โรคพาร์กินสัน คือ

โรคพาร์กินสัน เกิดจากความเสื่อมของสมองอย่างช้า ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ทำให้สารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ในสมองลดลง จากนั้นก่อให้เกิดอาการของโรคตามมา โรคพาร์กินสันความจริงแล้วเริ่มที่ไหน ยังไม่มีใครทราบอย่างแท้จริง แต่ข้อมูลของการศึกษาในปัจจุบันได้บอกถึงการเสื่อมของระบบประสาทในโรคพาร์กินสันว่าอาจเริ่มจากระบบประสาทอัตโนมัติส่วนปลายที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ ซึ่งสามารถอธิบายอาการท้องผูกซึ่งเป็นหนึ่งในอาการเตือนได้ และการเสื่อมของระบบประสาทจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นมายังบริเวณก้านสมองส่วนล่างซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการนอนละเมอ จนกระทั่งการเสื่อมนั้นมาถึงก้านสมองส่วนบน ผู้ป่วยจะมีอาการสั่นและการเคลื่อนไหวช้าเกิดขึ้น กลุ่มที่เสี่ยงสำหรับโรคนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีประวัติครอบครัวของโรคพาร์กินสัน และการมีประวัติการใช้สารฆ่าแมลง

อาการของโรคพาร์กินสัน

แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มอาการหลัก คือ อาการทางการเคลื่อนไหวและอาการระบบอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว 

  1. อาการทางการเคลื่อนไหว ที่บุคคลทั่วไปพอทราบกันนั้นคืออาการสั่น แต่นอกจากอาการสั่นแล้วยังมีอาการอื่นอีก ได้แก่ เคลื่อนไหวช้า ร่างกายแข็งเกร็ง หลังค่อม เดินลำบากและล้มง่าย 
  2. อาการระบบอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวก็ถือว่าพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคนี้เช่นกัน เช่น ท้องผูก จมูกไม่ได้กลิ่น นอนละเมอ ซึมเศร้า หลงลืมหรืออาจถึงขั้นสมองเสื่อมได้หากเป็นโรคนี้มาเป็นเวลานาน ซึ่งอาการด้านนี้ก็ถือว่าเป็นอาการสำคัญที่ควรรู้ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้มาก

การรักษาโรคพาร์กินสัน

ในปัจจุบันเน้นรักษาตามอาการเป็นหลัก การรักษาถูกแบ่งออกเป็นการรักษาโดยใช้ยาและการรักษาโดยไม่ใช้ยา

  • การรักษาโดยใช้ยา จะเป็นการให้ยากลุ่มที่เพิ่มสารสื่อประสาทโดปามีนในสมอง 
  • การรักษาโดยไม่ใช้ยา แบ่งออกเป็น การผ่าตัดซึ่งมักจะทำเฉพาะในรายที่มีอาการมาก และการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู เช่น การทำกายภาพบำบัด หรือการทำอรรถบำบัด การออกกำลังกายบางประเภท เช่น รำไท้เก๊ก เต้นแทงโก้ เดินบนลู่วิ่ง และปั่นจักรยาน ก็ทำให้ความสามารถในด้านของการเคลื่อนไหว การทรงตัวและการเดินของผู้ป่วยดีขึ้นได้

โดยสรุปแล้วในปัจจุบันโรคพาร์กินสันถือเป็นโรคที่สำคัญและพบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ อาการของตัวโรคนั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก ดังนั้น การตระหนักรู้ถึงตัวโรคและการรักษาถือเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคนี้สามารถดูแลตนเองเบื้องต้นและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

ที่มา
MedPark Hospital
กรมสุขภาพจิต : ประชาชาติธรุกิจ 1พค.2562

Lu7 แอลยูเซเว่น

หากคุณมีน้ำตาลในเลือดสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ให้ลองสังเกตว่าเริ่มมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้แล้วหรือไม่แอลยูเซเว่น คืออะไร??แอลยูเซเว่น  คือ ส่วนผสมของสมุนไพรที่มีงานวิจัย และเป็นสมุนไพรธรรมชาติ ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ใส่ใจขั้นตอนการปลูก และ การเก็บ...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

ทำไมต้องเสริมโพรไบโอติกส์ ให้ร่างกาย

โพรไบโอติกส์ Probiotics จัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ normal flora ในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย  จุล...

อ่านต่อ

ชาเลือดมังกร กับประโยชน์ที่มากมาย

ชาเลือดมังกร เหตุที่เรียกชื่อนี้เนื่องจากสีสรรของน้ำชาสีแดงอันแปลกตาเวลาชงดื่ม  ชาเลือดมังกร เป็นพืชพื้นถิ่นของทางภาคเหนือ ปลูกบนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่น้อยกว่า 1,300 เมตร ซึ่งสีแดงในน้ำชาอุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ซึ่งเป็นเม...

อ่านต่อ

มะเร็งสมอง คือ

กรมการแพทย์ แนะวิธีสังเกตสัญญาณเตือน มะเร็งสมอง โรคจากเนื้องอกชนิดเนื้อร้าย ที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ อาจเกิดเริ่มต้นจากเนื้อสมอง หรือเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นแล้วกระจายเข้าสู่สมอง แนะหากมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท ควรพบแพทย์เพื่อรักษาทันที ...

อ่านต่อ

วัคซีนต้านโควิด19 ถามตอบ ข้อสงสัย ไขข้อกังวล ก่อนฉีดวัคซีนโควิด19

แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขเริ่มเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนและนัดวัน-เวลา การฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังมีข้อสงสัยและความกังวลต่าง ๆ จากคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละ...

อ่านต่อ

ไขข้อข้องใจ สร้างภูมิสู้ไวรัส

กระแสที่เกิดขึ้นตอนนี้ หลายคนตื่นตระหนกและหวาดกลัว ไปจนถึงหวั่นใจ กับคำถามมากมายว่าเชื้อโรคและไวรัสน่ากลัวแค่ไหน ภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันสำคัญแค่ไหน และจะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไร มาไขข้อข้องใจเรื่องไวรัสกับภูมิต้านทานในร่างกายของเรากับ นพ.ส...

อ่านต่อ