ไขข้อข้องใจ สร้างภูมิสู้ไวรัส

กระแสที่เกิดขึ้นตอนนี้ หลายคนตื่นตระหนกและหวาดกลัว ไปจนถึงหวั่นใจ กับคำถามมากมายว่าเชื้อโรคและไวรัสน่ากลัวแค่ไหน ภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันสำคัญแค่ไหน และจะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไร มาไขข้อข้องใจเรื่องไวรัสกับภูมิต้านทานในร่างกายของเรากับ นพ.สุชาติ เลาบริพัตร แพทย์เฉพาะทางด้านระบาดวิทยา และ ผศ.ดร. เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ที่ตอบทุกข้อสงสัยให้เราเข้าใจเรื่องการสร้างภูมิสู้ไวรัส จะได้รู้ทันและป้องกันตัวเองจากโรคระบาดได้ดีขึ้น

การที่คนเราจะป่วยหรือติดโรคมีอยู่ 2 ปัจจัย คือปริมาณเชื้อไวรัสที่เข้ามามีมากน้อยแค่ไหน และภูมิต้านทานของเราสามารถต่อสู้กับไวรัสได้ไหม ถ้าเชื้อเข้ามาในปริมาณมากแต่ภูมิต้านทานน้อย ร่างกายสู้ไม่ได้ ก็ป่วย ตรงกันข้าม ถ้าเชื้อเข้าสู่ร่างกายน้อยและภูมิต้านทานสูง เราก็สู้ชนะ

ไวรัสมีหลายประเภท สามารถเข้าสู่ร่างกายด้วยช่องทางที่แตกต่างกัน ทั้งทางผิวหนัง ทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ ซึ่งแต่ละช่องทางที่ไวรัสเข้าสู่ร่างกายของเราจะมีภูมิต้านทานคอยต่อสู้กับไวรัส

ภูมิต้านทานของร่างกายมีอยู่สองกลุ่มใหญ่ คือภูมิต้านทานทั่วไปซึ่งอยู่ในบริเวณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ เมื่อเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย ภูมิต้านทานเหล่านี้จะต่อสู้เหมือนทหารที่คอยป้องกันชายแดน แต่หากไวรัสบุกเข้ามาในปริมาณมาก ภูมิต้านทานกลุ่มนี้จะสู้ไม่ไหว ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่าภูมิต้านทานเฉพาะ ทำหน้าที่เหมือนหน่วยรบพิเศษ ที่สามารถสู้กับเชื้อไวรัสที่มีปริมาณมากหรือแข็งแกร่งได้

ปัจจัยต่างๆ ทั้งมลภาวะในอากาศ การรับประทานอาหารที่อาจจะมีสารตกค้าง สารพิษต่างๆ หรือแม้กระทั่งการนอนหลับไม่เพียงพอ การไม่ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ส่งผลให้เรามีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและเกิดโรคได้

กลุ่มแรกก็คือกลุ่มคนสูงอายุ อีกกลุ่มคือคนที่มีโรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง กลุ่มคนเหล่านี้ภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถทำลายเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากๆ ได้ เมื่อทำลายได้ไม่หมดไวรัสก็เจริญเติบโต และทำให้เกิดโรคได้ง่าย

ต้องเคร่งครัดดูแลสุขภาพ รับประทานผักผลไม้หรืออาหารเสริม เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่าวิตามินดี วิตามินซี และกลุ่มแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ได้จากผัก ผลไม้ และอาหารเสริม จะสามารถต่อต้านเชื้อไวรัสได้

POW พาวแคปซูล พาวเฮอร์เบิลแคปซูล

พาวแคปซูล สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานแบบน้ำ ไม่ชอบกลิ่นและรสชาติของสมุนไพร ต้องเดินทางบ่อยพกพาวชนิดน้ำไปทานไม่สะดวก พาวแคปซูล จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพสมุนไพรในพาวเฮอร์เบิลแคปซูล มี 12 ชนิด ประกอบไปด้วย พลูคาว  เบต้ากูลแค...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

เตรียมพร้อมสู้ไวรัสตัวร้าย

เตรียมพร้อมสู้กับไวรัสตัวร้ายได้อย่างไร เพราะการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่เมื่อไวรัสร้ายในยุค 2020 ระบาดหนักจะทำอย่างไรไม่ให้โรคภัยมากวนใจ นพ.สุชาติ เลาบริพัตร แพทย์เฉพาะทางด้านระบาดวิทยา มีคำตอบ รับรองว่าดูคลิปนี้แล้วจะรู้ว่า วิธีที่ดีที่สุดในก...

อ่านต่อ

อาการเคลิบเคลิ้ม ที่เกิดกับ นักวิ่งทางไกล

Runner’s High หรืออาการเคลิบเคลิ้มคล้ายๆกับอาการเมา ที่เกิดขึ้นกับนักวิ่งนั้น มักจะเจอเมื่อวิ่งต่อเนื่องยาวๆ เกิน 30 นาทีขึ้นไป แต่มักจะมาเต็มช่วงประมาณ 2 ชั่วโมงขึ้นไป ที่ถึงแม้ร่างกายจะอยู่ในสภาพที่ใช้งานมาหนัก แต่ความรู้สึกกลับเป็นความรีแล็กซ์ สง...

อ่านต่อ

จุลินทรีย์ ที่อยู่ในร่างกาย ของเรา

Akkermansia จุลินทรีย์รักษาสมดุลภูมิคุ้มกันจุลินทรีย์พระเอกของสุขภาพร่างกายเรา ทำหน้าที่ผลิตกรดไขมันสายสั้น (short chain fatty acid) ที่ช่วยเสริมทัพความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้แก่ กรดแอซิติก กรดโพรพิโอนิก และกรดบิวทิริก แถมยังช่วยป้องกัน...

อ่านต่อ

การเดินทางของ พาว ซุยยากุเอสเซนส์ สุขภาพดีสร้างได้ด้วยตัวเราเอง

อยากให้ดู อยากให้รู้ว่า สุขภาพดีสร้างได้ พาวน้ำ ขนาด 750ml. รับประทานได้ประมาณ 30 วัน ทำไมถึงต้องพิถีพิถัน ถึงใช้เวลา เพราะเรื่องสุขภาพคือชีวิต คือความสุข คือพลังใจ คือพลังกาย ให้เราพร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเองในทุกๆวันเพราะนี่คือ ชีวิตคนจริงๆ ปัญหาส...

อ่านต่อ

พลูคาว สมุนไพรพื้นถิ่นที่น่าจับตามอง

พลูคาว หนึ่งในสมุนไพรมาแรงช่วงนี้ต้องยกให้พลูคาว พืชท้องถิ่นที่กลายเป็นเทรนด์สุขภาพ เพราะสรรพคุณที่โดดเด่น หากสงสัยว่าทำไมทั่วโลกถึงจับตามองสมุนไพรพื้นบ้านอย่างพลูคาว ดร.อิศรพงษ์ พงษ์ศิริกุล ท่านอาจารย์ผู้ร่วมพัฒนาผลิตภัณท์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ...

อ่านต่อ