กระเทียม กับ โรคหลอดเลือดหัวใจ

ข้อมูลทางการแพทย์ปัจจุบันที่อ้างอิงข้อพิสูจน์ทั้งเก่าและใหม่ระบุว่า กระเทียมมีปฏิกิริยาต่อต้านการแข็งตัวของเลือด ทั้งนี้ ดร.ซาเล็ม อะหฺมัด และ ดร.เอริค บลูค จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาผู้ค้นพบสารอะโจอิน (Ajoene) ในกระเทียมซึ่งเป็นสารต่อต้านการเกาะตัวของเลือด ได้พบว่ามันมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือดและป้องกันการเกิดหัวใจวายไม่น้อยกว่าแอสไพริน ดร.บลูค ได้ฉีดสารอะโจอินหนึ่งเข็มแก่กระต่ายที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ปรากฏว่าการเกาะตัวของเกร็ดเลือดของมันได้ชะงักลงภายใน 24 ชั่วโมง

ดร.บลูค จึงเห็นว่า กระเทียมจะสามารถเป็นยาต้านการเกาะตัวของเลือดได้ในไม่ช้า และมีผลการทดลองกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจระบุว่าการรับประทานกระเทียมจะช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์และไขมันประเภทอื่นๆ ในเลือด อีกทั้งในเวลาเดียวกันยังเพิ่มไขมันเลือด (HDL) ที่จำเป็นต่อร่างกาย

ทีมนักวิจัยชาวอินเดียที่นำโดย ศ.บูรเดีย จากมหาวิทยาลัยมุมไบ ซึ่งเป็นคณะวิจัยกลุ่มแรกที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ค้นพบว่า การรับประทานน้ำคั้นกระเทียมสดทุกวันจะทำให้คอเลสเตอรอลในระดับ 305 mlg.% ลดลงสู่ระดับ 218 mlg.% ภายในเวลาสองเดือน

ข้อมูลจาก : thaihealth.or.th

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

ผักผลไม้และสมุนไพร ช่วยบำรุง ปอด

ปอด อวัยวะที่ใช้ในการหายใจ หน้าที่หลักของปอด คือ เปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย และเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบเลือดออกจากร่างกาย ในสภาวะการณ์ปัจจุบันทั้งมลพิษทางอากาศไม่ว่าจะเป็นควัน ฝุ่นละอองที่มากขึ้นๆทุกปี หรือสถานการณ์...

อ่านต่อ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการทาน พลูคาว

พลูคาว หรือผักคาวตอง พืชสมุนไพรพื้นถิ่น นอกจากประโยชน์สรรพคุณที่เราทราบกันแล้ว ยังมีข้อห้าม ข้อควรระวังในการรับประทานเช่นเดียวกัน หากรับประทานพลูคาว "มากจนเกินไป" อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ พลูคาวมีฤทธิ์ทำให้หายใจสั้นและถี่ขึ้น อาจทำให้อาเจียน หรือห...

อ่านต่อ

พรีไบโอติก และ โพรไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร

เคยได้ยินคำว่าพรีไบโอติก (Prebiotics) และโพรไบโอติก (Probiotics) กันบ้างหรือไม่ ทั้งสองอย่างนี้ทำหน้าที่สำคัญต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตชนิดดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เปรียบเสมือนทหารดีพรีไบโอติก  คือ สารอาหารที่มีป...

อ่านต่อ

สุขภาพ สำคัญแค่ไหน

ใครที่เป็นเสาหลักของบ้าน ยังมีหลายอย่างรออยู่ อย่าละเลย สุขภาพ จนต้องรู้สึกเสียดาย เพราะหากล้มลงเมื่อไรก็เหมือนบ้านทั้งหลังพังทลายลงพร้อมกัน เพราะชีวิตคุณไม่ได้มีเพียงบทบาทเดียว หลายหน้าที่มาพร้อมกับหลายความรับผิดชอบ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างก...

อ่านต่อ

ช่องคลอดแห้ง ป้องกันได้

การป้องกันภาวะช่องคลอดแห้งภาวะช่องคลอดแห้งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในวัยหมดประจำเดือน และบางครั้งอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นที่ส่งผลให้สภาวะภายในช่องคลอดเสียสมดุล แนวทางการป้องกันจึงเป็นการรับมือกับภาวะหมดประจำเดือนก่อนถึงช่วงเวลาและดูแลช่องคลอดใ...

อ่านต่อ