การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

<strong>การป้องกัน</strong><strong>เบาหวานขึ้นตา</strong> #1

การป้องกันทำได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ภาวะเบาหวานขึ้นตา และป้องกันอาการที่อาจรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งปฏิบัติได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. จัดการกับเบาหวานด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น
  2. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม หวาน และมีไขมันสูง
  3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
  4. ควบคุมน้ำหนักโดยให้มีค่าดัชนีมวลร่างกาย (BMI) อยู่ที่ระหว่าง 18.5-24.9
  5. ลดละเลิกการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
  6. รับประทานยารักษาเบาหวานตามกำหนดที่แพทย์สั่ง
  7. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยอาจต้องตรวจและบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดวันละหลายครั้งเพราะค่าอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดโดยเฉพาะเวลาป่วยหรือเครียด หรือสามารถตรวจสอบเองที่บ้านโดยค่าระดับน้ำตาลในเลือดตอนอดอาหารแบบคุมเข้มมากจะอยู่ที่ 70-110 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์(mg%) และไปคลินิกหรือสถานพยาบาลเพื่อหาค่าเฉลี่ยของช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นค่าที่จำเป็นสำหรับการควบคุมเบาหวาน โดยที่ค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) ของผู้ป่วยเบาหวานควรอยู่ที่ประมาณ 6.5 เปอร์เซ็นต์
  8. ควบคุมระดับความดันโลหิต สามารถตรวจได้ที่คลินิก สถานพยาบาล หรือซื้อเครื่องมาตรวจเองที่บ้านก็ได้เช่นกัน โดยที่ระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) หรือผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นตา ควรมีระดับความดันโลหิตต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท
  9. ควบคุมระดับไขมันในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานควรมีระดับไขมันในเลือดไม่เกินกว่าค่าปกติซึ่งสามารถตรวจได้ที่คลินิกหรือสถานพยาบาลทั่วไป
  10. สังเกตความเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น และควรไปพบแพทย์โดยด่วนหากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็นอย่างฉับพลัน เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ&...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

กรดอะมิโนที่จำเป็น 9 ชนิด

กรดอะมิโนจำเป็น ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ซึ่งจะได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น มี 9 ชนิด มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยแต่ละชนิดจะมีบทบาทหน้าที่ต่างกันไป  และการขาดกรดอะมิโนบางชนิดอาจทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง เกิดปัญหาด้านอารมรณ...

อ่านต่อ

คุมเบาหวานที่ดี คือคุมให้ดีตลอด

คุณหมอแนะนำวิธี การคุมเบาหวาน การทานอาหาร เพื่อคุมน้ำตาลเบาหวาน ควรทานอย่างไร ทานแบบไหน ที่จะคุมน้ำตาลให้ดีตลอดเป้าหมายของผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวาน และทานยารักษาอาการอยู่คือ ต้องการลดปริมาณยาที่ทานลง และคุมน้ำตาลได้ดี...

อ่านต่อ

โทษของ ออกกำลังกาย มากเกินไป

ร่างกายมีความผิดปกติ เจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรือหยุดการเจริญเติบโตรูปร่างภายนอกดูดี แต่ระบบร่างกายภายในกลับรวน เช่น ประจำเดือนขาด มาไม่สม่ำเสมอ อวัยวะภายในร่างกายทำงานมากผิดปกติในกรณีที่ทานโปรตีน หรือเวย์โปรตีนควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย หากไม่ควบคุม...

อ่านต่อ

ลำใส้ดี สุขภาพดี

เชื่อหรือไม่ว่าสุขภาพเราจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับลำไส้เป็นส่วนสำคัญ? ยิ่งลำไส้ของเรามีสุขภาพดีมากเท่าไหร่ ร่างกายเราก็ยิ่งมีสุขภาพดีตามไปด้วย เพราะลำไส้เป็นอวัยวะที่ใช้ในการดูดซึมสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ หากร่างกายได้รับสารอาหารที่มีส...

อ่านต่อ

ไม่ควรกินมื้อดึก

การกินอาหารตั้งแต่ช่วง 22.00 น.เป็นต้นไป ไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย หลายคนปฎิเสธไม่ได้เพราะ หน้าที่การงานแต่ละคนไม่เหมือนกันบางคนจำเป็นต้องกินดึกจริงๆ เพราะเป็นเวลาว่างของการทำงานช่วงกะดึก แต่สำหรับบางคนที่เวลาทำงานปกติ แต่กับติดกินมื้อดึกเกือบทุกวัน สาเห...

อ่านต่อ