ฟ้าทะลายโจร ช่วยผู้ป่วย COVID19 อาการดีขึ้น
เผยผลวิจัยฟ้าทะลายโจรกับผู้ป่วย COVID-19 ที่ระดับความรุนแรงน้อย ที่ได้รับการตรวจยืนยันการติดเชื้อภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีอาการ ทุกรายมีอาการดีขึ้น ตั้งแต่วันที่ 3 ของการได้รับสารสกัด เตรียมต่อยอดวิจัยในผู้ป่วยระยะที่ 2
วันนี้ (9 ธ.ค.2563) พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกล่าวว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ดำเนินการศึกษานำร่องผลของยาสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาดสูงต่อผู้ป่วยโรค COVID-19 หลังจากการวิจัยในหลอดทดลองพบมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ และยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์จากการติดเขื้อ COVID-19 จึงไม่แนะนำให้กินเพื่อการป้องกันโรค โดยที่ยังไม่มีอาการ
ผลการศึกษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่กินสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ป่วยทุกคนมีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 ของการได้รับสารสกัด
ขณะนี้ได้ขยายผลต่อยอดงานวิจัยในคน โดยร่วมโรงพยาบาลสมุทรปราการ ซึ่งดูแลผู้ป่วยจากนอกประ เทศในสถานที่ที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ผลการศึกษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่กินสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ป่วยทุกคนมีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 ของการได้รับสารสกัดเช่น หากแยกรายละเอียดอาการ จะพบว่าอาการไอ เจ็บคอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ มีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียง ค่าการทำงานของตับและไต อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนผลลัพท์ด้าน Pro-inflammatory cytokines และสารชีวโมเลกุลอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เตรียมต่อยอดวิจัยระยะที่ 2 เพื่อยืนยันสารสำคัญ
พญ.อัมพร กล่าวว่า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกในผู้ป่วย COVID-19 ซึ่งได้รับการตรวจยืนยันการติดเชื้อภายใน 72 ชั่วโมง หลังเริ่มเกิดอาการแสดง การศึกษานี้เป็นการศึกษาผลเบื้องต้นถึงความปลอดภัยและขนาดที่เหมาะสมในการใช้ยา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีต่างๆ ในเลือด เอนไซม์ที่เกี่ยวกับการป้องกันการอักเสบและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงเตรียมขยายการวิจัยต่อในคนระยะที่ 2 ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เพื่อยืนยันปริมาณสารสำคัญต่างๆ ที่จะพบในร่างกายเมื่อใช้สารสกัดขนาดสูงให้เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
POW Zukar Q พาวซูการ์คิว
กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคห...
ดูรายละเอียดสุขภาพชาย
อากาศเปลี่ยนแปลง สาเหตุหนึ่งของการไอ
อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน หนึ่งในสาเหตุของการไอ ให้พาวเมาท์สเปรย์เป็นตัวช่วยบรรเทาอาการไอนะครับช่วยลดการสะสมของเชื้อเเบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุเเละกลิ่นในช่องปากได้ถึง 99%อ้างอิง โครงการการทดสอบประสิทธิภาพเเละความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สเปรย์ระงับกลิ่...
อ่านต่อจุลินทรีย์ ที่อยู่ในร่างกาย ของเรา
Akkermansia จุลินทรีย์รักษาสมดุลภูมิคุ้มกันจุลินทรีย์พระเอกของสุขภาพร่างกายเรา ทำหน้าที่ผลิตกรดไขมันสายสั้น (short chain fatty acid) ที่ช่วยเสริมทัพความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้แก่ กรดแอซิติก กรดโพรพิโอนิก และกรดบิวทิริก แถมยังช่วยป้องกัน...
อ่านต่อโรคพาร์กินสัน คือ
โรคพาร์กินสัน เกิดจากความเสื่อมของสมองอย่างช้า ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ทำให้สารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ในสมองลดลง จากนั้นก่อให้เกิดอาการของโรคตามมา โรคพาร์กินสันความจริงแล้วเริ่มที่ไหน ยังไม่มีใครทราบอย่างแท้จริง แต่ข้อมูลของการศึกษาในปัจจุบัน...
อ่านต่อเบต้ากูลแคน คืออะไร
เบต้ากลูแคน เป็นสารอาหารมากประโยชน์ที่จำเป็นต่อร่างกาย อาจไม่ใช่ชื่อเรียกที่คุ้นหูใครหลายคน แต่จริง ๆ แล้ว เบต้ากลูแคนเป็นสารอาหารประเภทใยอาหารชนิดละลายน้ำที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพไม่น้อยเลย โดยเฉพาะกับการสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านทานต่อโรค ชะล...
อ่านต่อร่างกายขาดโปรตีน จะเป็นอย่างไร
โปรตีน แหล่งอาหารสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากต่อร่างกาย เพราะว่าภายในร่างกายเรากว่า 75% เป็นโปรตีน ซึ่งร่างกายของเราไม่สามารถเก็บสะสมโปรตีนเอาไว้ได้ ในแต่ละวันจะมีการสลายโปรตีนและขับออกทุกวัน จึงทำให้ร่างกายต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอทุกวัน เพราะห...
อ่านต่อ