ผื่นจากการติดเชื้อHIV และวิธีสังเกตุ

ผื่นที่ผิวหนังเป็นอาการทั่วไปของการติดเชื้อ HIV ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่มักเป็นสัญญาณเริ่มแรกและมักจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากที่คุณได้รับเชื้อ 

รู้จักอาการผื่นที่เกิดจากเชื้อHIV

1.ดูว่าเป็นผื่นแดง บวมเล็กน้อย และคันมากๆ หรือไม่

ผื่นที่เกิดจากเชื้อ HIV มักจะเป็นจุดด่างดวงบนผิวหนัง ถ้าเป็นคนผิวขาวก็จะเป็นจุดสีแดง แต่ถ้าเป็นคนผิวสีเข้มก็จะเป็นสีดำอมม่วง

  • ความรุนแรงของผื่นจะไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นรุนแรงมากเป็นบริเวณกว้าง ในขณะที่บางคนก็อาจจะมีผื่นขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น
  • ถ้าผื่นที่เกิดจากเชื้อ HIV เป็นผลมาจากยาต้านไวรัส ผื่นจะเป็นรอยแผลแดงบวมไปทั่วร่างกาย ผื่นแบบนี้เรียกว่า “ผื่นแพ้ยา”

2.สังเกตว่าผื่นขึ้นตรงไหล่ หน้าอก ใบหน้า ท่อนบนของร่างกาย และมือหรือไม่

ผื่นที่เกิดจากเชื้อ HIV มักจะขึ้นในบริเวณเหล่านี้ แต่ก็มักจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ บางคนก็เลยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการแพ้หรือผิวหนังอักเสบ  ผื่นที่เกิดจาก HIV ไม่สามารถติดต่อกันได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความเสี่ยงว่าจะแพร่เชื้อ HIV ผ่านทางผื่น

3.สังเกตอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนที่เป็นผื่น HIV

  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • แผลในปาก
  • มีไข้
  • ท้องเสีย
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ตะคริวและปวดตามร่างกาย
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • สายตาเบลอหรือพร่ามัว
  • ไม่อยากอาหาร
  • ปวดตามข้อ

4.รู้สาเหตุของผื่นจากเชื้อ HIV

ผื่นชนิดนี้เกิดจากการที่เซลล์เม็ดเลือดขาว (WBC) ในร่างกายลดลง ผื่นจากเชื้อ HIV จะเกิดขึ้นในระยะไหนของการติดเชื้อก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วคุณจะสังเกตได้ว่ามีผื่นขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากที่คุณได้รับเชื้อ เป็นระยะที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงในตัวอย่างเลือด ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราสามารถตรวจหาการติดเชื้อได้จากการตรวจเลือด แต่บางคนก็อาจจะไม่ผ่านขั้นตอนนี้ แต่จะมีผื่นขึ้นหลังจากติดเชื้อไวรัสไปถึงระยะอื่นแล้ว

  • นอกจากนี้ผื่น HIV ยังอาจเป็นอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านไวรัส HIV ก็ได้ ยาต้านไวรัสเช่น Amprenavir Abacavir และ Nevirapine อาจก่อให้เกิดผื่น HIV ได้
  • ในช่วงของการติดเชื้อ HIV ในระยะที่สาม คุณอาจจะมีผื่นขึ้นเนื่องจากผิวหนังอักเสบ ผื่น HIV ชนิดนี้จะเป็นสีชมพูหรือออกแดงๆ และคัน มักจะขึ้นเป็นเวลา 1-3 ปีและมักจะขึ้นตรงขาหนีบ รักแร้ หน้าอก ใบหน้า และหลัง
  • คุณอาจจะมีผื่น HIV ได้หากคุณเป็นเริมหรือมีเชื้อ HIV
[[pic7]]

การรักษาโดยพบแพทย์

1.ถ้าคุณมีผื่นขึ้นเล็กน้อย ให้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ HIV

ถ้าคุณยังไม่ได้ตรวจเพื่อหาเชื้อ HIV แพทย์ก็อาจจะตรวจเพื่อดูว่าคุณได้รับเชื้อไวรัสหรือเปล่า ถ้าผลเป็นลบ แพทย์ก็จะหาสาเหตุต่อไปว่าผื่นเกิดการปฏิกิริยาแพ้อาหารหรือปัจจัยอื่นๆ หรือเปล่า และผิวของคุณอาจจะมีปัญหาเช่นผิวหนังอักเสบก็ได้
  • ถ้าผลออกมาเป็นบวก แพทย์น่าจะสั่งยาต้านและรักษาเชื้อเอชไอวี
  • ถ้าคุณรับประทานยาต้านไวรัสแล้วและมีผื่นขึ้นเล็กน้อย แพทย์จะบอกให้คุณรับประทานยาต่อไปเพราะผื่นจะหายภายใน 1-2 สัปดาห์
  • เพื่อให้อาการของผื่นลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการคัน แพทย์อาจจะสั่งสารต้านฮิสทามีน เช่น Benadryl หรือ Atarax หรือครีมที่มีส่วนประกอบของคอร์ติโคสตีรอยด์ให้

2.เข้ารับการรักษาทันทีหากอาการผื่นรุนแรง

อาการผื่นขึ้นอย่างรุนแรงยังอาจเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ของเชื้อไวรัส เช่น มีไข้ คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ และแผลในปากด้วย ถ้าคุณยังไม่ได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ HIV แพทย์ก็จะตรวจเลือดเพื่อดูว่าคุณติดเชื้อ HIV หรือไม่ และถ้าหากพบว่าคุณติดเชื้อ แพทย์ก็จะสั่งยาต้านและรักษาเชื้อ HIV มาให้

3.ปรึกษาแพทย์หากอาการแย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรับประทานยา

คุณอาจจะมีภาวะภูมิไวเกินต่อยาบางตัวและทำให้อาการติดเชื้อ HIV รวมทั้งผื่น HIV แย่ลง แพทย์อาจจะสั่งให้คุณหยุดยาและให้ยาตัวอื่นที่คุณสามารถรับประทานได้แทน โดยอาการของภาวะภูมิไวเกินมักจะหายไปภายใน 24-48 ชั่วโมง
[[pic6]]

4.อย่ารับประทานยาที่ก่อให้เกิดอาการแพ้

ถ้าแพทย์แนะนำให้คุณหยุดรับประทานยาเนื่องจากภาวะภูมิไวเกินหรืออาการแพ้ ก็อย่ารับประทานยานั้นอีก เพราะการรับประทานยาตัวนั้นอีกครั้งเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงกว่าเดิมที่อาจลุกลามและทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมมาก

5.ถามแพทย์เรื่องการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดผื่น

คนที่ติดเชื้อ HIV มีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียมากกว่าเนื่องจากเซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ Staphylococcus aureus (MRSA) มักเกิดขึ้นได้บ่อยกับคนที่ติดเชื้อ HIV ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคพุพอง รูขุมขนที่หนังศีรษะอักเสบ ฝี เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ จุดฝีเล็กๆ และแผลเปื่อย ถ้าคุณมีเชื้อ HIV คุณอาจจะให้แพท์ตรวจหา MRSA ด้วย

การรักษาผื่นด้วยตัวเอง

1.ใช้ยาทาที่ผื่น

แพทย์อาจจะสั่งยาทาต้านอาการแพ้หรือยาที่ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองหรือคัน หรือคุณอาจจะซื้อครีมที่เป็นสารต้านฮิสทามินตามร้านขายยาทั่วไปเพื่อช่วยบรรเทาอาการก็ได้ ทาครีมตามที่ระบุไว้ที่บรรจุภัณฑ์

2.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงหรืออากาศหนาวเกินไป

ทั้งสองอย่างนี้เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดผื่น HIV และอาจทำให้ผื่นยิ่งแย่ลงได้
  • ถ้าคุณออกไปข้างนอก ให้ทาครีมกันแดดทั่วร่างกายเพื่อปกป้องผิวหนังหรือใส่เสื้อแขนยาวกับกางเกงขายาว
  • ถ้าคุณอยู่ในที่ที่อากาศหนาวมากๆ ให้ใส่เสื้อโค้ตและเสื้อผ้าอุ่นๆ เวลาออกไปข้างนอกเพื่อไม่ให้ผิวหนังสัมผัสกับความหนาวเย็นมากเกินไป
[[pic5]]

3.อาบน้ำเย็น

น้ำร้อนจะทำให้ผื่นระคายเคือง หลีกเลี่ยงการแช่น้ำหรืออาบน้ำฝักบัวด้วยน้ำร้อน แล้วเปลี่ยนไปแช่น้ำเย็นหรือเช็ดตัวเพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวแทน
  • คุณอาจจะอาบน้ำฝักบัวหรือแช่อ่างอาบน้ำในน้ำที่ค่อนข้างอุ่นและใช้การเช็ดแทนการถูตัว ทามอยเจอไรเซอร์ธรรมชาติ เช่น ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าวหรือว่านหางจระเข้ทันทีที่อาบน้ำเสร็จเพื่อช่วยเยียวยาผิว ผิวหนังชั้นบนสุดก็เหมือนกับฟองน้ำ เพราะฉะนั้นการทามอยเจอไรเซอร์ทันทีหลังจากที่คุณกระตุ้นรูขุมขนก็จะช่วยกักเก็บน้ำที่อยู่ในผิวและทำให้ผิวไม่แห้ง

4.ปลี่ยนมาใช้สบู่อ่อนๆ หรือสบู่สมุนไพร

สบู่ที่เป็นสารเคมีอาจทำให้ผิวระคายเคืองและทำให้ผิวแห้งและคัน มองหาสบู่อ่อนๆ เช่น สบู่เด็ก หรือสบู่สมุนไพรที่ร้านขายยาใกล้บ้าน
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีจำพวกปิโตรเลียม ได้แก่ Methyl- Propyl- Butyl- Ethylparaben และ Propylene Glycol เพราะทั้งหมดนี้เป็นวัตถุดิบสังเคราะห์ที่อาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองหรือทำให้เกิดอาการแพ้
  • คุณสามารถทำสบู่อาบน้ำจากมอยเจอไรเซอร์ธรรมชาติอย่างน้ำมันมะกอก ว่านหางจระเข้ และน้ำมันอัลมอนด์ได้
  • อย่าลืมทามอยเจอไรเซอร์จากธรรมชาติทันทีหลังจากอาบน้ำและทาตลอดทั้งวันเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น
[[pic8]]

5.ใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายนุ่มๆ

เสื้อผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์หรือใยผ้าที่ไม่ระบายอากาศอาจทำให้คุณเหงื่อออกและทำให้ผิวยิ่งระคายเคืองกว่าเดิม เสื้อผ้าที่รัดรูปก็อาจถูกับผิวและทำให้ผื่น HIV แย่ลง

6.รับประทานยาต้านไวรัสต่อ

ปล่อยให้ยาต้าน HIV ที่แพทย์สั่งออกฤทธิ์ให้เต็มประสิทธิภาพ เพราะมันจะช่วยให้ค่า t-cell ดีขึ้นและรักษาอาการอย่างผื่น HIV ได้ตราบใดที่คุณไม่ได้แพ้ยา

ที่มาข้อมูลและรูปภาพ : wiki How ทำสิ่งต่างๆ ,บทความสุขภาพ , สุขภาพทั่วไป

POW พาวโปรตีน พาวอัพชาเขียว Pow Upz

POW UPZ พาวอัพ โปรตีนพาว โปรตีนจากพืช Multiplant Protein สำหรับสายออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ ลีน และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก กระชับรูปร่าง เพิ่มการเผาผลาญ อิ่มนาน ลดการอักเสบในร่างกาย ปราศจากน้ำตาล อร่อยและหอมด้วยชาเขียวมัทฉะพรีเมี่ยมPow Upz ใน 1 ซอง ...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

ทำความรู้จัก ใบพลูคาว

พลูคาว เป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นที่พบมากในแถบภาคเหนือและอีสานของไทย และยังพบในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย เรื่อยมาจนถึงจีน เวียดนาม ลาว เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ มีร่มเงาเล็กน้อยและสภาพอากาศเย็น โดยจะมี...

อ่านต่อ

ขับถ่ายยาก กลัวการเข้าห้องน้ำ

ในพาวน้ำ หรือ พาวซุยยากุเอสเซนส์ มีจุลินทรีย์ทั้ง พรีไบโอติกส์ และ โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ชนิดดี จำเป็นต่อลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายเป็นเรื่องที่ง่าย กินดี หลับดี ถ่ายดี แค่นี้ก็ทำให้สุขภาพดีขึ้นได้ ...

อ่านต่อ

ทำให้น้ำตาลลดลง ใครว่าทำไม่ได้

การทำให้น้ำตาลลดไม่ใช่เรื่องที่ยาก หรือเป็นไปไม่ได้ !!แต่การทำให้ใช้ชีวิตเป็นปกติสุข ไม่ตื่นตอนดึก นอนหลับง่าย ไม่ตื่นมาฉี่บ่อย ไม่อ่อนเพลีย มีแรง ไม่ถูกเพิ่มยา ไม่ถูกฉีดอินซูลิน และการไม่มีโรคแทรกอื่น สิ่งเหล่านี้ต่างหากคือจุดประสงค์ของ "พาวซูการ์ค...

อ่านต่อ

ไขปมผู้ป่วย เบาหวาน ติดเชื้อโควิด ทำไมเสี่ยงตายสูง

ไขปมผู้ป่วย "เบาหวาน" ติดเชื้อโควิด ทำไมเสี่ยงตายสูง?ซึ่งหากติดเชื้อโควิด19ส่งผลกระทบต่อการควบคุมเบาหวานได้แย่ลง เนื่องจากเอนไซม์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเบาหวานคุมไม่ได้ น้ำตาลก็สูงขึ้น น้ำตาลที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานแย่ลง ทำให้ ไวรั...

อ่านต่อ

น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง แบบไหนดีต่อสุขภาพ

น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง แบบไหนดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน น้ำตาลทรายขาวกับน้ำตาลทรายแดง นอกจากสีสันที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ก็ยังมีความแตกต่างระหว่างน้ำตาลทรายขาวกับน้ำตาลทรายแดงบางประการที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ร่างกายก็จำเป็นต้องได้รับ น้ำตาลเพ...

อ่านต่อ