ปวดหลังแบบไหน อันตรายจนต้องพบแพทย์
ปรับปรุงล่าสุด : 24 มีนาคม 2564โดยปกติเราแบ่งอาการปวดหลัง เป็น 2 แบบ
- ปวดเฉียบพลัน (Acute: ปวดหลังต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์) กึ่งเฉียบพลัน (Subacute: ปวดหลังต่อเนื่อง 6-12 สัปดาห์)
- ปวดเรื้อรัง (Chronic: ปวดหลังต่อเนื่องนานกว่า 12 สัปดาห์) ในประเทศอุตสาหกรรม ความชุกชั่วชีวิต (Lifetime Prevalence) ของโรคปวดหลังพบประมาณ 60-70% (ความชุกต่อปี ประมาณ 15-45% ส่วนอุบัติการณ์ในผู้ใหญ่พบได้ประมาณ 5% ต่อปี)
อาการปวดที่ต้องระวัง : อาการปวดหลังที่สัมพันธ์กับความเสื่อมของกระดูกสันหลัง ได้แก่ ภาวะกระดูกพรุน ภาวะกระดูกสันหลังคด หรือค่อม ผิดรูป
ปวดหลังแบบไหนอันตรายต้องรีบพบแพทย์
- ปวดหลังต่อเนื่อง และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่า 4 สัปดาห์
- ปวดหลังที่เกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง
- ปวดหลังร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ปวดหลังร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา ชาขา หรืออ่อนแรงของขา
- ปวดหลังร่วมกับการควบคุมการขับถ่ายที่เสียไป เช่น สูญเสียการกลั้นอุจจาระ/ปัสสาวะ
- ปวดหลังร่วมกับอาการไข้ น้ำหนักลด
หากมีอาการดังนี้ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียดด่วน
POW พาวโปรตีน พาวเดลี่ POW Daily
พาวเดลี่ POW Daily โปรตีนจากพืช 5 ชนิด ได้แก่โปรตีนจากถั่วลันเตา โปรตีนจากถั่วเหลือง โปรตีนจากข้าว โปรตีนจากเมล็ดฟักทอง และโปรตีนจากเมล็ดทานตะวัน ปราศจากน้ำตาล
POW พาวโปรตีน พาวอัพกาน่าโกโก้ POW Upz
โปรตีนจากพืช 5 ชนิด สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ และผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนัก