ประโยชน์ของไฟเบอร์

ไฟเบอร์ หรือ ใยอาหาร เป็นที่ทราบกันดีว่าร่างกายจะได้รับไฟเบอร์จากการทานอาหารประเภทพืชผักผลไม้ และหลายคนจะทราบว่าไฟเบอร์มีประโยชน์ต่อการขับถ่าย กระตุ้นการทำงานของลำไส้ในการขับของเสียออกมา   

อย่างไรก็ตามนอกจากไฟเบอร์จะมีประโยชน์ต่อการขับถ่ายแล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นด้วย เช่น

  1. ทำให้อิ่มท้อง  อาหารที่มีไฟเบอร์สูงมักทำให้อิ่มท้องนาน เนื่องจากหลังจากทานไฟเบอร์ไปแล้วส่วนที่เป็นเมือกจะละลายน้ำกลายเป็นเจลเหนียวและอยู่ในกระเพาะอาหารได้นานขึ้น ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม
  2. ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด  โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง  หากทานอาหารที่มีไฟเบอร์ร่วมกับยารักษา จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับปกติได้ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกทาง
  3. คุมระดับน้ำตาลในเลือด  โดยเฉพาะไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำจะช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล-ไขมัน ไม่ให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เร็วเกินไป จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน และลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานในคนปกติ
  4. เสริมระบบภูมิคุ้มกัน  อย่างที่ทราบกันดีว่าในลำไส้ของคนเรามีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ และกว่า 70% ของระบบภูมิคุ้มกันอยู่ที่ลำไส้เป็นส่วนใหญ่  และไฟเบอร์เป็นอาหารชั้นดีของจุลินทรีย์โปรไบโอติก (จุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้)  จึงทำให้โปรไบโอติกเจริญเติบโตได้ดีสามารถผลิตสารที่มีประโยชน์ต่อต่างกาย ส่งผลให้ระบภูมิคุ้มกันแข็งแรง
  5. ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่  เมื่อระบบการขับถ่ายดีขึ้น ถ่ายอุจจาระได้ง่าย ลดการกักเก็บของเสียในร่างกาย ลดการหมักหมมของเสียในลำไส้ ทำให้ลดโอกาสดดูดซับสารพิษจากของเสียกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง ความเสี่ยงในการเกิดเชื้อมะเร็งลำไส้จึงลดลงตามไปด้วย
  6. ช่วยลดน้ำหนัก  ไฟเบอร์ช่วยให้อาหารที่ทานเข้าไปเดินทานได้เร็วขึ้น และมีเวลาอยู่ใระบบทางเดินอาหารสั้นลง จึงช่วยลดการดูดซึม และรู้สึกอิ่มท้อง ทำให้ลดความอยากอาหาร และลดการทานจุกจิกระหว่างมื้ออาหาร หากทำการควบคุมชนิดและปริมาณอาหาร และออกกำลังกายร่วมจะยิ่งเป็นผลดีต่อการลดน้ำหนัก


ที่มีของข้อมูล :

1.บทความ ไฟเบอร์เส้นใยแห่งสุขภาพ, สุขภาพดีด้วยโภชนบำบัด, หน่วยสารสนเทศมะเร็ง, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

2.บทความ 5 ประโยชน์ของไฟเบอร์ที่มากกว่าช่วยการขับถ่าย, Interpharma



หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ

ทางเดินอาหาร

ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานเหล่าบรรดามนุษย์ออฟฟิศในสังคมเมืองที่ใช้ชีวิตเร่งรีบและมีภาวะเครียดสูง ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารและตับ มักสร้างความรำคาญและส่งผลอย่างมากต่อก...

อ่านต่อ

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ