การออกกำลังกาย กับ การชะลอวัย

<strong>การออกกำลังกาย</strong> กับ การชะลอวัย #1

การย้อนวัยสู่ความหนุ่มสาวที่ทุกคนสามารถทำได้ทันที แต่ต้องอาศัยวินัย นั่นก็คือการออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ จากผลวิจัยที่ Harvard Medical School ในเดือนมีนาคม 2014 ได้กล่าวถึงผลกระทบของการแก่ชราต่อร่างกายเราที่น่าสนใจ

  • ความสามารถของหัวใจในการปั๊มเลือดไปเลี้ยงร่ายกายของคนเราจะลดลง 5-10% ในทุกๆ 10 ปี นี่เป็นสิ่งที่ทำให้คนชราใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับคนหนุ่มสาว
  • เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน เส้นเลือดในร่ายกายจะแข็งขึ้นไม่ยืดหยุ่น ขณะที่เลือดก็จะข้นและเหนียวมากขึ้น ทำให้ความดันเลือดจะสูงข้นอย่างชัดเจนเมื่อเรามีอายุมากขึ้น
  • คนทั่วไปจะเริ่มมีน้ำหนักเพิ่ม 1.5-1.8กิโลกรัมต่อปี เมื่อมีอายุเข้าสู่วัยกลางคน และจะเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นไขมันทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไขมันเลว
  • ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยน เช่นผู้ชายจะมีฮอร์โมนเพศชาย ลดลง 1% ต่อปีหลังอายุ 40 ทำให้ทั้งกล้ามเนื้อและกระดูกบางลง
การออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนเยาว์ และ แข็งแรงขึ้น การออกกำลังยังสามารถที่จะช่วยในเรื่องระบบประสาทในร่างกายอีกด้วย

ในส่วนการทดลองกับมนุษย์ที่น่าสนใจคือ การทดลองของ University of Texas Southwestern Medical School ที่ชื่อ The Dallas Bed Rest and Training Study ในปี 1966 ที่นำเอา เด็กหนุ่มสุขภาพดีจำนวน 5 คนมานอนบนเตียง และไม่ให้ออกกำลังกายเป็นเวลาเพียง 3 สัปดาห์ ปรากฏว่าเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ร่างกายของผู้ทดลองมีอาการแย่ลงเทียบเท่ากับคนอายุ 40 ปี คือความดันเลือดสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้นแต่ความสามารถในการปั๊มเลือดลดลง ไขมันในร่างกายเพิ่มสูง และมวลกล้ามเนื้อลดลง หลังจากนั้นก็ให้ผู้ทดลองเข้าโปรแกรมออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ แล้วประเมินร่างกายอีกครั้ง พบว่าไม่เพียงแต่ร่างกายกลับมาแข็งแรงเท่านั้น ยังพบว่าตัวเลขต่างๆกลับดีขึ้นกว่าก่อนเริ่มทดลองเสียด้วย

การทดลองดังกล่าวยังมีความน่าสนใจอีกตรงที่ว่า ในอีก 30 ปีต่อมา 5 ผู้ทดลองคนเดิมได้กลับมาเข้าโปรแกรมอีกครั้ง โดยคราวนี้ไม่ได้ให้นอนบนเตียง 3 สัปดาห์อีกแล้ว แต่ได้วัดสุขภาพผู้ทดลองก่อนเข้าโครงการ พบว่าน้ำหนักโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 25% จาก เมื่ออายุ 20 ปี อัตราส่วนไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น 2 เท่าจาก 14% เป็น 28% นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือดเพิ่มในขณะที่ความสามารถในการปั๊มเลือดลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นมา 30 ปี

หลังจากนั้นงานวิจัยได้ให้ผู้ทดลองออกกำลังกายเป็นเวลา 6 เดือน โดยโปรแกรมการออกกำลังจะมีการเดิน วิ่งจ็อกกิ้ง และการขี่จักรยาน ซึ่งมีความเหมาะสมกับคนอายุ 50 ปี ผลการทดลองหลังจากการออกกำลังกายพบว่าน้ำหนักของผู้ทดลองลดลงไปไม่มากเพียง 4.5กิโลกรัม แต่ตัวเลขอื่นๆไม่ว่าจะเป็นการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ความสามารถในการปั๊มเลือดของหัวใจ ย้อนกลับไปเท่าเมื่อผู้ทดลองอายุ 20 ปี การทดลองนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการออกกำลังกายอย่างมากและยังแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายกับผลกระทบของความแก่ชราอีกด้วย

นอกจากการออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนเยาว์และแข็งแรงขึ้นแล้ว การออกกำลังยังสามารถที่จะช่วยในเรื่องระบบประสาทในร่างกายอีกด้วย โดยมีการทดสอบกับผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยให้ผู้ทดลองออกกำลังกายแบบแอโรบิก พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เพราะโรคอัลไซเมอร์เองก็เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับความแก่ชรา

แหล่งข้อมูล
FB page : HackYourAge
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4340807/
https://www.health.harvard.edu/.../exercise-and-aging-can...

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

โปรตีนเพื่อสุขภาพ

โปรตีน คือสารอาหารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับร่างกาย มีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและช่วยในการทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อ และผิวหนัง แม้ร่างกายของคนเราจะสามารถสร้างกรดอะมิโนได้เอง 9 ชนิด แต่ก็ยังจำเป็นต้องได้รับกรดอะมิโนอีก 11 ชนิดเพิ่มเติมจากอาหารจ...

อ่านต่อ

บำรุงกล้ามเนื้อ กระดูก ไขข้อ

โรคระบบข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติ หรือ อาการที่เกิดจากความบกพร่องของระบบข้อ กระดูก และระบบกล้ามเนื้อ ปัญหาความเสื่อมของกระดูก เพิ่มขึ้นตามวัยและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา แม้อาการของโรคข้อเสื่อมจะเป็นผลมาจากวัย...

อ่านต่อ

ควบคุมน้ำหนัก

การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะโรคอ้วน เป็นตัวการของโรคร้ายต่างๆ มากมาย ดังนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักให้ดีและอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติอยู่เสมอ โรคร้ายที่อาจจะมาพร้อมกับความอ้วนได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง มะเร็งเต้านม โรคหล...

อ่านต่อ

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ