วิธีดูแลตัวเองในช่วงของวัยทอง

วิธี<strong>ดูแล</strong>ตัวเองในช่วงของ<strong>วัยทอง</strong> #1

ผู้หญิงก่อนเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ซึ่งระยะของวันทองนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ

1. วัยใกล้หมดประจำเดือน ( perimenopause ) คือ มักเกิดขึ้นประมาณ 3 – 4 ปี ก่อนที่ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยทองอย่างถาวรนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวรังไข่เริ่มลดการผลิตฮอร์โมนลงเลื่อย ๆ แต่ผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนสามารถตั้งครรภ์ได้

2. วัยหมดประจำเดือน ( menopause ) คือ ช่วงเวลาที่ผู้หญิงสิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวรหรือที่เราเรียกกันว่า วัยทอง และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติอีกต่อไป มักจะเกิดขึ้นระหว่างอายุ 49 – 55 ปี เนื่องจากรังไข่หยุดทำงานหยุดผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งโดยอายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนคืออายุ 51 ปี แต่ผู้หญิงประมาณ 1 ใน 100 คนจะมีภาวะหมดประจำเดือนก่อนช่วงอายุ 40 ปี เพราะรังไข่หยุดผลิตฮอร์โมนก่อนกำหนด

3. วัยหลังหมดประจำเดือน ( postmenopause ) คือ การเปลี่ยนหลังหมดประจำเดือนโดยคิดคำนวณย้อนหลังไปนับจากปีที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ดังนั้นผู้หญิงวัยทองควรดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

วัยทอง ควรดูแลตัวเองอย่างไร

เมื่อเข้าสู่วัยทองผู้หญิงเสี่ยงในด้านสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาหารมีส่วนสำคัญในการบำบัดสำหรับคนวัยทอง โดยเน้นอาหารที่สามารถเพิ่มฮอร์โมนเพศได้ดี

อาหารมีช่วยบำบัดฮอร์โมนเพศสำหรับคนวัยทอง การรับประทานอาหารมีส่วนช่วยในการลดภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน อาหารสำหรับวัยทอง ได้แก่

ผลไม้สด เป็นอาหารที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย ลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน ช่วยต่อรต้านอนุมูลอิสระ และสามารถควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ด้วย

ถั่วเหลือง มีไอโซฟลาโวนสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือนในวัยทองได้

เห็ดหูหนูขาว อุมดไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิดมีสารคอลลาเจน กรดอะมิโน และมีสารต้านอนุมูลอิสระ

ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตกระตุ้นสารเซโรโทนินของคาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินได้มากขึ้น เพื่อทำให้อารมณ์ดี ไม่หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แปรปรวน และสามารถช่วยลดความเครียดได้

เม็ดบัว มีวิตามินซีสูง ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต สรรพคุณเด่นช่วยในเรื่องของการบำรุงร่างกาย บำรุงเลือดสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยเพิ่มพลังลมปราณ ทำให้เลือดไหลเวียนดี

นม มีโปรตีนสูงช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกแข็งแรง

ดาร์กช็อกโกแลต มีสารฟลาโวนอยด์ รวมทั้งธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี และทองแดง ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดเครียด ช่วยเพิ่มฮอร์โมนความสุขออกมาทำให้อารมณ์ดี ผิวพรรณเปล่งปลั่งไร้ริ้วรอย

เก๋ากี้ ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันทำให้ไม่อ้วนง่าย ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยบำรุงเลือด ปรับระบบประจำเดือน ช่วยลดอาการช่องคลอดแห้ง ช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับในผู้หญิงวัยทอง ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงวัยทอง

อาหารแปรรูป ที่มีส่วนผสมของโซเดียม น้ำตาลสูง เช่น มันฝรั่งทอด คุกกี้ ขนมขบเคี้ยวต่างๆ ส่งผลทำให้เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

อาหารรสเผ็ด จะยิ่งไปกระตุ้นทำให้อาการวูบวาบรุนแรงมากขึ้น และทำให้เหงื่อออกมากขึ้น เช่น ในกระเพระ ใบโหระพา ใบยี่หร่า ขมิ้น และขิง เป็นต้น

อาหารจานด่วน เนื่องจากอาหารทีมีไขมันสูงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอ้วน และเป็นสาเหตุในการเกิดโรคหัวใจ

แอลกอฮอล์ เพิ่มความเสี่ยง 1.5 เท่าในการเป็นมะเร็งเต้านม และดื่มหนักสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดในผู้หญิงวัยทอง นอกจากนี้ผู้หญิงบางคนพบว่าเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ทำให้มีอาการวูบวาบมากขึ้นอีกด้วย

บุหรี่ สารพิษในควันบุหรี่ถูกดูดซึมผ่านปอดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ออกซิเจนในร่างกายคุณลดลง ส่งผลให้แก่เร็ว เล็บไม่แข็งแรง ลอก ฉีกง่าย ยังทำให้เกิดการอักเสบ และอุดตันของเส้นเลือดฝอยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด

วิธี<strong>ดูแล</strong>ตัวเองในช่วงของ<strong>วัยทอง</strong> #2

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บำรุงกล้ามเนื้อ กระดูก ไขข้อ

โรคระบบข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติ หรือ อาการที่เกิดจากความบกพร่องของระบบข้อ กระดูก และระบบกล้ามเนื้อ ปัญหาความเสื่อมของกระดูก เพิ่มขึ้นตามวัยและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา แม้อาการของโรคข้อเสื่อมจะเป็นผลมาจากวัย...

อ่านต่อ

ป้องกันมะเร็ง

มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ การมีโภชนาการที่ดีสามารถป้องกันโรคมะเร็งทุกชนิดได้มากกว่า 1 ใน 3 และ หากเริ่มการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เช่น การออกกำลังกายและลดความเครียดได้ ก็จะ...

อ่านต่อ

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอกระบวนการเกิดออกซิเดชั่น(กระบวนการรวมตัวกับออกซิเจน) หน้าที่ของสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ลดความเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โร...

อ่านต่อ