เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS คืออะไร

ปรับปรุงล่าสุด : 6 มกราคม 2565


<strong>เกษตรอินทรีย์</strong>แบบมีส่วนร่วม <strong>PGS</strong> คืออะไร #1

ความหมายการรับรองแบบมีส่วนร่วม

Participatory Organic Guarantee System (PGS) คือ การรับประกันคุณภาพผลผลิตอินทรีย์โดยชุมชน ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมวิถีชีวิตวัฒนธรรม และ การเกษตของท้องถิ่นโดยมีเป้าหมายการผลิตเพื่อจําหน่ายในชุมชน หรือ จําหน่ายตรงเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบ การนักพัฒนานักวิชาการ และ ผู้บริโภค ซึ่งอยู่นอกระบบการรับรองโดย บุคคลที่ 3 หรือหน่วมตรวจรับรอง PGS เป็นกระบวนการที่ไม่มีสูตรสําเร็จ ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีเป็นการพัฒนากระบวน การรับประกันความเป็นอินทรีย์ในระดับชุมชนโดยอาศัย กระบวนการทางสังคมการมีส่วนร่วมพบปะแลกเปลี่ยนความ ชื่อสัตย์ไว้วางใจโปร่งใสความเชื่อมั่นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ได้ตลอดเวลา

เรียบเรียงจาก : IFOAM,2008

ความสาคัญของการมีระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม

เกษตรอินทรีย์ เป็นกลยุทธ์ในการเคลื่อนเกษตรกรรายย่อย เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและแก้ปัญหาต่างๆ ได้ แก่

  • ด้านสิ่งแวดล้อม
  • ด้านเศรษฐกิจชุมงาน
  • ความมั่นคงทางอาหาร
  • ลดความยากจน
  • สร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ตามที่องค์กรที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO และ IFAD) ได้เรียกร้องให้ประเทศต่างฯมีนโยบายเกษตรอินทรีย์ และ เกษตรอินทรีย์ ไม่ได้จากัดว่าต้องได้รับการรับรองจากหน่วย ตรวจรับรองเท่านั้นแต่เป็นการเกษตรทางเลือกสําหรับเกษตรกรรายย่อย เรียกว่า non certified organic ซึ่งหมายถึง ระบบการเกษตรทุกชนิดที่ใช้กระบวนการธรรมชาติมากกว่าการพึ่งปัจจัยจากวงนอก และ การผลิตอาหารที่ดี ต่อสุขภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเน้นการผลิตเพื่อยังชีพ ผลผลิตที่มากเกินพอจึงจําหน่ายให้เพื่อนบ้าน และ ตลาดท้องถิ่นที่ผู้ผลิต และ ผู้บริโภคสื่อสารกันได้โดยตรง ซึ่งการปฏิบัติของผู้ผลิตเป็นไปตามหลักการเกษตรอินทรีย์ แต่ไม่เน้นการขอการรับรองจากบุคคลที่ 3 เนื่องจากการตรวจรับรองโดยหน่วงตรวจรับรองมีค่าใช้จ่ายสูงไม่คุ้มกับ ผลผลิตที่มีไม่มากพอและเป็นกระบวนการยุ่งยากในการทําระบบเอกสาร

กระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System, PGS) เป็นแนวทางในการรับประกันความเป็นอินทรีย์ เพื่อเกษตรกรรายย่อย

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์มีความเป็นสากล และ มีมาตรฐานกฎระเบียบควบคุมอยู่การติดฉลากกว่า อินทรีย์ บางประเทศเป็นกฎหมายบังคับว่าจะต้องได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีง บางประเทศไม่บังคับแต่ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศกําลังพัฒนาส่วนมาก เป็นเกษตรกรรายย่อย ต่อมา IFOAM ได้คิดกระบวนการรับรองแบบกลุ่ม (Grower Group Certification) ขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายการตรวจรับรองแต่ก็ยังเป็น กระบวนการที่ซับซ้อนสําหรับผู้ผลิตที่เป็นเกษตรกรรายย่อย หรือ ผู้ที่ปรับเปลี่ยนมาทําเกษตรอินทรีย์ใหม่

กระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System, PGS) เป็นแนวทางหนึ่งในการรับประกันความเป็นอินทรีย์ เป็นกระบวนการทางสังคมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อปรับปรุงสภาพภูมิสังคมของท้องถิ่น และ สร้างแรงจูงใจให้กับ เกษตรกรรายย่อย เป็นผู้ผลิตและผู้ประกอบการในการพัฒนาตลาดท้องถิ่นซึ่งทําให้ลูกค้าสามารถแยกผลิตภัณฑ์อินทรีย์จากสินค้าปกติได้ กระบวนการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการเบื้องต้นที่จะส่งเสริม ให้เกษตรกรปรับเข้าสู่การผลิตมากขึ้น นําไปสู่การสร้างตลาดทางเลือกเศรษฐกิจอาหารท้องถิ่น และ ให้พลังงานใน การผลิตและการขนส่งอาหารสั้นลง และ สร้างสังคมชุมชนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูลส่งผลให้เกิดการพัฒนา อย่างยั่งยืน

ที่มา:http://www.pgs-organic.org/


Khampo.com

สนใจสินค้า หรือ ต้องการพูดคุยปรึกษา เรื่องการดูแลสุขภาพ ติดต่อสอบถามพวกเรา KHAMPO.com (คำโพธิ์ด๊อดคอม) ได้เสมอค่ะ