

ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินมากขึ้นเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นไขมันและนำไปสะสมไว้ในร่างกาย หากชอบทานอาหารที่มีรสหวานและทานในปริมาณมากบ่อยๆ ก็จะทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินผิดปกติและนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน นอกจากนี้หากระด...

อ่านต่อ