วัคซีนต้านโควิด19 ถามตอบ ข้อสงสัย ไขข้อกังวล ก่อนฉีดวัคซีนโควิด19

วัคซีนต้านโควิด19 ถามตอบ ข้อสงสัย ไขข้อกังวล ก่อนฉีด<strong>วัคซีนโควิด</strong>19 #1

แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขเริ่มเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนและนัดวัน-เวลา การฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังมีข้อสงสัยและความกังวลต่าง ๆ จากคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละยี่ห้อ รวมทั้งการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสว่าจะมีผลต่อการป้องกันโรคหรือไม่

บีบีซีไทยสนทนากับ รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข เพื่อตอบข้อสงสัยดังกล่าว ก่อนที่การฉีดวัคซีนล็อตใหญ่จะเริ่มตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป

ถาม: ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วมีโอกาสติดเชื้ออีกหรือไม่ เมื่อเกิดภูมิคุ้มกันต้องฉีดซ้ำหรือไม่

ตอบ: ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าไม่มีวัคซีนตัวไหนป้องกันโรคได้ 100% หลังจากฉีดครบโดสแล้ว ก็ยังสามารถติดเชื้อได้ แต่ถ้าเป็นหรือติด ส่วนใหญ่อาการจะน้อย อาจไม่ถึงขั้นรุนแรงจนต้องนอนห้องไอซียู หรือเสียชีวิต เพราะฉะนั้นเมื่อฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังต้องมีระบบการป้องกันตัวอีกเหมือนเดิม เช่นการสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง และดูแลสุขอนามัย สำหรับคนที่เคยเป็นแล้ว แต่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ก็แนะนำให้ฉีดวัคซีน หลังจากหายดีเป็นเวลาประมาณสามเดือนแล้วค่อยฉีดกระตุ้นซ้ำอีกครั้ง

ถาม: ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีน 2 ยี่ห้อแรกที่นำมาฉีดในไทยเท่ากันหรือไม่

ตอบ: สำหรับวัคซีนที่นำมาใช้ในไทย ก็มีซิโนแวคที่มาจากประเทศจีน และแอสตร้าเซนเนก้าจากสหราชอาณาจักร ทั้งสองตัวมีแฟลตฟอร์มในการผลิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น จะนำมามาเปรียบเทียบกันไม่ได้ และยังไม่มีใครที่เอาวัคซีนสองตัวมาศึกษาเทียบกับแบบตัวต่อตัว เพราะฉะนั้นจึงตอบไม่ได้ อย่างไรก็ตาม วัคซีนถือว่ามีประโยชน์

ถาม: วัคซีนโควิดที่ฉีดให้คนไทยจะป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้หรือไม่

ตอบ: จะเห็นว่าผู้ผลิตวัคซีนกำลังศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อที่กลายพันธุ์ และก็พบว่าวัคซีนต้านเชื้อโควิด-19 เกือบทุกชนิดยังพอจะสู้กับเชื้อกลายพันธุ์ได้ แต่จะมากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามผลการศึกษาของแต่ละวัคซีน ขอยกตัวอย่างสองตัวที่เรามีอยู่ ตัวแรกก็คือ ซิโนแวค พบว่าสามารถต่อสู้กับเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษได้บ้าง ไม่มากเท่าไหร่ แต่สำหรับสายพันธุ์เซาท์แอฟริกันได้ผลไม่ค่อยดีนัก ส่วนผลของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าต่อสายพันธุ์อังกฤษ ต่อสู้ได้ลดลงประมาณ 10% เมื่อเทียบกับเชื้อดั้งเดิม แต่สายพันธุ์เซาท์แอฟริกันไม่ดีเลยลดลงจาก 80% เหลือแค่ประมาณ 20% เท่านั้นเอง เชื้อกลายพันธุ์เป็นสิ่งที่ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์กังวลมาก การกลายพันธุ์จะก่อให้เกิดปัญหาต่อวัคซีนได้ผลน้อยลง

ถาม: การที่ไทยมีโรงงานผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ในประเทศจะส่งผลดีต่อการรับมือเชื้อกลายพันธุ์อย่างไร

ตอบ: จากการประสบการณ์การเป็นแพทย์ด้านการติดเชื้อมากว่า 40 ปี บอกได้ว่าเชื้อต้องมีการกลายพันธุ์อย่างแน่นอน เช่นเดียวกันกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีการกลายพันธุ์ไป ทำให้สิ่งที่เป็นส่วนประกอบในวัคซีนไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ตรง หรือเปลี่ยนไปจนภูมิคุ้มกันจดจำไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น วัคซีนที่ฉีดเข้าไปก็ไม่ต่างจากน้ำเปล่า การที่มีโรงงาน (ผลิตวัคซีน) อยู่ในประเทศถือว่าเป็นข้อได้เปรียบ จากอัตราการกลายพันธุ์ที่กำลังเกิดขึ้นเร็วมากในขณะนี้ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการผลิตวัคซีนชุดใหม่ หากว่ามีสัญญาณจากวงการแพทย์ระดับโลกในเรื่องนี้แล้ว การที่ไทยมีโรงงานในประเทศก็จะทำให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว และถือเป็นข้อได้เปรียบของไทยที่จะมีโอกาสในการพัฒนาวัคซีนเองได้ด้วย

ถาม: ผลข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนน่ากังวลแค่ไหน

ตอบ: วัคซีนต้านโควิด-19 สร้างขึ้นมาเพียงระยะเวลา 10-11 เดือนเท่านั้น ปกติวัคซีนที่เราใช้ ๆ กัน แต่ละตัว จะต้องได้รับการพัฒนาประมาณ 5-10 ปี สิ่งที่ทางการแพทย์บอกว่าวัคซีนตัวไหนจะพอนำมาใช้ได้ต้องผ่านหลอดทดลอง สัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ก่อนจะมาสู่คนในระยะที่หนึ่ง ระยะที่สองและระยะที่สาม รวมกันหมดในคนจะต้องมีอาสาสมัครที่จะมาทดลองวัคซีนแต่ละตัวประมาณ 3-4 หมื่นคน แต่สำหรับวัคซีนซิโนแวค ซึ่งฉีดไปแล้วประมาณร้อยกว่าล้านโดส บางอย่างที่ไม่เคยเห็นในขั้นการทดลองก็จะเริ่มเห็น และทุกครั้งจะต้องมาวิเคราะห์พิจารณากันว่าจะฉีดกันต่อไหม เช่น เรื่องปวดบวมแดงร้อน (บริเวณที่ฉีด) อาจจะเกิดขึ้นได้ประมาณ 20% แต่อาการข้างเคียงบางอย่าง ยกตัวอย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในไทยที่มีคนฉีดแล้วอาการคล้าย ๆ สโตรก (โรคหลอดเลือดสมอง) แต่สุดท้ายพบว่าไม่ใช่สโตรก เพราะเมื่อวิเคราะห์ลงลึกแล้ว พบว่าอาการหายไปภายในหนึ่งวันและผู้ที่มีอาการก็เป็นเพศหญิงทั้งหมด อายุเฉลี่ย 30 ปี นอกจากนั้นส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ สุดท้ายเรามีการปรึกษากับองค์การอนามัยโลกว่าอันนี้เป็นอะไรได้บ้าง องค์การอนามัยโลกก็ยืนยันว่าเคยเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ในวัคซีนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเรียกว่า Immunization Stress-Related Responses (ISRR) หรือ อาการที่เกิดจากความวิตกกังวลและความเครียด

ถาม: คนไทยต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 กี่คนจึงจะเกิดภูมิคุ้มกันแบบหมู่

ตอบ: ภูมิคุ้มกันหมู่ที่เกิดจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 น่าจะอยู่ราว ๆ 70 -75% แต่อาจจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า หากจะขอเลือกเป็นคนที่ไม่ฉีดวัคซีนและอยู่ใน 30% ที่เหลือได้หรือไม่ คำตอบคือได้แต่คุณจะมีความเสี่ยงที่จะไม่มีภูมิคุ้มกันป้องกันตนเอง ในขณะที่คนอื่นมีภูมิคุ้มกัน ขอแนะนำให้คุณอยู่ในกลุ่ม 70% (ที่ได้รับวัคซีน) จะดีกว่า ส่วนเป้าหมายของประเทศไทย ก็คือภายในสิ้นปีนี้อย่างน้อยสุดจะพยายามฉีดให้ได้ภายในระดับที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ซึ่งต้องมีประชากรประมาณ 70% ที่ได้รับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ประชากรคนไทยมีประมาณ 66 ล้านคน หากคิดสัดส่วน 70% ก็เท่ากับ 50 ล้านคน นั่นคือต้องการวัคซีนอย่างน้อย 100 ล้านโดส ซึ่งตามแผมเดิมไทยมีวัคซีนเตรียมไว้ประมาณเกือบ 68 ล้านโดส ก็จำเป็นต้องมีการเสริมเข้ามา นอกจากนี้ในช่วงปลายปีคาดว่าคงต้องฉีดในกลุ่มเด็กได้และต้องการจำนวนวัคซีนเพิ่มอีก

5 พฤษภาคม 2021

โดย วัชชิรานนท์ ทองเทพ และ วสวัตติ์ ลุขะรัง

ชาขาว ชาขาวเข็มเงิน ห้วยน้ำกืน เวียงป่าเป้า เชียงราย

Baihao Yinzhen ไป๋หาวหยินเจิน ชาขาวเข็มเงิน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Silver Needle ด้วยลักษณะเหมือนเข็ม มีขนสีขาวประกายเงินปกคลุม จึงเรียกว่าเข็มเงิน ชาขาวเข็มเงิน ตราบ้านชาไทย ปลูกบนยอดเขาสูงไม่น้อยกว่า 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากไร่ชาบ้านห้วยน้ำก...

ดูรายละเอียด

ป้องกันมะเร็ง

บทความน่ารู้

ภาวะลองโควิด

สถาบันการแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ที่มีภาวะลองโควิดทานผลิตภัณฑ์ที่มีโพรไบโอติกส์ ที่มีอยู่ในโยเกิร์ต กิมจิ ผักดอง เป็นต้น ซึ่งปริมาณที่มีอยู่นั้น ยังไม่เพียงพอ จึงแนะนำให้ทานผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ 10 ล้าน Cfu ขึ้นไปโพรไบโอติกส์...

อ่านต่อ

4 โรคร้ายจากการกิน ที่ไม่เหมาะสม

พฤติกรรมการรับประทานอาหารส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายมากกว่าที่คุณคิด แต่การเลือกประเภทอาหาร ก็อาจส่งผลให้ร่างกายทำงานได้เป็นอย่างดี หรืออาจจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคร้ายได้โดยไม่รู้ตัวข้อมูลจาก อ.พญ.พรจิรา ศุภราศรี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์...

อ่านต่อ

ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ชนิดของไขมันในเลือด ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์&n...

อ่านต่อ

ลำใส้ดี สุขภาพดี

เชื่อหรือไม่ว่าสุขภาพเราจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับลำไส้เป็นส่วนสำคัญ? ยิ่งลำไส้ของเรามีสุขภาพดีมากเท่าไหร่ ร่างกายเราก็ยิ่งมีสุขภาพดีตามไปด้วย เพราะลำไส้เป็นอวัยวะที่ใช้ในการดูดซึมสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ หากร่างกายได้รับสารอาหารที่มีส...

อ่านต่อ

ใส่ใจภูมิตนเอง

ออกนอกบ้านก็เสี่ยง อยู่บ้านเฉยๆก็ใช่ว่าจะปลอดภัย การทำให้ร่างกายแข็งแรง และ มีภูมิต้านทานที่มากพอ จะทำให้ต่อสู้กับโรคร้ายได้ ระหว่างรอวัคซีน ใส่ใจตนเอง สร้างร่างกายให้แข็งแรง ...

อ่านต่อ