โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส หรือโรคพุ่มพวงไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยในประเทศไทย รวมถึงต่างประเทศ คนดังหลายคนป่วยเป็นโรคนี้ ทั้งนักร้องพุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่ทำให้คนไทยรู้จักกับโรคนี้ 

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส หรือโรคพุ่มพวง  เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายมีความผิดปกติ โดยภูมิคุ้มกันจะต่อต้านและทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ จนเกิดเป็นอาการอักเสบเรื้อรังในบริเวณนั้น

โรค<strong>แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง</strong> <strong>SLE</strong> ลูปัส #2

อาการของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

อาการจะเป็นๆหายๆและมีหลากหลายอาการขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดความผิดปกติจนมีอาการอักเสบในระยะแรก ไปจนถึงระยะเรื้อรังที่อาจเริ่มเกี่ยวพันกับอวัยวะส่วนอื่นๆ

1. ผื่นบริเวณใบหน้าช่วงตรงกลาง และโหนกแก้มทั้งสองข้างและมีการกระจายเป็นรูปผีเสื้อ และอาจมีอาการผมร่วงด้วย

2. ผื่นผิวหนังชนิดที่เรียกว่าผื่นดีสคอยด์ พบได้บ่อยบริเวณใบหน้า ใบหู ลำตัว และแขนขา

3. อาการแพ้แดด โดยมีผื่นผิวหนังแดงอย่างรุนแรงเมื่อโดนแดด

4. เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ มีแผลในปาก

5. ข้ออักเสบ ปวดกล้มเนื้อ อาจไม่มีอาการบวมแดง แต่ปวดได้ทุกส่วนที่มีข้อ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว

6. อาการทางไต ความดันโลหิตสูง ไตอักเสบโดยปริมาณโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่าปกติ

7. อาการชักหรืออาการทางระบบประสาทอื่นๆ มีอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ แขนขาอ่อนแรง ไม่มีสมาธิ เครียด นอนไม่หลับ ซึมเศร้า วิตกกังวล มีปัญหาในการจำ สับสน เห็นภาพหลอน โดยอาจเป็นผลข้างเคียงมาจากอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีกทีได้

8. อาการทางปอด เช่น เจ็บหน้าอก ไอ เยื่อหุ้มปอดหรือหัวใจหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

9. อาการซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ หรือเกล็ดเลือดต่ำ (ที่ไม่ได้เกิดจากยาหรือการติดเชื้อ)หลอดเลือดอักเสบ อาจจะพบเป็นจุดแดงๆ เล็กๆ ทั่วตัวคล้ายไข้เลือดออก

10. ตรวจพบแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดีในเลือด

11. ตรวจพบแอนติบอดีต่อดีเอ็นเอ หรือการตรวจพบแอนติฟอสโฟไลปิดแอนติบอดี

โรค<strong>แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง</strong> <strong>SLE</strong> ลูปัส #3

หากพบความผิดปกติ 4 ใน 11 ข้อ ควรได้รับการตรวจและรักษาที่ถูกต้อง เพราะโรคนี้มีอาการแสดงที่หลากหลายและมีความรุนแรงแตกต่างกัน การดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกันไปด้วย และแม้ว่าจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติ หากปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

สุขภาพการนอน การขับถ่าย ใครว่าไม่สำคัญ

นอนหลับยาก อ่อนเพลีย หรือขับถ่ายไม่ดี ไม่รู้จะแก้ยังไง? เปิดใจ...ลองทานพาว พาวเอสเซนส์ นวัตกรรมใหม่ของสมุนไพรไทย ยกระดับสมุนไพรไทยสู่สากล ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่มี 4งานวิจัย 2อนุสิทธิบัตร และได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยในปี2561 พาวเ...

อ่านต่อ

ห้ามกิน ฟาวิพิราเวียร์ คู่กับ ฟ้าทะลายโจร

เตือนผู้ป่วยโควิด‼ ห้ามกิน ฟาวิพิราเวียร์ คู่กับ ฟ้าทะลายโจร เสี่ยงเป็นพิษต่อตับคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี เผย ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ปัจจุบันเป็นยาหลักในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19 ตามแนวทางการดูแลรักษาโควิด 19 โดยกรมการแพทย์ เนื่องจากมีประ...

อ่านต่อ

ทำไม ไม่ควร วิ่งตอนกลางคืน

นอกจากเหตุผลด้านความปลอดภัยแล้วการวิ่งตอนกลางคืน หรือ ใกล้ช่วงเวลาเข้านอนก็ยังส่งผลเสียด้วยเช่นกัน เคยมีผลการศึกษาที่ชี้ว่าเราสามารถออกกำลังกายตอนเย็นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเลยล่ะ แต่เราไม่ควรออกกำลังกายในช่วงเวลาก่อนนอนอย่างน้อย ๆ ก็หนึ่งชั่วโมง เนื่...

อ่านต่อ

โปรตีน เปลี่ยน ชีวิต

หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่อยากมีสุขภาพและรูปร่างที่ดี แต่คุณไม่มีเวลาเข้าครัว ทำอาหารไม่เป็น อยากดูแลตัวเอง แต่ไม่ชอบยุ่งยาก พาวเดลี่ซองนี้ตอบโจทย์ทุกอย่าง เพราะอร่อย ทานง่าย ทานที่ไหน เวลาไหนก็ได้ เหมือนได้ทานข้าวมื้อใหญ่ แต่ใช้เวลานิดเดียว สารอาหารครบ ...

อ่านต่อ

เบต้ากูลแคนจากยีสต์ มีดีอย่างไร

เบต้ากูลแคนจากยีสต์ จะพบได้ในเห็ด ยีสต์สุรา และยีสต์ขนมปัง หรือพูดง่ายๆก็คือ ยีสต์เบต้ากูลแคน เป็นเบต้ากูลแคนที่สกัดจากยีสต์นั่นเอง  มีผลการศึกษาจากหลายชิ้นงาน พบว่า ยีสต์เบต้ากลูแคน มีประสิทธิภาพช่วยฟื้นฟูการทำงานของภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้ และม...

อ่านต่อ