ติดโควิด อยู่บ้านรอเตียง จะทำยังงัยดี

<strong>ติดโควิด</strong> อยู่บ้าน<strong>รอเตียง</strong> จะทำยังงัยดี #1

หากท่านติดโควิด แล้วไม่มีอาการอะไร เป็นเหมือนไข้หวัดธรรมดา ก็ไม่น่าห่วงเท่าไหร่ แต่จะมีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งที่เชื้อลงปอด แล้วทำให้เกิดปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม อันนี้เริ่มน่าเป็นห่วง เพราะจะรบกวนการแลกเปลี่ยนก๊าซซึ่งเป็นหน้าที่หลักของปอด หากเป็นมากระดับหนึ่งจะทำให้ระดับออกซิเจนเลือดลดลง และจะลดลงมากยิ่งขึ้นหากการติดเชื้อลุกลาม ภาวะปอดบวมนี้จะทำให้ปอดขยายตัวยาก คือ หายใจเข้าได้น้อยลง เป็นมากรุนแรงขึ้น ยิ่งหายใจเข้าได้น้อย ระดับออกซิเจนในเลือดของท่านจะยิ่งต่ำลง แต่อวัยวะต่างๆในร่างกายของท่านยังต้องการพลังงานซึ่งต้องอาศัยออกซิเจนในปริมาณเท่าเดิม เมื่อปอดทำงานแย่ลง มันจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นหน้าที่ของท่านที่ต้องปฏิบัติตัว รอหมอ รอเตียง คือพยายามประคับประคองการทำงานของปอดให้สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่เลือดในระดับที่เพียงพอ และ ลดระดับการใช้พลังงานของร่างกายลง โดยให้ปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

ลดระดับการใช้พลังงานของร่างกายลง

เมื่อเราติดเชื้อ เราจะมีไข้ ไข้จะสูงจะต่ำอยู่ที่การตอบสนองของร่างกายเรา หากมีไข้ ต้องลดไข้ก่อน เพราะยิ่งไข้สูงระดับการใช้พลังงานของร่างกายจะสูงขึ้น ยิ่งต้องการออกซิเจนมากขึ้น ในขณะที่ปอดเรากำลังแย่เราจะไม่ไหวแล้วจะผ่านมันไปไม่ได้ วิธีการลดอุณหภูมิร่างกายทำได้โดย

  • ทานยาลดไข้ ตามขนาดที่เหมาะสมกับตนเอง
  • เช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภูมิห้องบ่อยๆ ทำวนไปจนไข้ลด
  • เช็ดสวนทางกับแนวขน เพราะเราต้องการเปิดรูขุมขนให้ระบายความร้อน
  • ผ้าขนหนูควรซับน้ำได้ดี ไม่ต้องหมาดมาก
  • สามารถวางผ้าชุบน้ำโป๊ะไว้บริเวณที่ร้อนมากๆ เช่น หน้าผาก ซอกคอ รักแร้ แผ่นหลัง ขาหนี วางโป๊ะไว้จนบริเวณนั้นอุณหภูมิลดลง หรือผ้าอุ่นจะต้องเปลี่ยนไปซุบผ้าใหม่ 
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น (หากท่านไม่ใช่ผู้ป่วยนที่มีโรคประจำตัวจนต้องจำกัดปริมาณน้ำ เช่นผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจบางประเภท ซึ่งผู้ป่วยมักจะทราบอยู่แล้ว) เพื่อคงระดับสมดุลน้ำในร่างกาย ถ้าน้ำมันเกินเราก็จะขับออกมาทางปัสสาวะเอง
  • ลดการทำกิจกรรมลง ทำแค่กิจวัตรประจำวันที่จำเป็นในช่วงมีไข้เท่านั้น เพื่อลดระดับความต้องการพลังงานของร่างกายให้มากที่สุด แต่ไม่ใช่นอนเฉยๆทั้งวันนะครับ 
  • กิจกรรมใดที่ทำให้หัวใจท่านเต้นเร็วขึ้นมากแสดงว่าใช้พลังงานมากขึ้น 
  • จับชีพจรที่เส้นเลือกบริเวณข้อมือจะพอทราบว่าเต้นกี่ครั้งต่อนาที ถ้าช่วงที่ไข้ขึ้น หัวใจท่านอาจจะเต้นเร็วขึ้นเช่นกัน

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ

ไอ เจ็บคอ ไข้หวัด

อาการ เจ็บคอ ตัวร้อน ไอ จาม เป็นอาการของ "โรคหวัด" หรือ "ไข้หวัด" เป็นโรคเกิดจากเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนต้นส่งผลกระทบต่อจมูกและคอ อาการที่สำคัญของโรคมีทั้ง ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตัวร้อนมีไข้ โดยสาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจาก เชื้อหวัดซึ่งเป็นเชื้อไวรัส, ร...

อ่านต่อ

สินค้าอื่นๆ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 (โควิด-19) และแนวโน้มโรคระบาด อื่นๆ ในอนาคต ทำให้ผู้คนเกิดความวิตกกังวล แนวทางในการป้องกันการติดเชื้อ ก็อาจต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ขึ้น เช่น การใช้ช้อนกลางตักอาหารก็มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อจากการสัมผัสช้อนร...

อ่านต่อ

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ

ภูมิแพ้ ทางเดินหายใจ

โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เกิดจากปฏิกิริยาของร่างการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง  โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถส่งต่อทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น และสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่ที่สังเกตุได้ชัดคือ เด็ก...

อ่านต่อ