โรคพาร์กินสัน ทำลายสมอง

โรคพาร์กินสัน วายร้ายทำลายสมอง ที่ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ มากกว่า 50 ปี หากปล่อยไว้นาน ไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจจะใช้ชีวิตลำบาก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดพาร์กินสัน

  • เกิดจากสมองขาดสารโดพามีน
  • อาจเกิดจากพันธุกรรม
  • ศีรษะเกิดการกระแทกบ่อยครั้ง
  • สูงอายุ

โรคพาร์กินสันมีทั้งหมด 5 ระยะ 

  • ระยะที่ 1 เริ่มมีอาการสั่นเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวอวัยวะ เช่น นิ้วมือ
  • ระยะที่ 2 อาการเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอีกข้าง ผู้ป่วยเริ่มหลังงอ และเคลื่อนไหวช้า
  • ระยะที่ 3 การทรงตัวผิดปกติ ลุกยืนลำบาก หกล้มได้ง่าย
  • ระยะที่ 4 ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง จนไม่สามารถยืนได้
  • ระยะที่ 5 กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง อาจจะเป็นผู้ป่วยติดเตียง มือเท้าหงิกงอ ทรวงอกเคลื่อนไหวได้น้องลง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ

แนวทางการรักษา

  • รับประทานยา เพื่อเพิ่มปริมาณสารเคมีโดพามีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย (ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยจากแพทย์ ตามความเหมาะสม)
  • ทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ
  • รักษาโดยใช้คลื่นเสียงจากเครื่อง Exablate เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนจากการรับประทานยา หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาได้

ที่มา : FB โรคพาร์กินสัน โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ต้องผ่าตัด

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บำรุงสมอง

สมองของเรานั้นถูกใช้งานอย่างหนักแทบจะตลอดเวลา ขณะที่เรานอนหลับสมองของเราก็ยังคงทำงาน ทำให้เมื่อเวลาผ่านไปสมองเกิดความเหนื่อยล้า จนส่งผลไปสุ่ระบบต่างๆ ในร่างกายก็ทดงานได้น้อยลง ประสิทธิภาพลดลง การบำรุงสมองนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะวิถีชีว...

อ่านต่อ

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

การนอนหลับ

โรคนอนไม่หลับ (Insomania) เป็นภาวะที่ควบรวมถึงอาการหลับยาก หลับสั้น ตื่นง่าย หรือตื่นเร็วเกินไปแล้วไม่หลับอีก โดยสาเหตุของโรคนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งโรคทางจิตเวช ภาวะทางจิตใจ โรคทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ โรคต่อมลูกหมากโต และสารอื่นๆ เช่น ...

อ่านต่อ