เบาหวาน ในช่วงโควิด 19

ปรับปรุงล่าสุด : 31 กรกฎาคม 2563

<strong>เบาหวาน</strong> ในช่วงโควิด 19 #1

แนะวิธีดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ในช่วงระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่เชื้อไวรัส โควิด-19 ยังไม่หมดไป ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่นโรคเบาหวาน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน วันนี้จึงมีวิธีการดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวานมาฝากกัน

ตั้งใจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น เตรียมตัวให้พร้อมหากรู้สึกไม่สบาย หากมีอาการไข้สูง ไอ จาม หรือหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

แม้ผู้เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน แต่ว่าถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน เช่นเดียวกับผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน เนื่องจากผู้เป็นเบาหวาน หากควบคุมน้ำตาลไม่ดี จะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนปกติ และเชื้อไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้เป็นเบาหวานมีอาการที่รุนแรงจากตัวโรคหรือผลการรักษาที่แย่กว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานประมาณ 2 เท่า นอกจากนี้พบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้เป็นเบาหวานสูงถึงร้อยละ 7.3 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมที่พบเพียงร้อยละ 2.3

ด้วยเหตุนี้ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงมีคำแนะนำในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานดังต่อไปนี้

  • ตั้งใจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น
  • เตรียมตัวให้พร้อมหากรู้สึกไม่สบาย หากมีอาการไข้สูง ไอ จาม หรือหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • การติดเชื้อทุกชนิดสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้ร่างกายขาดน้ำ จึงควรดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
  • สำรองอาหาร โดยเฉพาะประเภทน้ำตาลให้เพียงพอสำหรับการแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำได้ทันท่วงที
  • เช็กดูว่ายารักษาเบาหวานมีเพียงพอหรือไม่ หากคุณต้องถูกกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์
  • หากอยู่บ้านคนเดียว หาคนที่สามารถไว้วางใจและมั่นใจว่าจะช่วยเหลือได้ รวมถึงติดต่อผู้เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหากจำเป็น

ทั้งนี้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ด้วยการล้างมืออย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ทำความสะอาดวัตถุหรือบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ เวลาไอหรือจามควรนำต้นแขนหรือข้อพับแขนมาปิดบริเวณปากและจมูก รวมถึงหลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงต่อโรค คอยแนะนำหรือพูดคุยกับคนในครอบครัวถึงการป้องกันและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

หากรู้สึกว่าตัวเองมีอาการป่วย หรือสงสัยว่าป่วย ให้แจ้ง (1) กรมควบคุมโรค โทร 1422 หรือ (2) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669

Credit : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ

Khampo.com

สนใจสินค้า หรือ ต้องการพูดคุยปรึกษา เรื่องการดูแลสุขภาพ ติดต่อสอบถามพวกเรา KHAMPO.com (คำโพธิ์ด๊อดคอม) ได้เสมอค่ะ