โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #1

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน ประมาทไม่ได้ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไม่ได้มีเพียง ตา ไต และปลายเท้าเท่านั้น เรื่องหลอดเลือดหัวใจก็นิ่งนอนใจไม่ได้ เป็นที่เข้าใจกันมาโดยตลอดว่าโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นมักจะเกิดใน ผู้สูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันเรากลับพบโรคนี้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง ส่งผลให้โรคหลอดเลือดหัวใจกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้คนทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ทั้งนี้สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง คือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่ป่วยมานาน และมีการควบคุมโรคได้ไม่ดีพอ

ประมาทไม่ได้ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไม่ได้มีเพียง ตา ไต และปลายเท้าเท่านั้น เรื่องหลอดเลือดหัวใจก็นิ่งนอนใจไม่ได้

นพ.วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อ เบาหวาน และ Metabolism สนทนากับ Better Health ถึงความสำคัญของการป้องกันโรคหัวใจในฐานะที่เป็นโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานซึ่งนับวันจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยมากขึ้นทุกที

เบาหวานเสี่ยงหัวใจสูง

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #2

โรคเบาหวาน หมายความถึงภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงจนเป็นเหตุให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติไป และสร้างความเสียหายแก่ผนังหลอดเลือด

ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานาน และไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมได้ มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนปกติที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึงร้อยละ 50-80

ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่า แต่มีความรุนแรงกว่า เพราะการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดความผิดปกติและเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเพราะการอักเสบ หลอดเลือดตีบแคบลง หรือการที่หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น ประกอบกับการที่ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีก เช่น ความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินและการไม่ออกกำลังกาย ด้วยเหตุที่สภาพของหลอดเลือดเกิดความผิดปกตินี้เอง ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานจึงส่งผลกระทบร้ายแรงอย่างเงียบ ๆ ไปทั่วร่างกาย อาทิ เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต ปลายประสาทเสื่อม เกิดแผลโดยไม่รู้ตัว รวมทั้งภาวะที่หลอดเลือดอ่อนแอ แตกง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวาน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #3
ปัจจุบัน เราพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเทียบเท่ากับผู้ป่วยโรคหัวใจที่เคยผ่านภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดครั้งแรกไปแล้ว สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานนั้นก็มีความร้ายแรง ต้องอาศัยการดูแลอย่างต่อเนื่อง รู้จริง และเป็นระบบ รีบปรับตัวก่อนจะสาย
อย่างไรก็ตาม นพ. วราภณให้ความมั่นใจว่า อนาคตของผู้ป่วยเบาหวานไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยโรคหัวใจเสมอไป

แม้จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติหลายเท่า รวมทั้งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรตั้งแต่ 2-4 เท่า แต่หากผู้ป่วยเบาหวานดูแลตัวเองดี ๆ ด้วยการควบคุมปริมาณและชนิดของอาหาร ใช้ยาเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรค รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจ หรือมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน นพ. วราภณบอกวิธีง่าย ๆ ในการสังเกตตัวเองหรือคนในครอบครัว ดังนี้

  • คนในครอบครัว (บิดา มารดา พี่น้อง) เป็นโรคหัวใจก่อนวัยอันควร (ชาย อายุน้อยกว่า 55 ปี หญิง อายุน้อยกว่า 65 ปี)
  • เป็นโรคเบาหวานมานาน คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีมาตลอด 5 ปี
  • มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และภาวะอ้วนร่วมด้วย
  • อึดอัด เหนื่อย หายใจไม่ทัน หายใจไม่อิ่ม แต่อาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกที่ชัดเจน
  • สูบบุหรี่
  • มีภาวะเครียดเรื้อรัง

ตั้งใจดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย ระมัดระวังเรื่องอาหารไม่เครียด รักษาสุขภาพจิตใจให้ดี และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เช่นกัน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #4

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

น้ำผึ้งป่าแท้ ปี2567 น้ำผึ้งดอกชา จากป่า ห้วยน้ำกืน เวียงป่าเป้า เชียงราย

น้ำผึ้งป่าแท้ 100 เปอร์เช็นต์ น้ำผึ้งจากดอกชา ผึ้งโพรงป่า จากป่าบ้านห้วยน้ำกืน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายป่าบ้านห้วยน้ำกืน อยู่ในเขต เวียงป่าเป้า เชียงราย ใกล้กับจังหวัดเชียงใหม่ ติดกับอำเภอดอยสะเก็ด บ้านห้วยน้ำกืน ขึ้นชื่อในเรื่องของการปลูกชา...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

โรคและอาการแทรกซ้อนในช่วงวัยทอง

ภาวะโรคแทรกซ้อนในช่วงวัยทอง หลังช่วงหมดประจำเดือน หรือประจำเดือนไม่มา ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลงสามารถเพิ่มระดับความเสี่ยงให้เกิดโรคหรืออาการติดเชื้อบางอย่างได้ง่าย เพราะเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อเซลล์ต่างๆ ในร่างกายอาการและโรคแทรกซ้อนในช...

อ่านต่อ

ออกกำลังกาย ช่วงเวลาไหนดี

เช้า สาย บ่าย เย็น ช่วงไหนควรออกกำลังกายมากที่สุด ช่วงเวลาในการออกกำลังกายส่งผลต่อประสิทธิภาพในการออกกำลังกายของเราหรือไม่?ออกกำลังกายตอนกลางวัน หรือ ตอนกลางคืนจากรายงานการศึกษาล่าสุดพบว่า ช่วงเวลาในการออกกำลังกาย ส่งผลต่อระบบการเผาผลาญพลังงานหรือไม่...

อ่านต่อ

นิสัยการนอนของคุณ เป็นแบบไหน

นอนเยอะแต่ง่วง นอนน้อยกลับคึก กลางคืนตื่น กลางวันหลับ เราทุกคนมีช่วงเวลาการตื่นและการนอนที่แตกต่างกันนะคะ การตื่นสายไม่ได้หมายถึงเราขี้เกียจ แค่นาฬิกาชีวภาพของเราต่างจากคนอื่นเท่านั้นเอง วันนี้เรามาหาคำตอบกันค่ะ ว่าการนอนของเราคล้ายกับสัตว์แบบไหน?ทฤ...

อ่านต่อ

ทำไม ไม่ควร วิ่งตอนกลางคืน

นอกจากเหตุผลด้านความปลอดภัยแล้วการวิ่งตอนกลางคืน หรือ ใกล้ช่วงเวลาเข้านอนก็ยังส่งผลเสียด้วยเช่นกัน เคยมีผลการศึกษาที่ชี้ว่าเราสามารถออกกำลังกายตอนเย็นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเลยล่ะ แต่เราไม่ควรออกกำลังกายในช่วงเวลาก่อนนอนอย่างน้อย ๆ ก็หนึ่งชั่วโมง เนื่...

อ่านต่อ

โรคเชื้อราในลำไส้ คืออะไร

เชื้อราในลำไส้ ก็เช่นเดียวกับเชื้อราในผิวหนัง หรือเชื้อราที่ศรีษะ เพียงแค่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในโดยเฉพาะผิวลำไส้  ซึ่งในลำไส้จะประกอบไปด้วยเชื้อรา แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ที่ดี ซึ่งจะมีอยู่พึ่งพากันและสมดุลไม่มีตัวใดตัวหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป  เชื้อรา...

อ่านต่อ