พฤติกรรมเนือยนิ่ง

[[pic1]]
พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) คำศัพท์ซึ่งมาพร้อมกับการใช้ชีวิตที่สะดวกและรวดเร็วจนขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย ปรากฏและเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยในครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้เอง เป็นบ่อเกิดของกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนกว่าคนในแต่ละปี นั่นคือ ‘โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง’ (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs)

สืบเนื่องจาก การกักตัวเพื่อป้องกันตัวจากเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นผลให้พฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนไทยในทุกช่วงวัยเปลี่ยนไปในทุกมิติ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนในรูปแบบออนไลน์ การทำงานในห้อง การพบปะสังสรรค์ ฯลฯ โดยสถิติระบุว่าคนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพราะต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่จำกัดเฉลี่ย 14 ชั่วโมง 32 นาทีต่อวันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และสาเหตุนี้ก็ยิ่งทำให้สุขภาวะของคนไทยเริ่มถดถอย

พฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่เพียงแต่กระทบต่อสุขภาพของประชาชน แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในอนาคตด้วย การให้ความสำคัญกับการเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่เร่งด่วน และประชาชนควรรับทราบถึงผลกระทบ สาเหตุ และวิธีการแก้ไขปัญหานี้อย่างตรงจุด

หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

พฤติกรรมเนือยนิ่ง เกิดมาจากการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสมและขาดกิจกรรมทางกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น การนั่งดูทีวี การท่องโลกโซเชียล การเรียนออนไลน์ การสั่งอาหารดิลิเวอรี การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปหรือน้ำตาลสูง เป็นต้น

วิธีแก้เริ่มต้นง่ายๆ เพียงหากิจกรรมที่ต้องขยับร่างกาย ลุกขึ้นยืดเส้นหรือเปลี่ยนท่าบ้างเวลาที่ต้องนั่งทำงานนานๆ หรือพยายามสร้าง Active Lifestyle ให้กับตัวเอง หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

การที่ร่างกายขาดการขยับเขยื้อน ระบบเมตาบอลิกในร่างกายจะทำงานแย่ลง รวมทั้งอันตราการเผาผลาญพลังงานเช่นกัน โดยพฤติกรรมเนือยนิ่งนี้เอง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) อันได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนคนต่อปี

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า หากต้องการมีสุขภาพที่ดี ปราศจากพฤติกรรมเนือยนิ่ง ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือทานผักอย่างน้อย 4 ขีดต่อวัน รวมทั้งมี ‘กิจกรรมทางกาย’ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และพักหน้าจอทุก ๆ 50 นาที ก็จะสามารถตัดพฤติกรรมเนือยนิ่งและป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ

อาหารเสริมผู้ออกกำลังกาย

เมื่ออกกำลังกายก็มักจะเหนื่อยและเผลอทำให้ทานอาหารมากขึ้นหลังจากออกกำลังกายแล้ว แต่ในความเป็นจริง เราไม่ได้ต้องการอาหารมากขึ้นเลย เราแค่ต้องรู้จักบริหาร โภชนาการ และ ช่วงเวลาในการรับประทานให้เหมาะสมแนวทางในการเลือกกินอาหารสำหรับออกกลังกาย ควรกินอาหารท...

อ่านต่อ

การนอนหลับ

โรคนอนไม่หลับ (Insomania) เป็นภาวะที่ควบรวมถึงอาการหลับยาก หลับสั้น ตื่นง่าย หรือตื่นเร็วเกินไปแล้วไม่หลับอีก โดยสาเหตุของโรคนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งโรคทางจิตเวช ภาวะทางจิตใจ โรคทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ โรคต่อมลูกหมากโต และสารอื่นๆ เช่น ...

อ่านต่อ

เบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติของตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ ฟัน เหงือก ตา ไต หัวใจ สมอง และ หลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต  อาการของเบื้องต้นที่สามารถสังเ...

อ่านต่อ

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ