พฤติกรรมเนือยนิ่ง

[[pic1]]
พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) คำศัพท์ซึ่งมาพร้อมกับการใช้ชีวิตที่สะดวกและรวดเร็วจนขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย ปรากฏและเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยในครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้เอง เป็นบ่อเกิดของกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนกว่าคนในแต่ละปี นั่นคือ ‘โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง’ (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs)

สืบเนื่องจาก การกักตัวเพื่อป้องกันตัวจากเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นผลให้พฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนไทยในทุกช่วงวัยเปลี่ยนไปในทุกมิติ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนในรูปแบบออนไลน์ การทำงานในห้อง การพบปะสังสรรค์ ฯลฯ โดยสถิติระบุว่าคนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพราะต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่จำกัดเฉลี่ย 14 ชั่วโมง 32 นาทีต่อวันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และสาเหตุนี้ก็ยิ่งทำให้สุขภาวะของคนไทยเริ่มถดถอย

พฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่เพียงแต่กระทบต่อสุขภาพของประชาชน แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในอนาคตด้วย การให้ความสำคัญกับการเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่เร่งด่วน และประชาชนควรรับทราบถึงผลกระทบ สาเหตุ และวิธีการแก้ไขปัญหานี้อย่างตรงจุด

หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

พฤติกรรมเนือยนิ่ง เกิดมาจากการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสมและขาดกิจกรรมทางกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น การนั่งดูทีวี การท่องโลกโซเชียล การเรียนออนไลน์ การสั่งอาหารดิลิเวอรี การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปหรือน้ำตาลสูง เป็นต้น

วิธีแก้เริ่มต้นง่ายๆ เพียงหากิจกรรมที่ต้องขยับร่างกาย ลุกขึ้นยืดเส้นหรือเปลี่ยนท่าบ้างเวลาที่ต้องนั่งทำงานนานๆ หรือพยายามสร้าง Active Lifestyle ให้กับตัวเอง หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

การที่ร่างกายขาดการขยับเขยื้อน ระบบเมตาบอลิกในร่างกายจะทำงานแย่ลง รวมทั้งอันตราการเผาผลาญพลังงานเช่นกัน โดยพฤติกรรมเนือยนิ่งนี้เอง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) อันได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนคนต่อปี

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า หากต้องการมีสุขภาพที่ดี ปราศจากพฤติกรรมเนือยนิ่ง ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือทานผักอย่างน้อย 4 ขีดต่อวัน รวมทั้งมี ‘กิจกรรมทางกาย’ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และพักหน้าจอทุก ๆ 50 นาที ก็จะสามารถตัดพฤติกรรมเนือยนิ่งและป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

POW พาวโปรตีน พาวอัพกาน่าโกโก้ POW Upz

POW UPZ พาวอัพ โปรตีนพาว โปรตีนจากพืช Multiplant Protein สำหรับสายออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ ลีน  สายลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน เพิ่มการเผาผลาญ อิ่มนาน ลดการอักเสบในร่างกาย ปราศจากน้ำตาล อร่อยและหอมด้วยโกโก้ นำเข้าจากประเทศกาน่า แหล่งวัตถุดิบคุณภาพดีที...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

พาวซูการ์คิว และ พาวแคปซูล

พาวแบบเม็ด มี 2 ชนิด  คือ พาวแคปซูล และ พาวซูการ์คิว ซึ่งทั้ง 2 ชนิด มีความต่างกันคือพาวซูการ์คิว Zukar Q สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพน้ำตาล ไขมันคอเลสตอลรอล ไขมันเลว และความดัน มีงานวิจัยบลูสเปียร่าจากม.พะเยา พาวแคปซูล มีส่วนผสมของพลูคาว และสมุน...

อ่านต่อ

ไม่ต้องพึ่งยาเคมี อาการปวดเข่าก็บรรเทาลงได้

คุณแม่แววตา อุบลรัตน์ อายุ 67 ปี อาชีพเกษตรกรรมปลูกดอกปทุมมา ในชีวิตประจำวันต้องเดินเยอะทำให้มีอาการปวดเข่าไปหาหมอ หมอให้ทานยาอาการก็หายไป เมื่อกลับมาทำงานเดินเยอะอาการปวดก็มาอีก   แต่หลังจากที่ได้รู้จักและรับประทาน "คอลลาเจน เคราติน วันทูเ...

อ่านต่อ

เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS คืออะไร

ความหมายการรับรองแบบมีส่วนร่วมParticipatory Organic Guarantee System (PGS) คือ การรับประกันคุณภาพผลผลิตอินทรีย์โดยชุมชน ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมวิถีชีวิตวัฒนธรรม และ การเกษตของท้องถิ่นโดยมีเป้าหมายการผลิตเพื่อจําหน่ายในชุมชน หรือ จําหน่ายตรงเน้นกระ...

อ่านต่อ

เบาหวาน ขึ้นตา

เบาหวานขึ้นตา เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดที่จอตาได้รับความเสียหายจากน้ำตาลอุดตัน เลือดไม่ไหลเวียนได้ตามปกติ ในช่วงแรกอาจไม่พบอาการหรืออาจมองเห็นผิดปกติเพียงเล็กน้อย แต่หากมีอาการรุนแรง แล้วปล่อยไ...

อ่านต่อ

ลำไส้ดี ชีวิตยืนยาว

สุขภาพยังดีอยู่ไหม ให้ดูลึกถึงลำไส้ เพราะ 70% ของภูมิคุ้มกันอยู่ในนั้น หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ลำไส้ไม่ได้เป็นเพียงอวัยวะย่อยอาหาร แต่ยังเป็นบ้านของภูมิคุ้มกันหลังใหญ่ที่สุด หากสมดุลของลำไส้สะดุด จุลินทรีย์ดีในลำไส้ก็จะลดน้อยลง ส่งให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ...

อ่านต่อ