โรคฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง
ปรับปรุงล่าสุด : 7 มิถุนายน 2565โรคฝีดาษลิง หรือไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เป็น double-stranded DNA virus เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ใน genus Orthopoxvirus ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ
อาการโรคฝีดาษลิง ต่างจากโรคฝีดาษทั่วไป โดยมีอาการที่สังเกตได้ คือ หลังจากที่สัมผัสเชื้อไปแล้วประมาณ 12 วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดง ได้แก่ ระยะก่อนออกผื่น (Invasion Phase) เริ่มด้วยมีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย และต่อมน้ําเหลือง โต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการต่อมน้ําเหลืองโต เป็นอาการที่สังเกตได้ของโรคฝีดาษลิง ซึ่งแตกต่างจากโรคอื่นๆ ที่มีตุ่มน้ํา ตามมา เช่น โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) , โรคหัด (Measles) , โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox) อาจมีอาการ เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย อาเจียน และอาการทางระบบหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ เหนื่อย ได้อีกด้วย
ระยะออกผืน (Skin Eruption Phase) หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะเริ่มมีอาการแสดงทางผิวหนัง มี ลักษณะทุ่มฝันขึ้น โดยเป็นตุ่มที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตามลําดับ โดยเริ่มจากรอยแดงจุด ๆ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ําใส ตุ่มน้ําหนอง และจากนั้นจะแห้งออกหรือแตกออกแล้วหลุด เรียงไปตามลําดับ โดยทุ่มมักจะหนาแน่นที่บริเวณใบหน้า และแขนขา มากกว่าที่ร่างกาย ในระยะออกผื่น ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดคลุม แห้งและหลุดออกมา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
โดยทั่วไปแล้ว อาการป่วยจะกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ส่วนใหญ่สามารถหายจากโรคเองได้ แต่ในกรณี ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ํา มีโรคประจําตัว อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิตได้
สมุนไพรที่ช่วยต้านโรคฝีดาษลิง
พลูคาว (Houttuynia Cordata) พลูคาวอุดมไปด้วยสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ quercetin มีส่วนช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการ เพิ่มจํานวนของไวรัส ส่วนสารกลุ่มโพลีฟีนอล ที่พบในใบพลูคาว ได้แก่ houttuynoside A, catechin, chlorogenic acid, caffeic acid, procyanidin B กระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ พลูคาวมีสารต้านอนุมูล อิสระและสามารถยับยั้งการแบ่งตัวและเพิ่มจํานวนของเชื้อไวรัส ปรับระบบภูมิคุ้มกันให้ทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยด้านเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่าพลูคาวมีฤทธิ์ต้านไข้หวัดใหญ่และไวรัสที่ก่อให้เกิดกลุ่มอาการ ภูมิคุ้มกันเสื่อม มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย การอักเสบ ปกป้องตับจากสารพิษ และขับปัสสาวะ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ต่อไวรัสที่ห่อหุ้ม เช่น mengOvirus ซึ่งเป็นไวรัสที่ติดเชื้อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทําให้เกิดไข้เฉียบพลันในมนุษย์ และไวรัส Sindhis มีอาการคล้ายโรคฝีดาษลิงอาการปวดข้อ ผื่นและอาการป่วยไข้