HPV ไวรัสตัวร้ายสำหรับหญิงและชาย

[[pic1]]

เชื้อ HPV เกิดจากไวรัสที่ชื่อว่า ฮิวเมนแพพพิลโลมา (Human Papilloma Virus) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น หูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและลำคอ สามารถติดเชื้อได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยไวรัสHPVมีนับร้อยสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุดคือ สายพันธุ์ 16 และ 18 รองลงมาคือ สายพันธุ์ 45, 31 และ 33  ส่วนเชื้อไวรัสHPVชนิดไม่กอ่นให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวรณอวัยวะเพศ เช่น HPV 6 และ 11

เชื้อ HPV ติดได้จากทางไหน

เชื้อ HPV ติดเชื้อได้ด้วยการสัมผัสกันของเนื้อเยื้อผิวหนัง การมีเพศสัมพันธ์จึงเป็นสาเหตุสำคัญในการติดเชื้อทั้งทางอวัยวะเพศ ทางปาก และทางทวารหนัก เชื้อ HPV ยังสามารถแพร่กระจายผ่านรอยแผล หรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง โดยส่วนใหญ่ฝ่ายชายมักจะเป็นพาหะนำเชื้อเข้าสู่ฝ่ายหญิงโดยที่ไม่รู้ตัว

อาการเมื่อติดเชื้อ HPV

ผู้ที่ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะกำจัดเชื้อไวรัสได้ก่อนเป็นหูด ซึ่งลักษณะหูดจะแตกต่างตามสายพันธุ์ ได้แก่

  • หูดทั่วไป  จะเป็นตุ่มเล้กๆ ที่ขึ้นตามมือ นิ้ว ข้อศอก มีสีเนื้อ สีขาว สีชมพู สีน้ำตาลอ่อน แม้ไม่อันตราย แต่อาจทำให้เจ็บบริเวณที่เกิดหูดมีเลือดออกได้ง่าย
  • หูดแบนราบ  จะมีสีเข้มกว่าปกติและนูนขึ้นมาเล็กน้อย เกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยผู้หญิงมักพบที่ขา ผู้ชายมักพบที่เครา เด็กมักพบที่ใบหน้า
  • หูดบริเวณอวัยวะเพศ  หรือ หูดหงอนไก่ เป็นติ่งเนื้อคล้ายดอกกะหล่ำ มักรู้สึกคัน แต่ไม่เจ็บปวด
  • หูดบริเวณฝ่าเท้า  มักขึ้นตรงส้นเท้า หรือ เนินปลายเท้า มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง ไม่ว่ายืนหรือเดินจะรู้สึกเจ็บ

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ HPV

  1. หญิงชายที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  2. เด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กวัยเจริญพันธุ์
  3. ผู้ที่มีแผล หรือ รอยขีดข่วนตามผิวหนัง
  4. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อHIV ผู้ที่ใช้ยากดภูมิ ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ
  5. ผู้ที่ใช้สถานที่ ที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เช่น ห้องอาบน้ำสาธารณะ สระว่ายน้ำ เป็นต้น

ป้องกันเชื้อ HPV ได้อย่างไร

  1. เลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  2. เลี่ยงพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  3. สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  4. ไม่ควารแกะหรือเกาหูด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  5. ผู้ที่มีอายุ 9-26 ปี แนะนำฉีดวัดซีนป้องกันเชื้อ HPV
  6. ผู้หญิงที่มีอายุ 21-65 ปี ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี
  7. สวมรองเท้าเมื่อยู่ในสถานที่ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น สระว่ายน้ำสาธารณะ ห้องอาบน้ำรวม

ที่มาข้อมูลและรูปภาพ : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ศูนย์มะเร็งเฉพาะโรค โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพวัฒโนสถ

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ป้องกันมะเร็ง

มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ การมีโภชนาการที่ดีสามารถป้องกันโรคมะเร็งทุกชนิดได้มากกว่า 1 ใน 3 และ หากเริ่มการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เช่น การออกกำลังกายและลดความเครียดได้ ก็จะ...

อ่านต่อ

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ