กลุ่มโรคไทรอยด์

กลุ่มโรค<strong>ไทรอยด์</strong> #1

5 กลุ่มของโรคต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์  คือต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งของร่างกาย อยู่บริเวณคอหน้าหน้า ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน โดยใช้ธาตุไอโอดีเป็นส่วนประกอบ จากนั้นจะปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนเหล่านี้มีหน้าที่กระตุ้นการเผาผลาญพลังานของเซลล์ทั่วร่างกาย และจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย เมื่อต่อมไทรอยด์ผิดปกติจะโตขึ้น และเห็นเป็นก้อน บางครั้งก็เป็นก้อนเดี่ยวๆ บางครั้งก็โตเป็นลักษณะหลายๆก้อนติดกัน แต่ที่สำคัญคือ ก้อนที่เกิดบนต่อมไทรอยด์จะขยับเคลื่อนขึ้น-ลง เวลาเรากลืนน้ำลาย

ระดับของฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากหรือน้อยเกินไป ลักษณะของต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ คือสัญญาณของโรคต่อมไทรอยด์ โรคของต่อมไทรอยด์มีหลายชนิด การรักษาก็แตกต่างกัน โดยทั่วไปเราจำแนกโรคของต่อมไทรอยด์ได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

1.ไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือเรียกอีกอย่างว่าไทรอยด์เป็นพิษ ร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ กระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายทำงานเร็วเกินไป การเผาผลาญเร็ว ผู้ที่เป็นไฮเปอร์ไทรอยด์มักมีอาการเหงื่ออกมาก น้ำหนักลด กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ ใจสั่น แขนขาอ่อนแรง นัยด์ตาโปน เป็นปื้นที่หน้าขา และต่อมไทรอยด์โต  รักษาได้ด้วยการรับประทานยา กลืนไอโอดีน หรือผ่าตัด

2.ไฮโปไทรอยด์ หรือเรียกอีกอย่างว่าไทรอยด์ต่ำ  ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ การทำงานของเซลล์ในร่างกายจึงเฉี่อยชา อาการที่พบได้คือ น้ำหนักเพิ่ม หนาว ง่วง เพลีย ผมร่วง ผิวแห้ง ความจำไม่ดี ซึมเศร้า หัวใจเต้นช้า เป็นตะคริวบ่อย ท้องผูก รอบตาบวม ตัวบวม หน้าบวม และต่อมไทรอยด์โร  การรักษาแพทย์จะให้รับประทานยาเพื่อรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์

3.ต่อมไทรอยด์อักเสบ ที่พบบ่อยจะมี 2 ชนิดคือ กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง  แบบกึ่งเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการเจ็บคอ อ่อนเพลีย เป็นไข้ เหนื่อยง่าย ต่อมไทรอยด์โตและรู้สึกเจ็บเมื่อกดบริเวณต่อมไทรอยด์   ส่วนชนิดเรื้อรังหรือฮาชิโมโต้ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ อาการคอโตแต่กดไม่เจ็บ และอาจยุบได้เอง สามารถตรวจได้จากแอนตี้บอดี้ในเลือด หากไม่ได้รับการรักษาปล่อยให้อักเสบต่อเนื่องต่อมไทรอยด์จะถูกทำลายและกลายเป็นไฮโปไทรอยด์หรือทรอยด์ต่ำได้

4.ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ โตแบบหลายก้อน และโตแบบก้อนเดียว ถ้าเป็นก้อนน้ำแพทย์อาจใช้วิธีดูดน้ำหรือเซลล์ก้อนเนื้อไปตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่  กรณีที่ไม่เป็นมะเร็งรักษาได้หลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัด การใช้ยาทำให้ก้อนมีขนาดเล็กลง ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม

5.มะเร็งต่อมไทรอยด์  ที่พบบ่อยมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบแพฟิลลารี และฟอลลิคูลาร์ และมักพบในหญิงมากกว่าชาย ในช่วงวัย 20-50 ปี อาการที่น่าสงสัยคือเป็นก้อนที่คอค่อนข้างแข็ง ไม่เจ็บ แต่หากปล่อยไว้นานก้อนอาจโตและไปเบียดอวัยวะข้างๆ ทำให้กลืนอาหารลำบาก  มะเร็วต่อมไทรอยด์มักจะกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง ตามด้วยปอดหรือกระดูก ซึ่งอาจใช้เวลานานนับ10ปี แต่ถ้าได้รับการวินิจฉัยเร็ว ส่วนใหญ่รักษาได้ 

กลุ่มโรค<strong>ไทรอยด์</strong> #2


ที่มา : รพ.เทพธารินทร์  , รพ.กรุงเทพพัทยา , รพ.ศิครินทร์

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

ไขข้อข้องใจ สร้างภูมิสู้ไวรัส

กระแสที่เกิดขึ้นตอนนี้ หลายคนตื่นตระหนกและหวาดกลัว ไปจนถึงหวั่นใจ กับคำถามมากมายว่าเชื้อโรคและไวรัสน่ากลัวแค่ไหน ภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันสำคัญแค่ไหน และจะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไร มาไขข้อข้องใจเรื่องไวรัสกับภูมิต้านทานในร่างกายของเรากับ นพ.ส...

อ่านต่อ

อาหารชะลอวัย ไม่แก่

เชื่อว่าใครๆก็ยังอยากดูดี ดูสดใส ไม่อยากร่วงโรยไปตามวัยกันทั้งนั้น 5 อาหารใกล้ตัว ที่มีสรรพคุณช่วยชะลอวัย รับรองได้ว่ารู้แล้วจะรีบเข้าครัวไปหามาด่วนๆ ไม่อยากแก่ แค่กินอาหารเหล่านี้ ก็ช่วยได้ กระเทียมมีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งเป็นแหล่งรวมสารต้านอน...

อ่านต่อ

ดูแลสุขภาพวัยทำงาน

คนทำงานมักจะเต็มที่กับชีวิต ถึงไหนถึงกัน ทำงานเต็มที่ เที่ยวเต็มเหนี่ยว นอนดึกตื่นเช้า พักผ่อนน้อย จนอาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันที่ควรจะแข็งแรงอ่อนแอลงได้อย่างไม่ทันตั้งตัว ถ้าหักโหมใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วง ต้องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไว้ก่อน จะได...

อ่านต่อ

ผักผลไม้และสมุนไพร ช่วยบำรุง ปอด

ปอด อวัยวะที่ใช้ในการหายใจ หน้าที่หลักของปอด คือ เปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย และเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบเลือดออกจากร่างกาย ในสภาวะการณ์ปัจจุบันทั้งมลพิษทางอากาศไม่ว่าจะเป็นควัน ฝุ่นละอองที่มากขึ้นๆทุกปี หรือสถานการณ์...

อ่านต่อ

กฎการนอนหลับ 90 นาที

คงมีหลายๆครั้งทั้งที่เรานอนเพียงพอ แต่ก็ตื่นมางัวเงีย ไม่สดชื่น หรือ บางวัน ที่นอนน้อย แค่จะพูดให้รู้เรื่องยังยากเลยหลับสบาย ตื่นมาสดชื่นไม่มึนหัว ด้วยกฎการนอนหลับ 90 นาทีในตอนที่เราหลับ สมองเราก็ยังทำงานอยู่ตลอด แต่ทำเป็นจังหวะ ทำให้เกิดจังหวะการนอน...

อ่านต่อ