โทษของ ออกกำลังกาย มากเกินไป

  • ร่างกายมีความผิดปกติ เจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรือหยุดการเจริญเติบโต
  • รูปร่างภายนอกดูดี แต่ระบบร่างกายภายในกลับรวน เช่น ประจำเดือนขาด มาไม่สม่ำเสมอ อวัยวะภายในร่างกายทำงานมากผิดปกติ
  • ในกรณีที่ทานโปรตีน หรือเวย์โปรตีนควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย หากไม่ควบคุมสารอาหารให้มีความสมดุล อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร รับโปรตีนมากเกินไป ส่งผลให้ตับ และไตทำงานหนัก
  • กล้ามเนื้อบริเวณที่ออกกำลังกายอาจเกิดอาการบาดเจ็บ หากไม่หยุดทำการรักษา อาจถึงขั้นพิการ และใช้งานไม่ได้ตลอดชีวิต เช่น กล้ามเนื้อหัวไหล่ นิ้วมือ เข่า ข้อศอก ข้อเท้า เอ็นร้อยหวาย ฯลฯ
  • หากไม่ได้ตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย และเข้าใจว่าตัวเองไม่ได้มีความผิดปกติ หรือโรคภัยอะไรร้ายแรง แล้วหักโหมออกกำลังกายอย่างหนัก อาจเป็นการกระตุ้นให้โรคนั้นๆ กำเริบเร็วขึ้น เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น
ควรออกกำลังกายแต่พอดี ในระดับที่เหมาะสมกับร่างกาย และ วัยของเรา

เมื่อ ออกกำลังกายมากเกินไป

  • รู้สึกอ่อนเพลีย หมดแรง ไม่กระปรี้กระเปร่า
  • ภูมิคุ้มกันลดลง จากการใช้พลังงานในร่างกายมากเกินไป และพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • อารมณ์ไม่แจ่มใส ไม่เบิกบาน เพราะมองว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่จำเป็น ต้องทำ และกดดันตัวเองให้ทำ มากกว่าจะมองว่าเป็นการผ่อนคลาย
  • นอนไม่หลับ มีเรื่องให้คิด หรือจิตใจไม่สงบ ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา
  • อารมณ์แปรปรวน ไม่มั่นคง หงุดหงิดงุ่นง่านมากขึ้น
  • ปวดเมื่อย ทรมานไปทั้งตัว หรือเฉพาะส่วนที่ออกกำลังกายอย่างหนัก และส่วนที่สึกหรอหรือบาดเจ็บ ไม่ได้รับการเยียวยารักษา หรือซ่อมแซม
  • กระหายน้ำมากผิดปกติ เหนื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจเป็นลมหมดสติ

เราควรออกกำลังกายแต่พอดี ในระดับที่เหมาะสมกับร่างกายของเรา วัยของเรา นอกจากนี้ยังต้องทานอาหารให้ครบหมู่ อย่าทานแต่อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นเวลานานๆ เพื่อให้ได้สารอาหารที่หลากหลาย

พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อจะได้มีแรง และพลังงานมาใช้ในการออกกำลังกายต่อไป หากเกิดอาการผิดปกติเมื่อไร ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที เท่านี้คุณก็ออกกำลังกายอย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างแท้จริง

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานขึ้นตา

เบาหวานขึ้นตาอาจนำไปสูู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดวงตาและการมองเห็นได้อีกหลายประการเลือดออกในวุ้นตา เนื่องจากเส้นเลือดใหม่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนเส้นเลือดเก่าที่ได้รับความเสียหายอาจสร้างขึ้นอย่างไม่เหมาะสม จึงอาจทำให้มีเลือดรั่วซึมออกมาที่...

อ่านต่อ

วิ่งมานานทำไมยังไม่ผอมซะที

วิ่งแล้วกินอะไรก็ได้เมื่อออกกำลังกาย เราจะเริ่มประทานอาหารมากขึ้นเป็นปกติ สาเหตุเพราะร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มสำหรับประกอบกิจกรรมออกกำลังกาย แต่กับดักแรกที่สำคัญคือ เมื่อวิ่งจบ นักวิ่งมักจะคิดไปเองว่าร่างกายได้เผาผลาญแคลอรี่ในปริมาณมากกว่าปกติ เราไ...

อ่านต่อ

การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

การป้องกันทำได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ภาวะเบาหวานขึ้นตา และป้องกันอาการที่อาจรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งปฏิบัติได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้จัดการกับเบาหวานด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่นเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม ห...

อ่านต่อ

วิธีทานฟักทองให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

ฟักทองไม่ได้มีดีแค่เนื้อฟักทองสีเหลืองทองที่มีประโยชน์ เมล็ดฟักทองเองก็ช่วยคลายเครียดได้ดี น้ำมันฟักทองก็ช่วยบำรุงประสาท หรือแม้แต่เปลืองของฟักทองยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลืดให้อยู่ในระดับปกติ ดังนั้นลองทานฟักทองจากหลายๆ ส่วนดู และหากจะหั่นเนื้อฟัก...

อ่านต่อ

คอลลาเจน ไดเปปไทด์ คืออะไร

คอลลาเจนไดเปปไทด์ ไม่ได้มีดีแค่เรื่องผิว ที่ทานแล้วผิวดี ผิวลื่น เห็นผลไวกว่าคอลลาเจนทั่วไป แต่จริงๆแล้วคอลลาเจนไดเปปไทด์ยังมีประโยชน์กับร่างกายอีกมากคอลลาเจนไดเปปไทด์ คือ นวัตกรรมใหม่ของคอลลาเจนที่ถูกพัฒนามาซึ่งมีกรดอะมิโนเป็นโครงสร้างหลัก เรียงต่อ...

อ่านต่อ