ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ป้องกันมะเร็ง

บทความน่ารู้

สมุนไพรพื้นบ้านของไทยช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

สมุนไพรพื้นบ้านของไทย ที่ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งป้องกันไวรัส ป้องกันแบคทีเรีย และอีกสารพัดคุณสมบัติเพื่อสุขภาพ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมฮาว์ธัยเนีย (Houttuynia) หรือพลูคาว จึงเป็นสมุนไพรมาแรงของยุคนี้ ที่ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย ต่างประเทศก็สนใจนำเป็นส่...

อ่านต่อ

V herb คืออะไร

V herb  คือการผสมผสานส่วนผสมสารสกัด 5 ชนิด ได้แก่ พลูคาว สไปรูลิน่า กระชายขาว เบต้ากูลแคนจากยีสต์ และมะขามป้อม กลไกการทำงานของสมุนไพรแต่ละชนิดคือ สไปรูลิน่าเปิดเปลือกเยื่อหุ้มของไวรัสประเภทมีหนาม เพื่อให้สารสกัดพลูคาวและสารสกัดกระชายทำหน้าที่ต้...

อ่านต่อ

พาว การรับประทาน วิธีการเก็บรักษา

การรับประทานพาวมีลูกค้าหลายๆ ทานที่ซื้อพาวไป ได้สอบถามวิธีการรับประทานพาวมาหลายข้อความ วิธีทานพาว วิธีดื่มพาว มีข้อควรระวังอะไรบ้าง มีคำตอบดังนี้ครับ ควรเริ่มดื่มพาว วันละ 15ml. (ประมาณเกือบครึ่งแก้วตวง) หลังอาหาร มื้อใดก็ได้ ในกรณีมียาประจำที่ต้องท...

อ่านต่อ

ปรับสมดุลร่ากาย ด้วย โพรไบโอติก

ถ้าตรวจสุขภาพเมื่อไหร่ ค่าไขมันในเลือดออกมาทีไรเป็นอันต้องกุมขมับทุกที ค่าเลือดที่พุ่งแรงแซงค่าอื่นก็คงไม่พ้น  คอเลสเตอรอล ค่ายิ่งสูงร่างกายยิ่งพัง ระวังจะตามมาด้วยโรคอีกนับสิบ แต่ละวันคุณเติมไขมันตัวร้ายเข้าสู่ร่างกายไปเท่าไหร่ ทั้งการกินอาหาร...

อ่านต่อ

ดื่มน้ำให้มากขึ้น ทำง่ายๆ

น้ำมีประโยชน์ต่อชีวิตคนเราอย่างยิ่ง ทั้งนี้ 4 ใน 5 ของน้ำหนักมนุษย์ประกอบไปด้วยน้ำ เราอาจอยู่โดยขาดอาหารได้นานกว่าการอยู่โดยขาดน้ำ  ประโยชน์ของน้ำที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ทำให้ผิวพรรณผ่องใส ไม่แห้งกร้าน ดวงตาสดใสไม่ขุ่นมัว ทำให้ดูเปล่งปลั่งอ่อนกว่าว...

อ่านต่อ