ประโยชน์และโทษ กระชาย แต่ละชนิด
ปรับปรุงล่าสุด : 1 พฤษภาคม 2564กระชายพืชสมุนไพรที่หลายคนคุ้นเคย แต่เราทราบไหมว่ากระชายมีกี่ชนิด และแต่ละชนิดมีสรรพคุณอะไร ดีอย่างไร และมีโทษอย่างไรบ้าง กระชาย มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ กระชายเหลืองหรือกระชายขาว กระชายดำ และกระชายแดง เรามาทำความรู้จักประโยชน์ และโทษของกระชายแต่ละชนิดกันค่ะ
“สารในกระชายขาว สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสต้นเหตุของโควิด-19 ได้”
กระชายเหลือง หรือ กระชายขาว
กระชายเหลืองหรือกระชายขาว สมุนไพรไทยๆที่คุ้นเคยกันดี เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของอาหารไทยหลากหลายเมนู มีรสชาติเผ็ดร้าอน มีกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย และยังเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุีอกหลายชนิด ประโยชน์ของกระชายขาวมีดังนี้
- บำรุงเส้นผม ช่วยให้ผมกลับมาดกดำ แข็งแรง และดูหนาขึ้นได้และยังแก้ปัญหาผมร่วงได้ดี
- บำรุงสมองแก้วิงเวียน กระชายมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นให้เลือดเลี้ยงสมองส่วนกลางได้มากขึ้น
- บำรุงกำลัง ให้ความสดชื่น เนื่องจากความซ่าและเผ็ดร้อนของการะชายขาว สามารถนำมาปั่นเป็นเครื่องดื่มเพิ่มความสดชื่นและบำรุงกำบังจากสารอาหารและพลังงานได้ด้วย
- ต้านอักเสบ ทานกระชายเป็นผระจำให้ผลใกล้เคียงกับการทานยาแอสไพริน ที่ช่วยลดการอักเสบเรื้อร้งในร่างกายได้
- เสริมสมรรถภาพทางเพศ นอกจากกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางมากขึ้นแล้ว ยังกระตุ้นการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะเพศ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้จำนวนอสุจิหนาแน่นขึ้น
- แก้ริดสีดวง แก้บิด โดยการใช้เหง้ามาต้มรับประทานน้ำ
นอกจากนี้ยังมีการวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือกันของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ได้ศึกษาวิจัย “กระชายขาว” พบว่าสารสกัดจากกระชายขาว ซึ่งมีสารสำคัญ 2 ชนิด ได้แก่ Pandulatin A และ Pinostrobin สารทั้ง 2 ตัวในกระชายขาว สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสต้นเหตุของโควิด-19 ได้ ซึ่งสารทั้ง 2 ตัวนี้สามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อจาก 100% ให้ลดลงจนเหลือ 0% นอกจากนี้ ยังสามารถยับยั้งเซลล์ในการผลิตไวรัสได้ถึง 100% อีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังอยู่ในช่วงการทดสอบเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพกับคนใช้มากที่สุด
โทษของกระชายขาว
หากมีการรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะกระชายจะทำให้เลือดหนืด อาจส่งผลให้รู้สึกหมดแรง และป่วยเป็นโรคอื่นๆ ตามมาได้
กระชายดำ
กระชายดำ หรือที่ถูกเรียกกันว่า "โสมกระชาย" หรือ "โสมไทย"ขึ้นชื่อด้านเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง เพิ่มสมรรถภาพเพศชาย อีกทั้งอาจรักษาป้องกันโรคบางชนิด ประโยชน์ของกระชายดำ มีดังนี้
- เสริมสมรรถภาพทางเพศชาย จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าสารสกัดที่ได้จากกระชายดำส่งผลให้พฤติกรรมทางเพศของสัตว์ทดลองดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เป็นผลให้มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้มากขึ้น การทำงานของอวัยวะเพศเป็นไปได้ดีขึ้น
- ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง กระชายดำยังมีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น ประจำเดือนมาปกติ และยังช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือน
- บำรุงระบบไหลเวียนเลือด บำรุงหลอดเลือด ป้องกันโรคร้ายจากการใช้ชีวิตประจำวัน กระชายดำเป็นสมุนไพรที่ประกอบด้วยสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสารที่อาจทำลายเซลล์และทำให้เกิดการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามมาได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีสมมติฐานว่ากระชายดำอาจช่วยป้องกันโรคบางอย่างได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งศึกษาคุณสมบัติของกระชายดำในห้องปฏิบัติการ พบว่ากระชายดำอาจมีฤทธิ์สลายลิ่มเลือด ทำให้เลือดไม่หนืดข้นและไหลเวียนไปตามหลอดเลือดได้ดีขึ้น
- รักษาภาวะต่อมลูกหมากโต และระบบทางเดินปัสสาวะขัด หรือเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จากการศึกษาเปรียบเทียบในสัตว์ทดลอง แต่การทดลองดังกล่าวเป็นเพียงการทดลองในสัตว์ ไม่ได้ทดลองในผู้ป่วยภาวะต่อมลูกหมากโตโดยตรง ดังนั้น จึงควรศึกษาด้านนี้เพิ่มเติมให้ชัดเจน ทั้งด้านประสิทธิภาพและด้านความปลอดภัยของกระชายดำ ก่อนจะนำผลที่ได้มาปรับใช้ในทางการแพทย์ต่อไป
- ช่วยกระตุ้นระบบประสาท บรรเทาอาการปวดเมื่อย ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย ช่วยในการนอนหลับ แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน ช่วยขับพิษในร่างกายรักษาอาการโรคภูมิแพ้
โทษของกระชายดำ
การบริโภคกระชายดำเป็นอาหารในปริมาณและวิธีที่เหมาะสมอาจไม่ทำให้เกิดอันตรายสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคยาหรือสารสกัดจากกระชายดำ เพราะอาจเกิดปฏิกิริยากับยารักษาบางชนิดและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภคได้
กระชายแดง
กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม ส่วนขนาดของลำต้น ขนาดใบ เหง้าหรือรากจะเล็กกว่ากระชายเหลือง ส่วนคุณประโยชน์และสรรคุณของกระชายแดง คือช่วยบำรุงกำลังทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงระบบประสาท บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อแก้ลมจุกเสียด ใช้เป็นยาอายุวัมนะ ช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยกาาใช้หัวตากแห้งนำมาบดละเอียดละลายผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนกินประจำก่อนอาหารเช้า-เย็น
โทษของกระชายแดง
การรับประทานในปริมาณที่เกินไปและรับประทานทุกวัน อาจมีผลเสียกับระบบการไหลเวียนของเลือด ดั้งนั้นควรรับประทานให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และหากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
แหล่งข้อมูล : th.wikipedia, agknowledge.arda, medthai,MGRONLINE ,POBPAD,ละโวทยานสมุนไพร (โรงพยาบาลอานันทมหิดล)