อาการร้อนวูบวาบจากวัยทอง
ปรับปรุงล่าสุด : 28 สิงหาคม 2563ในบรรดาอาการทั้งหมดที่เกิดกับผู้อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการร่วมที่เกิดขึ้นมากที่สุดและมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากที่สุดอย่างหนึ่ง มักเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกถึง 2 ปีของวัยใกล้หมดประจำเดือน และสามารถต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาถึง 10 ปีก็ได้
“อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการ ของวัยทอง ที่มักเกิดขึ้นในช่วง 6เดือนแรก ถึง 2ปี ของวัยใกล้หมดประจำเดือน”
อาการที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นอาการร้อนตามตัว ร้อนที่ใบหน้าซึ่งอาจมีเหงื่อออกที่หน้าร่วมด้วยได้ อาการนี้เกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน อาการดังกล่าวจะหายได้เองใน 4-5 ปี หลังจากเข้าวัยหมดประจำเดือน
ลดอาการร้อนวูบวาบจากวัยทอง
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น ลดความอ้วน ออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เดินเร็ว หรือยกน้ำหนัก วันละ 15-20 นาที เพราะจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนเดอร์ฟิน
- ลดความเครียด คลายเครียดด้วยการฝึกโยคะ ทำสมาธิ หรือวิธีการผ่อนคลายอื่น
- อยู่ที่ทีมีอากาศเย็น สวมใส่เสื้อผ้าที่คลายร้อน อาบน้ำเย็นบ่อยๆ กินน้ำเย็น รวมทั้งใช้ผ้าห่มชนิดบาง เพื่อช่วยลดอาการวูบบาบ
- แช่น้ำอุ่น 20 นาทีทุกเช้า อาจป้องกันอาการร้อนวูบวาบได้ตลอดทั้งวัน
- รับแสงแดดอ่อนๆตอนเช้า เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี สำหรับช่วยในการดูดซึมแคลเซียมอย่างเพียงพอ
- เลิกสูบบุหรี่ เพราะนิโคตินจะยิ่งเร่งให้ร่างกายมีอาการร้อนวูบวาบได้ง่ายขึ้น
- หลีกเลี่ยงอาหารก่อพิษ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกฮอล์ ไวน์ ช็อกโกแลต ชีส และเลี่ยงอาหารรสจัด เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการร้อนวูบวาบมากขึ้น
- ยารักษาตามอาการหรือยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมน เช่นยานอนหลับ ยาคลายเครียด ต้านเศร้า แก้ใจสั่น แก้ปวดเมื่อย ยาบำรุงต่างๆ เป็นต้น
- ฮอร์โมน สำหรับคนที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยฮอร์โมนเพศหญิง(เอสโทรเจน)ได้ผลดีมาก แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน5ปี เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
อาหารลดอาการร้อนวูบวาบ
- กินอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เทมเป้ แป้งถั่วเหลือง เพราะในถั่วเหลืองมี สารไอโซฟลาโวน (isoflavone) ซึ่งคล้ายเอสโตรเจน จะช่วยชดเชยการขาดเอสโตรเจน และยังช่วยปรับระดับเอสโตรเจนที่ขึ้นๆลงๆให้สมดุลกับโปรเจสเตอโรนด้วย
- กินอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินซีและวิตามินอี ซึ่งจะช่วยให้กระดูกแข็งแรง และปรับระดับไขมันในเลือดให้สมดุล รวมทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน และช่องคลอดแห้งได้อีกด้วย
- กินอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันจากพืช เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ถั่วแขก เมล็ดพืชต่างๆ เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน รวมทั้งธัญพืชจำพวกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์
- กินปลาที่มีมันมาก จำพวกปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาซาบะ ปลาสวาย และพุงปลาช่อน สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อเพิ่มกรดไขมันจำเป็นให้ร่างกายนำไปสร้างความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง ช่องคลอด และเยื่อบุช่องคลอด
- กินผลไม้รสเปรี้ยว จำพวกส้มต่างๆ แอ๊ปเปิ้ล เชอรี่ พลัม สับปะรด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ