พรีไบโอติก Prebiotic คือ

<strong>พรีไบโอติก</strong> Prebiotic คือ #1

พรีไบโอติก (Prebiotics) คือ ไฟเบอร์ที่ได้จากพืชผักและผลไม้ที่รับประทานเข้าไปแล้วจะไม่มีการย่อยหรือการดูดซึมใดๆในลำไส้เล็ก  แต่จะถูกย่อยที่ลำไส้ใหญ่ด้วยโพรไบโอติก   ซึ่งกล่าวง่ายๆคือ พรีไบโอติกเป็นอาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง  ดังนั้นหากรับประทานอาหารพวกพรีไบโอติกส์ก็จะช่วยส่งเสริมฤทธิ์โพรไบโอติกได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกก็อาจช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเรื่องการเผาผลาญ และอาจมีประสิทธิภาพในด้านการต้านโรคบางชนิด เช่น โรคสมองจากโรคตับ โรคอ้วน ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งลำไส้ และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นต้น รวมทั้งอาจช่วยป้องกันภาวะผื่นผิวหนังอักเสบและโรคแพ้อาหารในเด็กทารกได้อีกด้วย

หากรับประทานอาหารพวก พรีไบโอติกส์ จะช่วยให้ โพรไบโอติกเจริญเติบโตได้ดี

พรีไบโอติก มักพบได้ในผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักหรือผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอย่างไฟเบอร์และแป้งต้านการย่อย เช่น รากชิคอรี หัวอาร์ทิโชก กระเทียม หัวหอม ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง แอปเปิ้ล กล้วย มะเขือเทศ และเมล็ดธัญพืชบางชนิด

ประโยชน์ของพรีไบโอติกต่อสุขภาพ

สารในกลุ่มพรีไบโอติก จัดเป็นฟังก์ชันนาลฟู้ด (functional food) เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยจะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โพรไบโอติก (probiotic) เช่น แบคทีเรียในกลุ่ม lactic acid bacteria ได้แก่ แล็กโทบาซิลลัส (lactobacillus) และไบฟิโดแบคทีเรีย (bifidobacteria)

ข้อมูลอ้างอิง :
ข้อมูลโภชนาการ โภชนาการเพื่อสุขภาพ hellokhunmor.com
พรีไบโอติก  เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ย พรเฉลิมพงศ์ ,ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์ foodnetworksolution.com
พรีไบโอติก กับประโยชน์ที่ควรรู้ pobpad.com

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

ทางเดินอาหาร

ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานเหล่าบรรดามนุษย์ออฟฟิศในสังคมเมืองที่ใช้ชีวิตเร่งรีบและมีภาวะเครียดสูง ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารและตับ มักสร้างความรำคาญและส่งผลอย่างมากต่อก...

อ่านต่อ

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ