โรคทางสมอง ทางพันธุกรรม

โรคทางสมองใดบ้าง ที่อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม

อัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์ ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในคนที่อายุมากเท่านั้น แต่อัลไซเมอร์ที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมก็สามารถเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยได้เช่นกัน แม้จะดูแลตัวเองดีมากก็ตาม

อัลไซเมอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  1. มีอาการก่อนอายุ 65 ปี
  2. มีอาการหลังอายุ 65 ปี

โดยอัลไซเมอร์ที่ขึ้นก่อนอายุ 65 ปี เป็นชนิดที่เกิดก่อนวัย มักพบได้ในวัยรุ่นหรือวัยกลางคน แต่จะพบเป็นส่วนน้อยประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น โดยมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมบกพร่อง หากมีพ่อแม่ที่เป็นอัลไซเมอร์ โอกาสเสี่ยงที่จะตกทอดมาสู่รุ่นลูกสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่อัลไซเมอร์ที่เกิดหลังช่วงอายุ 65 ปี มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพหรือสมองเสียหายตามวัยและอายุที่เพิ่มมากขึ้น

วิธีการตรวจว่าเป็นอัลไซเมอร์จากพันธุกรรมหรือไม่

  • ซักประวัติคนในครอบครัวเพื่อหาค่าความเสี่ยง
  • ทดสอบทางจิตวิทยา โดยการตอบปัญหาเชาวน์ปัญญา
  • ตรวจหาสารพันธุกรรมเพื่อหาค่าความเสี่ยง

เมื่อตรวจหาความเสี่ยงจนแน่ใจแล้วว่ามีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์จากสาเหตุพันธุกรรม แพทย์จะแนะนำการดูแลอย่างตนเองอย่างเหมาะสมเป็นลำดับต่อไป

ฮันติงตัน

ฮันติงตัน คือ โรคทางพันธุกรรม ที่มีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดยีนมีความบกพร่อง หากพ่อหรือแม่มีความบกพร่องทางยีนดังกล่าว ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคฮันติงตันถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และสามารถส่งต่อยีนที่บกพร่องไปยังรุ่นต่อไปได้‎‎‎

ซึ่งความบกพร่องของยีนนี้ ทำให้เซลล์ประสาทในสมองเสื่อมส่งผลกระทบต่อร่างกายและการเคลื่อนไหว รวมถึงในด้านอารมณ์และสติปัญญา เป็นโรคทางสมองที่รักษาไม่หาย และอาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางจิตเวช อาการเหล่านี้จะแย่ลงเรื่อย ๆ และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ภายใน 20 ปี‎‎‎‎‎‎

อาการโรคฮันติงตัน

  • บุคลิกภาพเปลี่ยนไป ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้
  • อารมณ์เปลี่ยนไป, มีปัญหาด้านความจำ การคิด และตัดสินใจ
  • กลืนลำบาก และพูดลำบาก พูดไม่ชัด ติดขัด‎‎‎‎

การรักษาโรคฮันติงตัน

ปัจจุบันโรคฮันติงตัน ยังไม่สามารถรักษาได้ มีเพียงแต่วิธีที่ช่วยบรรเทาและลดความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งวิธีการได้แก่

  • ยาเฉพาะทาง
  • กิจกรรมบำบัด
  • กายภาพบำบัด
  • จิตบำบัด
  • อรรถบำบัด (รักษาโดยการพูดคุยกับผู้ป่วย)

วิธีการป้องกันโรคฮันติงตัน

สำหรับผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคฮันติงตัน และอยากทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงโรคนี้ด้วยหรือไม่ หรือหากกำลังตั้งครรภ์ ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับคำปรึกษาเพื่อลดความเสี่ยงในการส่งผ่านยีนไปสู่รุ่นลูก

โรคหลอดเลือดในสมอง

โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนอายุน้อยเช่นกัน‎‎‎‎ โรคหลอดเลือดในสมอง หรือ Stroke เกิดจากหลอดเลือดหรือเส้นเลือดในสมองอุดตัน ตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ จึงทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย

สามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลัก คือ

  1. ​​หลอดเลือดเกิดตีบหรืออุดตัน
  2. หลอดเลือดสมองแตก

‎‎‎‎‎โดยโรคนี้สามารถพบได้ใน คนอายุน้อย วัยกลางคนและผู้สูงอายุ ซึ่งในกลุ่มคนอายุน้อยจะพบได้ในลักษณะของคนที่มีความผิดปกติของระดับพันธุกรรมตั้งแต่กำเนิด คือหลอดเลือดในสมองผิดปกติและการต่อกันของหลอดเลือดผิดปกติ หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น

‎‎‎‎‎ต่างจากวัยกลางคนที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์ และวัยผู้สูงอายุที่เกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดหรือตามภาวะของโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต โรคไต เป็นต้น‎‎‎‎‎

วิธีการป้องกันโรคหลอดเลือดในสมอง

  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี และซักประวัติกับทางโรงพยาบาลว่าคนในครอบครัวมีความเสี่ยงหรือไม่
  • ควบคุมโรคพื้นฐาน เช่น ความดัน เบาหวาน โรคไต
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะรุนแรง แขนอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ที่มา : FB สาระสมอง by MemoLogy

POW DERLA พาวเดอร์ล่า

พาวเดอร์ล่า POWDERLA  พาวรูปแบบใหม่ พาวผงชงดื่ม ได้ประโยชน์ อร่อย ชงง่าย โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย ขิง  กระชายขาว  ตรีผลา (สมอไทย มะขามป้อม สมอพิเภก) ใบหม่อน  ชะเอมเทศ  เก๊กฮวย  เจียวกู้หลาน  แป๊ะก๊วย  ใบบัวบก  งาดำ  สารสกัด...

ดูรายละเอียด

บำรุงสมอง

บทความน่ารู้

อาหารชะลอวัย ไม่แก่

เชื่อว่าใครๆก็ยังอยากดูดี ดูสดใส ไม่อยากร่วงโรยไปตามวัยกันทั้งนั้น 5 อาหารใกล้ตัว ที่มีสรรพคุณช่วยชะลอวัย รับรองได้ว่ารู้แล้วจะรีบเข้าครัวไปหามาด่วนๆ ไม่อยากแก่ แค่กินอาหารเหล่านี้ ก็ช่วยได้ กระเทียมมีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งเป็นแหล่งรวมสารต้านอน...

อ่านต่อ

Powderlar วิธีทาน

Powderlar วิธีทาน สุขภาพดีแค่ 3 stepฉีกซองพาวเดอร์ล่า 1 ซอง เทลงในแก้วที่แห้งเติมน้ำใส่แก้ว ประมาณ 30 ml. แนะนำควรเป็นน้ำเปล่าอุณหภูมิปกติจะช่วยให้ละลายง่ายขึ้นคนละลายให้เข้ากัน แล้วดื่มได้ทันที...

อ่านต่อ

โรคพาร์กินสัน ทำลายสมอง

โรคพาร์กินสัน วายร้ายทำลายสมอง ที่ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ มากกว่า 50 ปี หากปล่อยไว้นาน ไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจจะใช้ชีวิตลำบากปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดพาร์กินสันเกิดจากสมองขาดสารโดพามีนอาจเกิดจากพันธุกรรมศีรษะเกิดการกระแทกบ่อยครั้งสูงอายุโรคพาร์กิ...

อ่านต่อ

ย่อยดี ขับถ่ายดี สุขภาพดีไปกว่าครึ่ง

ระบบย่อยอาหารที่ดี คือการที่อวัยวะต่าง ๆ ภายในระบบย่อยอาหารทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การติดเชื้อ ความเครียด หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด อาจทำให้ระบบย่อ...

อ่านต่อ

ภาวะสมองเสื่อมเร็ว โรคซีเจดี

กรมการแพทย์เผยช่วงวัย 40-60 ปีขึ้นไป เสี่ยงภาวะสมองเสื่อมรุนแรงในเวลารวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนพรีออนในสมอง นพ.สมศักดิ์อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประไทยมีแนวโน้มเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น จะมีผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมมากถึง 6-8 แสนค...

อ่านต่อ