ความเชื่อผิดๆ โรคเบาหวาน

<strong>ความเชื่อ</strong>ผิดๆ <strong>โรคเบาหวาน</strong> #1

ความเชื่อ: รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงทำให้เป็นเบาหวาน

ความจริง: โรคเบาหวานมี 2 ชนิดคือ เบาหวานประเภทที่ 1 (Diabetes Type1) เกิดจากสาเหตุพันธุกรรมและยังไม่ทราบปัจจัยแน่ชัดทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ เบาหวานประเภทที่ 2 (Diabetes Type2) เกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต มีผลให้การสร้างอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือร่างกายดื้อต่ออินซูลิน  การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นเวลานานก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เป็นเบาหวานได้  หากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพียงพอ นอกจากนี้อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมีผลต่อการออกฤทธิของอินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีก็ควรหลีกเลี่ยง

ความเชื่อ: เบาหวานเป็นโรคของคนแก่

ความจริง: โรคเบาหวานสามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงอายุ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคเบาหวาน   เบาหวานประเภทที่ 1 ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็ก หรือคนอายุน้อย ส่วนเบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่มักเกิดในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบคนเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 อายุน้อยลง

ความเชื่อ: คนที่เป็นเบาหวานจะรู้ตัวหากมีน้ำตาลในเลือดต่ำ

ความจริง: อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ตัวเย็น เหงื่อออก อาการใจสั่น หัวใจเต้นแรง ปากแห้ง ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการเมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ อาการแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน จึงควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อมีอาการหรือสงสัยว่ามีน้ำตาลในเลือดต่ำ และรีบแก้ไขทันที เพราะภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลให้เกิดภาวะช็อค หรือเสียชีวิตได้

ความเชื่อ: เบาหวานเป็นโรคไม่น่ากลัว ใครๆก็เป็นกัน

ความจริง: เบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยปีละประมาณ 20,000 คน นอกจากนี้เบาหวานเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และพบว่าคนที่เป็นโรคหัวใจและเป็นเบาหวานร่วมด้วย มีความเสี่ยงเกิดอาการหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมากกว่าเกือบสองเท่าของคนที่ไม่เป็นเบาหวานร่วมด้วย นอกจากนี้ หากการควบคุมเบาหวานไม่ดี ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่นตาบอด ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ เซลล์ประสาทถูกทำลาย

ความเชื่อ: เป็นเบาหวานห้ามกินขนมหวาน หรืออาหารที่มีความหวาน

ความจริง: เพราะภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นผลให้เกิดเบาหวาน คนส่วนใหญ่จึงคิดว่าควรงดอาหารที่มีความหวาน หรือมีน้ำตาล แต่อย่างไรก็ตาม หากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ร่วมกับการออกกำลังกาย การรับประทานผลไม้ หรือขนมหวานก็ยังสามารถรับประทานได้แต่ไม่ควรมากเกินไป

ความเชื่อ: เป็นเบาหวานห้ามให้เลือด

ความจริง: เป็นเบาหวานสามารถให้เลือดได้ ถ้าการควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ผู้รับบริจาคโลหิตอีกครั้ง

ความเชื่อ: เบาหวานเป็นโรคของคนอ้วน

ความจริง: ไม่ว่าคนอ้วนหรือคนผอมก็สามารถเป็นเบาหวานได้ เพราะเบาหวานเกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากพันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารมีแคลอรี่สูง น้ำตาลสูง และไม่ออกกำลังกาย ความเครียด นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้สามารถส่งผลให้เกิดเบาหวานได้แต่พบว่าคนอ้วนเป็นเบาหวานมากกว่า เนื่องจากพฤติกรรมการกิน และการวิจัยพบว่าในคนอ้วนส่วนใหญ่ระดับการผลิตอินซูลินปกติ หรือมากกว่าปกติ แต่เซลล์ในร่างกายมีผลดื้อต่ออินซูลิน

ความเชื่อ: ในครอบครัวไม่มีใครเป็นโรคเบาหวาน เพราะฉนั้นเราจะไม่เป็นเบาหวาน

ความจริง: ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดเบาหวานประเภทที่ 2 ถึงแม้ว่าไม่มีคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน แต่เราก็สามารถเป็นได้หากใช้พฤติกรรมไม่เหมาะสม

ความเชื่อ: ถ้าเป็นเบาหวานต้องฉีดอินซูลิน แสดงว่าอาการแย่แล้ว

ความจริง: การรักษาโรคเบาหวาน มีเป้าหมายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน กรณีที่ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ใช้ยารับประทานแล้วยังไม่สามรถคุมระดับน้ำตาลได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วย

ความเชื่อ: เป็นเบาหวานต้องรักษาด้วยอินซูลิน

ความจริง: การรักษาเบาหวานประเภทที่ 2 สามารถป้องกัน ควบคุมโรคได้ด้วย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสัดส่วน การออกกำลังกาย และรับประทานยาร่วมด้วยแต่หากยังไม่สามรถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ จึงมีการใช้อินซูลินร่วมด้วย  ส่วนเบาหวานประเภทที่ 1 เนื่องจากสาเหตุของพันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกัน มีผลให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ จึงต้องรักษาโดยการให้อินซูลินเป็นหลัก

Credit : โรงพยาบาลกรุงเทพ

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ&...

ดูรายละเอียด

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

บทความน่ารู้

ดื่มน้ำให้มากขึ้น ทำง่ายๆ

น้ำมีประโยชน์ต่อชีวิตคนเราอย่างยิ่ง ทั้งนี้ 4 ใน 5 ของน้ำหนักมนุษย์ประกอบไปด้วยน้ำ เราอาจอยู่โดยขาดอาหารได้นานกว่าการอยู่โดยขาดน้ำ  ประโยชน์ของน้ำที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ทำให้ผิวพรรณผ่องใส ไม่แห้งกร้าน ดวงตาสดใสไม่ขุ่นมัว ทำให้ดูเปล่งปลั่งอ่อนกว่าว...

อ่านต่อ

V herb คืออะไร

V herb  คือการผสมผสานส่วนผสมสารสกัด 5 ชนิด ได้แก่ พลูคาว สไปรูลิน่า กระชายขาว เบต้ากูลแคนจากยีสต์ และมะขามป้อม กลไกการทำงานของสมุนไพรแต่ละชนิดคือ สไปรูลิน่าเปิดเปลือกเยื่อหุ้มของไวรัสประเภทมีหนาม เพื่อให้สารสกัดพลูคาวและสารสกัดกระชายทำหน้าที่ต้...

อ่านต่อ

เบต้ากูลแคนจากยีสต์ มีดีอย่างไร

เบต้ากูลแคนจากยีสต์ จะพบได้ในเห็ด ยีสต์สุรา และยีสต์ขนมปัง หรือพูดง่ายๆก็คือ ยีสต์เบต้ากูลแคน เป็นเบต้ากูลแคนที่สกัดจากยีสต์นั่นเอง  มีผลการศึกษาจากหลายชิ้นงาน พบว่า ยีสต์เบต้ากลูแคน มีประสิทธิภาพช่วยฟื้นฟูการทำงานของภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้ และม...

อ่านต่อ

มะเร็งสมอง คือ

กรมการแพทย์ แนะวิธีสังเกตสัญญาณเตือน มะเร็งสมอง โรคจากเนื้องอกชนิดเนื้อร้าย ที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ อาจเกิดเริ่มต้นจากเนื้อสมอง หรือเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นแล้วกระจายเข้าสู่สมอง แนะหากมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท ควรพบแพทย์เพื่อรักษาทันที ...

อ่านต่อ

ช่วยร่างกายลดการอักเสบ ได้ไม่ยาก

การอักเสบ (Inflammation)  จัดเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค หรือสิ่งที่จะทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับบาดเจ็บ ผลของการอักเสบจะทำให้ร่างกายกำจัดสิ่งเหล่านั้นออกไปรวมทั้งมีการซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหาย  อย่างไร...

อ่านต่อ