ความสุกของกล้วย

กล้วยดิบ

เป็นกล้วยที่ยังโตไม่เต็มที่ ผลสีเขียว มีปริมาณแป้งเยอะ น้ำตาลน้อย เนื้อด้านในสีขาว แข็ง ให้รสฝาด ขม จากสารแทนนินที่มีความสามารถในการเคลือบและรักษา กระเพาะและลำไส้ได้ นิยมนำไปบดเป็นผงใช้ชงดื่ม นำไปประกอบอาหาร ย่อยค่อนข้างยาก ใครที่มีแก๊สในกระเพาะเยอะ ท้องอืด ควรหลีกเลี่ยงกล้วยดิบอาจส่งผลทำให้ท้องอืดเพิ่มเข้าไปอีก

กล้วยห่าม

เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง เนื้อด้านในเริ่มนิ่ม เนื้อสีอมเหลือง ปริมาณแป้งจากระยะกล้วยดิบเริ่มเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเล็กน้อย ยังคงมีกากใยที่สูงเหมาะกับคนควบคุมน้ำหนัก ให้รสชาติที่ฝาดปนหวานเล็กน้อย รับประทานทันทีแก้ท้องเสีย หรือนำไปแปรรูปเป็นกล้วยอบแห้ง

กล้วยสุก

เปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปริมาณแป้งแต่เดิมเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทั้งหมด จึงให้รสหวาน เนื้อนิ่มทานง่าย ย่อยง่ายระบบย่อยอาหารดูดซึมแร่ธาตุไปใช้ได้ง่าย มีสารเพ็กตินช่วยเพิ่มใยอาหารทำให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น แก้ท้องผูก ป้องกันโรคริดสีดวงทวารได้

กล้วยเริ่มงอม

เปลือกสีเหลืองเริ่มมีลายจุดสีคล้ำ ๆ เนื่องจากปริมาณแป้งในกล้วยเปลี่ยนเป็นน้ำตาลโดยสมบูรณ์ ยิ่งจุดน้ำตาลเพิ่มขึ้นยิ่งชี้ว่ากล้วยนั้นหวานขึ้น มันอาจจะดูไม่น่ามอง แต่กล้วยระยะนี้แหละหวานอร่อยมาก ทานง่าย เนื้อด้านในค่อนข้างนุ่มมาก มีรสหวานขึ้นจากระยะสุก มีตัวกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันขนาดเล็ก มีสารต้านอนุมูลอิสระ  วิตามินแร่ธาตุน้อยลงไปตามอายุ สามารถนำไปทำเป็นเค้กได้

กล้วยงอม

เปลือกด้านนอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเกือบทั้งหมด แป้งในกล้วยที่สะสมมาตั้งแต่ยังเป็นลูกสีเขียวอยู่เปลี่ยนเป็นน้ำตาลแทบจะร้อยเปอร์เซ็น และยังเป็นแหล่งสร้างสารต้านอนุมูลอิสระจากการแตกตัวของคลอโรฟิลล์  กล้วยระยะนี้เนื้อด้านในมีครีมออกไปทางเข้ม ๆ เนื้อนิ่มจนถึงเละ รสหวานนำ นิยมนำไปเป็นส่วนผสมของขนมปัง แพนเค้กกล้วย โดนไม่ต้องใส่น้ำตาลเพิ่มเพื่อชูรสความหวานเลย

ที่มา FB page : my home

POW พาวโปรตีน พาวอัพกาน่าโกโก้ POW Upz

POW UPZ พาวอัพ โปรตีนพาว โปรตีนจากพืช Multiplant Protein สำหรับสายออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ ลีน  สายลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน เพิ่มการเผาผลาญ อิ่มนาน ลดการอักเสบในร่างกาย ปราศจากน้ำตาล อร่อยและหอมด้วยโกโก้ นำเข้าจากประเทศกาน่า แหล่งวัตถุดิบคุณภาพดีที...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

วัคซีนต้านโควิด19 ถามตอบ ข้อสงสัย ไขข้อกังวล ก่อนฉีดวัคซีนโควิด19

แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขเริ่มเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนและนัดวัน-เวลา การฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังมีข้อสงสัยและความกังวลต่าง ๆ จากคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละ...

อ่านต่อ

โรคเชื้อราในลำไส้ คืออะไร

เชื้อราในลำไส้ ก็เช่นเดียวกับเชื้อราในผิวหนัง หรือเชื้อราที่ศรีษะ เพียงแค่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในโดยเฉพาะผิวลำไส้  ซึ่งในลำไส้จะประกอบไปด้วยเชื้อรา แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ที่ดี ซึ่งจะมีอยู่พึ่งพากันและสมดุลไม่มีตัวใดตัวหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป  เชื้อรา...

อ่านต่อ

เรื่องน่ารู้ ก่อนดื่มชา

ชา เป็นเครื่องดื่มยอดฮิตมานาน การดื่มชาในบางประเทศถือเป็นประเพณีอย่างในประเทศอังกฤษ จีน และญี่ปุ่น  ชา นอกจากเป็นการดื่มเพื่อแก้กระหาย ยังพบว่าสามารถช่วยเรื่องสุขภาพได้เช่นกัน มาพิจราณาดูว่าการชงชา ดื่มชาแบบไหนเพื่อให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด...

อ่านต่อ

พลูคาว สรรพคุณ และประโยชน์

พลูคาว ( Plu Kaow ) เป็น พืชสมุนไพรพื้นบ้านมีประโยชน์ สรรพคุณ ทางยามายาวนาน ทั้งใช้เป็นอาหารสมุนไพร เนื่องจากต้นและใบจะมีกลิ่นแรง ซึ่งนิยมนำใบมาเป็นผักเคียงใช้บริโภคสดกับอาหารประเภทลาบ น้ำพริก มีการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับพลูคาว และมีรายงาน...

อ่านต่อ

กระเทียม กับ โรคหลอดเลือดหัวใจ

ข้อมูลทางการแพทย์ปัจจุบันที่อ้างอิงข้อพิสูจน์ทั้งเก่าและใหม่ระบุว่า กระเทียมมีปฏิกิริยาต่อต้านการแข็งตัวของเลือด ทั้งนี้ ดร.ซาเล็ม อะหฺมัด และ ดร.เอริค บลูค จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาผู้ค้นพบสารอะโจอิน (Ajoene) ในกระเทียมซึ่งเป็นสารต่อต้านก...

อ่านต่อ