ทำไม เบาหวานต้อง คุมน้ำตาล

ทำไม <strong>เบาหวาน</strong>ต้อง คุมน้ำตาล #1

การควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นในผู้เป็นเบาหวานทุกคน เพราะว่าสามารถลดการเกิดและ/หรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงเล็ก ที่ทำให้เกิดโรคจอตาผิดปกติจากเบาหวาน โรคไตจากเบาหวาน โรคของระบบประสาทจากเบาหวาน ที่พบได้ทั้งในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ส่วนภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงใหญ่ พบว่าการควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดีในผู้เป็นเบาหวาน สามารถลดการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และ ลดการตายจากทุกสาเหตุของผู้เป็นเบาหวานได้

ตัวชี้วัดที่บอกถึงการควบคุมน้ำตาลในเลือดคือ ค่า A1C (เอวันซี) ซึ่งถึงจะบอกการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดย้อนหลังไปเป็นเวลา 2-3 เดือน โดยทั่วไปค่าเอวันซีที่เหมาะสมในผู้เป็นเบาหวานคือ มีค่าน้อยกว่า 7% ค่าเอวันซีอาจจะสูงหรือต่ำกว่านี้ได้ โดยที่แพทย์ผู้รักษาจะปรับให้เหมาะสมกับผู้เป็นเบาหวานแต่ละรายไป

การควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดี ในผู้เป็นเบาหวาน สามารถลดการเกิดโรคต่างๆ และ ลดการเสียชีวิต จากทุกสาเหตุของผู้เป็นเบาหวานได้

ตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วเองที่บ้าน(SMBG) ช่วยในการควบคุมโรคเบาหวานได้ดี ควรตรวจบ่อยเพียงไร ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ดี ควรตรวจทุก 2-3 วัน ถ้าควบคุมได้ดีแล้ว อาจตรวจทุก 1-2 สัปดาห์ ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจทุกวัน และเกณฑ์ของค่าน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม คือ ระดับน้ำตาลในเลือดเวลาเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนควรมีค่า 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารควรมีค่าต่ำกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

การป้องกันและ/หรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวในผู้เป็นเบาหวานนั้น อาศัยทั้งการควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดี การควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท การควบคุมไขมันไม่ดี(แอลดีแอล, LDL) ในผู้เป็นเบาหวานทั่วไปให้มีค่าต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และในผู้เป็นเบาหวานที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ/โรคหลอดเลือดสมองมีค่าต่ำกว่า70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร การควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 คือระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ควบคุมความดันโลหิตให้ดี สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวในผู้เป็นเบาหวานได้

ทำไม <strong>เบาหวาน</strong>ต้อง คุมน้ำตาล #2

Credit : พล.ต.หญิง ศ.คลินิก อัมพา สุทธิจำรูญ

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ควบคุมน้ำหนัก

การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะโรคอ้วน เป็นตัวการของโรคร้ายต่างๆ มากมาย ดังนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักให้ดีและอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติอยู่เสมอ โรคร้ายที่อาจจะมาพร้อมกับความอ้วนได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง มะเร็งเต้านม โรคหล...

อ่านต่อ

เบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติของตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ ฟัน เหงือก ตา ไต หัวใจ สมอง และ หลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต  อาการของเบื้องต้นที่สามารถสังเ...

อ่านต่อ

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอกระบวนการเกิดออกซิเดชั่น(กระบวนการรวมตัวกับออกซิเจน) หน้าที่ของสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ลดความเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โร...

อ่านต่อ