มนุษย์ถูกออกแบบมาให้วิ่ง มากกว่าเดิน

มนุษย์ถูกออกแบบมาให้วิ่ง มากกว่าเดิน และการวิ่งได้นานๆทำให้มนุษย์มีเนื้อกิน

มนุษย์ถูกออกแบบมาให้<strong>วิ่ง</strong> มากกว่าเดิน #1

เชื่อว่าหลายคนเข้าใจว่า การที่มนุษย์ล่าสัตว์ได้นั้น ก็เพราะเรามีสมองที่สามารถคิด ประดิษฐ์อาวุธได้ คือธนูและหอก สำหรับล่าสัตว์มาเป็นอาหาร เมื่อหลายล้านปีก่อน นั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอย่างมาก หากวิเคราะห์หลักฐานจากกระดูกของมนุษย์และสัตว์ จะพบว่า

มนุษย์เริ่มกินเนื้อสัตว์เมื่อ 2.6 ล้านปีที่ผ่านมา เห็นได้จากหลักฐานการทุบกระดูกสัตว์และใช้ขนสัตว์ ฯลฯ ในถ้ำที่อยู่อาศัย 

อาวุธชิ้นแรกของเรา คือไม้ปลายแหลมเมื่อ 500,000 ปีที่แล้ว ธนู / ลูกธนู เกิดขึ้นช่วง 100,000 ปีก่อน ตามมาด้วยมีหอก ในช่วง 20,000 ปีที่แล้ว

การที่เราออกวิ่งในทุกๆ วันนั้นไม่ต่างจากการฝึกร่างกาย ให้ร่างกายได้กลับสู่ความเป็นธรรมชาติ เหมือนที่ธรรมชาติสร้างมา เพราะว่ามนุษย์นั้น Born To Run 

คำถามคือ แล้วมนุษย์สามารถล่าและจับสัตว์ได้อย่างไร ในช่วง 2 ล้านปีก่อน ก่อนที่จะมีอาวุธชิ้นแรก ว่ากันตามตรง การกินเนื้อสัตว์นั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะโปรตีน ทำให้มนุษย์ฉลาดขึ้น แต่ก็ตามมาด้วยขนาดสมอง ที่ใหญ่ขึ้นด้วย อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจจะกำลังนึกว่า ความฉลาดจากการมีสมองใหญ่ ทำให้มนุษย์จับสัตว์ได้ 

แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ ดร. แดเนียล ลิเบอร์แมน นักมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อธิบายว่า เมื่อ 2.6 ล้านปีที่แล้ว การมีสมองขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้หัวใหญ่ นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังเป็นภาระอย่างมากอีกด้วย เพราะหัวขนาดใหญ่ทำให้คลอดยาก สมัยก่อน ผู้หญิงมีโอกาสเสียชีวิตจากการคลอดลูกร้อยละ 20-30 ดังนั้น ร่างกายจึงวิวัฒนาการ ให้รีบคลอดออกมาก่อนที่หัวจะใหญ่เกินไป แต่ก็ทำให้เด็ก เกิดมาแบบช่วยตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องเสียเวลาราว 10 ปี เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด

แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ ที่คลอดลูกออกมาแล้วลูกเดินได้ วิ่งได้ ในระยะเวลาไม่กี่วัน

มนุษย์ เริ่มล่าสัตว์ได้เมื่อ 2.6 ล้านปีที่แล้ว ไม่ใช่เพราะมีสมองขนาดใหญ่ แต่ล่าสัตว์ได้ เพราะวิ่งไล่ จนสัตว์ตาย 

มนุษย์นั้น สามารถวิ่งที่ความเร็วระดับ 9-10 กิโลเมตร/ชั่วโมง (Pace 6:00 - 6:40) ได้เป็นเวลานานติดต่อกัน 4-5 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น 

การทนวิ่ง วิ่งทน ทำให้มนุษย์สามารถร่วมมือกัน วิ่งไล่สัตว์ให้เหนื่อยจนขาดใจ และเสียชีวิตได้ในที่สุด (Persistence hunting)

แม้สัตว์หลายชนิดจะวิ่งได้เร็วกว่ามนุษย์ 2-3 เท่า แต่ไม่มีสัตว์ประเภทใด วิ่งได้ยาวนานเท่ามนุษย์ โดยเฉพาะในภาวะที่อากาศร้อน

เพราะร่างกายมนุษย์ สามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง จากเหงื่อที่ออกจากผิวหนังทั่วทั้งตัวและยังหายใจเร็วติดต่อกันได้นานหลายชั่วโมง 

ในขณะที่สัตว์อื่นๆ ร่างกายมีขน ระบายความร้อนด้วยเหงื่อไม่ได้ ต้องหายใจ และระบายความร้อน โดยการห้อยลิ้นออกมาหายใจแรงๆ (panting)

สัตว์ ไม่สามารถวิ่งเร็ว และหายใจไปพร้อมๆ กันได้ดีเท่ามนุษย์ สัตว์จะหายใจให้ลมเข้าปอดได้น้อยมากในช่วงที่วิ่งเร็ว และต้องหยุดวิ่ง พักเหนื่อย หายใจให้เต็มปอด

มนุษย์ถูกออกแบบมาให้<strong>วิ่ง</strong> มากกว่าเดิน #2

นอกจากนั้น ดร.ลิเบอร์แมนยังกล่าวถึงลักษณะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อ “วิ่ง” ไม่ใช่เพื่อเดิน เช่น

  • กล้ามที่ก้น (Gluteus Maximus) กล้ามมัดใหญ่และแข็งแรงที่สุดของมนุษย์ ที่เราไม่ต้องใช้งานเลย ขณะเดิน แต่จะถูกใช้งาน ขณะวิ่ง ก้นที่ยื่นออกมาข้างหลังของมนุษย์นั้น มีหน้าที่เหมือนหางของสัตว์ ช่วยให้ร่างกายมีเสถียรภาพขณะวิ่ง 
  • ขาที่ยาวและแข็งแรง รวมทั้งหัวเข่าและเอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon) ล้วนแต่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อการวิ่งทั้งสิ้นเพราะรวมกันแล้ว เป็นเสมือนสปริงมีประโยชน์มากในการเก็บเอาพลังงาน ไปใช้สำหรับวิ่ง แต่จะไม่ถูกใช้งานเวลาเดิน
  • ร่างกายมนุษย์ที่ยืน 2 ขานั้น ทำให้บางส่วนของร่างกายได้รับลมทำให้การระบายความร้อนด้วยเหงื่อทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อต้องวิ่งเวลานานๆ 
  • มีเอ็น nuchal ligament ที่หัว คอ และหัวไหล่ เพื่อช่วยให้หัวอยู่นิ่งระหว่างวิ่ง แทนที่จะแกว่งไปมา nuchal ligament ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เวลาเดิน 

กล่าวโดยสรุปคือ ร่างกายมนุษย์นั้น วิวัฒนาการมาเพื่อการวิ่งยาวๆ นานๆ เวลาอากาศอบอ้าว ทำให้ได้เปรียบสัตว์อื่นๆ ที่วิ่งเร็วกว่า มนุษย์จึงสามารถลาเนื้อมากินได้ ในช่วง 2.6 ล้านปีที่ผ่านมา

มนุษย์ถูกออกแบบมาให้<strong>วิ่ง</strong> มากกว่าเดิน #3

ชาขาว ชาขาวเข็มเงิน ห้วยน้ำกืน เวียงป่าเป้า เชียงราย

Baihao Yinzhen ไป๋หาวหยินเจิน ชาขาวเข็มเงิน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Silver Needle ด้วยลักษณะเหมือนเข็ม มีขนสีขาวประกายเงินปกคลุม จึงเรียกว่าเข็มเงิน ชาขาวเข็มเงิน ตราบ้านชาไทย ปลูกบนยอดเขาสูงไม่น้อยกว่า 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากไร่ชาบ้านห้วยน้ำก...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

พลูคาว สมุนไพรพื้นถิ่นที่น่าจับตามอง

พลูคาว หนึ่งในสมุนไพรมาแรงช่วงนี้ต้องยกให้พลูคาว พืชท้องถิ่นที่กลายเป็นเทรนด์สุขภาพ เพราะสรรพคุณที่โดดเด่น หากสงสัยว่าทำไมทั่วโลกถึงจับตามองสมุนไพรพื้นบ้านอย่างพลูคาว ดร.อิศรพงษ์ พงษ์ศิริกุล ท่านอาจารย์ผู้ร่วมพัฒนาผลิตภัณท์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ...

อ่านต่อ

กระชายดำ สรรพคุณ

กระชายดำ พืชสมุนไพรมีลักษณะเป็นหัว อยู่ในตระกูลเดียวกับขิง  มีเนื้อด้านในสีม่วงถึงดำเข้ม หากเรียกสมุนไพรตัวนี้ว่่า โสมไทย ก็คงจะได้ เนื่องจากสรรพคุณของกระชายดำที่ผ่านการค้นคว้าจากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ต่างก็ยืนยันว่า สารสกัดที่ได้จากกระชา...

อ่านต่อ

โปรตีนจากพืช ทางเลือกประโยชน์ต่อสุขภาพ

โปรตีนจากพืช (Plant based Protein) หนึ่งทางเลือกของสายสุขภาพในกลุ่มอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งในพืชนอกจากจะอุดมไปด้วยใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายแล้ว โปรตีนจากพืชยังนับเป็นแหล่งอาหารชั้นดีที่เหมาะสำหรับคนหลายกลุ่ม ทั้งผู้ที่ไม่บริ...

อ่านต่อ

กินเจ อิ่มบุญ สุขภาพดี ไม่อ้วน

ช่วงเทศกาลกินเจของทุกปี ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน ตรงกับเดือน 11 หรือเดือนตุลาคมของไทย ตามปฏิทินสากล รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 9 วัน 9 คืน  การกินเจ คือการงดรับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิด และหันมารับประทานพืชผัก ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วง...

อ่านต่อ

ประโยชน์ ของ ฟักทอง

ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้นฟัก...

อ่านต่อ