3 ข้อต้องรู้และทำความเข้าใจ ก่อนทานยาสมุนไพร

3 ข้อต้องรู้และทำความเข้าใจ ก่อนทาน<strong>ยาสมุนไพร</strong> #1

ทำความเข้าใจก่อนเริ่มทานสมุนไพร

สมุนไพรสามารถ ออกฤทธิ์แบบยาเคมีได้ (ออกฤทธิ์อย่างอ่อนๆ) และสามารถไปฟื้นฟูร่างกายได้ นั่นคือข้อแตกต่างและเป็นความวิเศษจากธรรมชาติ แต่ยาเคมี ส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์เพื่อระงับอาการขณะนั้นๆเช่น เมื่อเป็นไข้ก็กินยาพารา น้ำตาลสูงก็กินเมตฟอร์มิน ยูริคสูงก็กินคอลชิซิน เป็นต้น
วันนี้ขอเสนอความรู้เบื้องต้นที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึง แต่มีความสำคัญหากเราต้องการทานสมุนไพรให้เห็นผลค่ะ

ปริมาณที่ทาน

การใช้สมุนไพรเป็นยานั้น ปริมาณเป็นเรื่องที่สำคัญและละเอียดอ่อน เพราะระยะเวลาที่เป็นโรค อาการที่ป่วย น้ำหนัก ส่วนสูง ความสามารถของการดูดซึมสารอาหารแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน จึงต้องพิจารณาปริมาณการทานเป็นรายๆไป แต่จะมีปริมาณแนะนำเป็นพื้นฐาน และสามารถปรับขึ้นหรือลดลงได้ เพราะสมุนไพรถ้าหากใช้ในปริมาณขนาดที่ใช้ไม่เหมาะสม เช่นทานในปริมาณที่น้อยเกินไปก็อาจจะไม่เห็นผล หรือถ้าหากทานในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน 

ระยะเวลาในการทาน

สมุนไพรนั้นทำงานคนละแบบกับยาที่เป็นเคมี ดังนั้นผู้ใช้สมุนไพรจึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้ก่อน ประการแรกคือต้องใจเย็น เพราะไม่มีสมุนไพรใดที่ทานแล้วจะเห็นผลในการรักษาทันที ซึ่งการรักษาด้วยสมุนไพรจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา 1-3 เดือน ในการฟื้นตัว และจะเริ่มเห็นผลในการรักษาที่ 6 เดือนขึ้นไป

สารออกฤทธิ์สำคัญ 

การนำสมุนไพรมาใช้เป็นยา ยังต้องคำนึงถึงรายละเอียดอื่นๆ อีกด้วย เช่น ธรรมชาติของสมุนไพรแต่ละชนิด สายพันธุ์ สภาวะแวดล้อมในการปลูก ฤดูกาล และช่วงเวลาเก็บ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการออกฤทธิ์ในการรักษาโรค ซึ่งหากทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ คุณภาพของยาสมุนไพรนั้นๆ ก็จะด้อยประสิทธิภาพ


ทานอาหารให้เป็นยา แต่อย่าทานยาเป็นอาหารนะคะ

POW พาวโปรตีน พาวเดลี่ POW Daily

พาวเดลี่ POW Daily โปรตีนจากพืช Multi Plant Protein 5 ชนิด พาวโปรตีน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุง เสริมพลังงานให้เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกาย ใน 1 วัน  เด็กที่ไม่ทานผัก หรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ทานอาหารยาก ทานได้น้อย เบื่ออาหาร  หรือผู้ที่ออกกำลัง...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

อาร์ติโชค พืชเมืองหวาน บำรุงตับลดไขมัน

อาร์ติโชค (Artichoke) พืชเมืองหนาวทางยุโรปมีใบสีเขียวอ่อน ดอกใหญ่ มีกลีบซ้อนกันหลายชั้น ประโยชน์ต่อตับและลดไขมันคอเลสเตอรอล ในสมัยโบราณชาวกรีก อียิปต์ และโรมัน นำมาทำอาหารและยารักษาโรค นิยมนำดอกมาเด็ดที่ละกลีบและนำไปต้ม หรือปรุงอาหาร รสชาติมันๆ เหมื...

อ่านต่อ

เมนูสมุนไพร ต้านโควิด

เมนูแนะนำจากสมุนไพรไทย ที่หาได้ง่าย ทำง่ายสำหรับเพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านโรคCOVID-19เมี่ยงคำ  ประกอบด้วยส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส ได้แก่ มะนาวพร้อมเปลือก หอมแดง ขิง พริก และมีโปรตีนจากกุ้งแห้ง ต้มโคล้งเพิ่มภูมิต้านทานไวรัสด้วย เห...

อ่านต่อ

อาการเคลิบเคลิ้ม ที่เกิดกับ นักวิ่งทางไกล

Runner’s High หรืออาการเคลิบเคลิ้มคล้ายๆกับอาการเมา ที่เกิดขึ้นกับนักวิ่งนั้น มักจะเจอเมื่อวิ่งต่อเนื่องยาวๆ เกิน 30 นาทีขึ้นไป แต่มักจะมาเต็มช่วงประมาณ 2 ชั่วโมงขึ้นไป ที่ถึงแม้ร่างกายจะอยู่ในสภาพที่ใช้งานมาหนัก แต่ความรู้สึกกลับเป็นความรีแล็กซ์ สง...

อ่านต่อ

อาหารสำหรับ ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอลสูงหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อตรวจพบและทราบว่ามีไข...

อ่านต่อ

คุมลดน้ำหนัก ด้วยการทานโปรตีน

ตัวอย่างของการคุมน้ำหนักอย่างถูกวิธี ด้วยการสร้างกล้ามเนื้อแทนที่ไขมัน ด้วยการทานโปรตีนให้ถึงตามเกณฑ์ที่ร่างกายต้องการ ลดโดยไม่ต้องพยายามไม่อดอาหารออกกำลังกายน้อยมากมีแรงทำกิจกรรมต่างๆไม่ง่วง ไม่เพลียสูตร4อิ่มจาก พาวอัพอิ่มที่ 1 โปรตีน 21กรัม/ซอง...

อ่านต่อ