ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

Powderlar วิธีทาน

Powderlar วิธีทาน สุขภาพดีแค่ 3 stepฉีกซองพาวเดอร์ล่า 1 ซอง เทลงในแก้วที่แห้งเติมน้ำใส่แก้ว ประมาณ 30 ml. แนะนำควรเป็นน้ำเปล่าอุณหภูมิปกติจะช่วยให้ละลายง่ายขึ้นคนละลายให้เข้ากัน แล้วดื่มได้ทันที...

อ่านต่อ

ขิงมีประโยชน์

ขิงมีประโยชน์หลากหลายอย่างมากๆ วันนี้เลยจะพาทุกคนนำขิงไปประกอบอาหารกัน ขิงทำได้ทั้ง ต้ม ผัด แกง และ ทอด ในส่วนของคาวก็สามารถทำได้ทั้งกับข้าว และเครื่องเคียง ไม่ว่าจะเป็น ไก่ผัดขิง ด้วยความเผ็ดร้อนที่ออกมาจากตัวขิงทำให้เมนูนี้ครบรส และประโยชน์เพียบ ห...

อ่านต่อ

คุมเบาหวานที่ดี คือคุมให้ดีตลอด

คุณหมอแนะนำวิธี การคุมเบาหวาน การทานอาหาร เพื่อคุมน้ำตาลเบาหวาน ควรทานอย่างไร ทานแบบไหน ที่จะคุมน้ำตาลให้ดีตลอดเป้าหมายของผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวาน และทานยารักษาอาการอยู่คือ ต้องการลดปริมาณยาที่ทานลง และคุมน้ำตาลได้ดี...

อ่านต่อ

โปรตีนจากพืช ต่างจากเวย์โปรตีน หรือไม่

โปรตีนจากพืช ต่างจากเวย์โปรตีนอย่างไร?โปรตีนจากพืช คือโปรตีนที่ได้มาจาก พืช ผัก ผลไม้ เห็ดและธัญพืชชนิดต่างๆเวย์โปรตีน คือ โปรตีนรที่สกัดมาจากนมวัว หางนมโปรตีนจากพืชเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญสำหรับคนที่แพ้นมวัว ไข่ แพ้แลคโตส และต้องการเสริมโปรตีน ต้องก...

อ่านต่อ

ภาวะเบาหวานขึ้นตา

ภาวะเบาหวานขึ้นตาแบ่งเป็น 2 ระยะเบาหวานขึ้นตาระยะเริ่มแรกเบาหวานขึ้นตาระยะเริ่มแรก เป็นระยะที่ผนังของเส้นเลือดที่จอตาไม่แข็งแรง ส่งผลให้เส้นเลือดโป่งขึ้น อาจทำให้เลือดหรือของเหลวรั่วออกมาในจอตา และเส้นเลือดใหญ่ที่จอตาจะเริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้นผิดปกติ รวม...

อ่านต่อ